กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ไพรวัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กอายุ 0-72 เดือน ปี 2566 รพ.สต.บ้านกูบู

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ไพรวัน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูบู

1.นางน้ำฝน พรหมน้อย
2.นางอุทัยพร นาวี
3.นางสาวรอฮานา ยูโซ๊ะ
4.นางสาวสาวิตรี แซ่คู่
5.นางสาวหนึ่งฤทัย นอหะมะ

หมู่ 5 บ้านเกาะสวาด หมู่ 6 บ้านกูบู หมู่ 7 บ้านโคกยามู หมู่ 8 บ้านสะปอม และหมู่ 10 บ้านบึงฉลาม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อาหารเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์อาหารช่วยสร้างเสริมให้ร่างกายเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย และควบคุมการทำงานของร่างกายให้ปกติการกินอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการคือ อาหารดีมีประโยชน์สะอาด ปลอดภัยและมีปริมาณเพียงพอโดยคำนึงถึงคุณค่าของอาหาร ตลอดจนปัญหาสุขภาพอันเนื่องมาจากการขาดอาหาร หากบุคคลใดรับสารอาหารผิดเบี่ยงเบนไปจากปกติอาจเกิดจากได้รับสารอาหารน้อยกว่าปกติคือเหตุเนื่องจากความบกพร่องต่างๆจากการกิน การย่อย การดูดซึม ในระยะ2-3 ปี แรกของชีวิตจะมีผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและการเรียนภายหลัง เนื่องจากเป็นระยะที่มีการเจริญเติบโตของสมองสูงสุดเมื่ออายุ 3 ปีมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตถึงร้อยละ 80 สำหรับผลกระทบทางร่างกายภายนอกที่มองเห็นได้คือ เด็กจะมีรูปร่างเตี้ย เล็ก ซูบผอมผิวหนังเหี่ยวย่น เนื่องจากขาดไขมันชั้นผิวหนังนอกจากนี้อวัยวะภายในต่างๆ ก็ได้รับผลกระทบ เช่น กับหัวใจจะพบว่ากล้ามเนื้อหัวใจไม่แน่นหนาและการบีบตัวไม่ดีตับจะพบไขมันแทรกอยู่ในตับเซลล์เนื้อตับมีลักษณะบางและบวมเป็นน้ำสาเหตุให้ทำงานได้ไม่ดีนอกจากการขาดสารอาหารแล้วการได้รับอาหารเกิน ในรายที่อ้วน ก็ถือเป็นภาวะทุพโภชนาการ เป็นการได้รับอาหารมากเกินความต้องการ พลังงานที่มีมากนั้นไม่ได้ใช้ไปพลังงานส่วนเกินเหล่านั้น ก็จะแปลงไปเป็นคลอเรสเตอรอลเกาะจับแน่นอยู่ตามส่วนต่างๆของร่างกายและอาจลุกลามเข้าสู่เส้นเลือด ผลที่ตามมาก็คือ โรคอ้วนโรคเบาหวานโรคหัวใจ และโรคต่างๆ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูบู ได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กอายุ 0-72 เดือน ปี 2566 เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงมีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราภาวะโภชนาการค่อนข้างผอม (คผ) และภาวะโภชนาการผอมในเด็กอายุ 0-6 ปี

เด็กอายุ 0-6 ปี ที่มีประวัติภาวะโภชนาการค่อนข้างผอม (คผ.) และภาวะโภชนาการผอมลดลงจากปี 2565 อย่างน้อยร้อยละ 50

0.00
2 เพื่อเสริมสร้างความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการดูแลภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 0-6 ปี

เด็กอายุ 0-6 ปี มีประวัติภาวะโภชนาการสมส่วน มากกว่าร้อยละ 70

0.00
3 เพื่อเสริมสร้างความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองผู้ปกครองในการดูแลเด็กที่มีประวัติน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าเกณฑ์ 2,500 กรัม(LBW:Low birth weight) ในด้านโภชนาการและการส่งเสริมพัฒนาการ

พ่อ/แม่/ผู้ปกครองที่ดูแลเด็กที่มีประวัติน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าเกณฑ์ 2,500 กรัม (LBW : Low birth weight)สามารถประเมินพัฒนาการในช่วงที่เด็กอายุ 9 เดือน และ 18 เดือน ตามเกณฑ์มาตรฐานDSPM ด้วยตัวเองได้ ร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 27
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 31/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการในกลุ่มพ่อ/แม่/ผู้ปกครองพร้อมเด็กอายุ ๐-๖ ปี ที่มีประวัติภาวะโภชนาการค่อนข้างผอม(คผ.)/ผอม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการในกลุ่มพ่อ/แม่/ผู้ปกครองพร้อมเด็กอายุ ๐-๖ ปี ที่มีประวัติภาวะโภชนาการค่อนข้างผอม(คผ.)/ผอม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ

1.กิจกรรมประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการในกลุ่มพ่อ/แม่/ผู้ปกครองพร้อมเด็กอายุ 0-6 ปี ที่มีประวัติภาวะโภชนาการค่อนข้างผอม(คผ.)/ผอม (เฉพาะกลุ่มในหมู่บ้านไม่รวมกับกลุ่มใน ศพด.) จำนวน 27 คน

2.ส่งเสริมการดื่มนม รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เสริมสร้างภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0-6 ปี ที่มีประวัติภาวะโภชนาการค่อนข้างผอม (คผ.) และ ผอม จำนวน 27 คน

3.ติดตามชั่งน้ำหนักและประเมินภาวะทุพโภชนาการเด็กอายุ 0-6 ปี ที่มีประวัติภาวะโภชนาการค่อนข้างผอม (คผ.) และ ผอม เดือนละ 1 ครั้ง

4.ติดตามประเมินพัฒนาการตามช่วงอายุของเด็ก อายุ 0-6 ปี

งบประมาณ

-ค่าอาหารว่าง จำนวน 27 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 675.-บาท

-ค่าอาหารเสริม(นม)จำนวน 27 คน X39 บาท (1 แพค มี 4 กล่อง) X 60 วันเป็นเงิน 63,180.- บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 63,855.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
63855.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 63,855.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อัตราภาวะทุพโภชนาการในเด็ก 0-6 ปี ลดลง
2. ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ เข้าใจในเรื่องโภชนาการและสามารถส่งเสริมโภชนาการให้บุตรได้ถูกต้อง
3. เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการส่งพบแพทย์ทุกคน


>