กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลางา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ลางาร่วมใจกำจัดขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรค 7 หมู่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลางา

องค์การบริหารส่วนตำบลลางา

อบต.ลางา

ณ. อบต.ลางา ม.2 ต.ลางา อ.มายอ จ.ปัตตานี 94190

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนที่มีความจำเป็นต้องเผาขยะ เศษวัสดุ หรือซากวัสดุการเกษตร

 

7.00

ปัจจุบันในเขตพื้นที่ตำบลลางา อ.มายอ จ.ปัตตานี มีปริมาณขยะจากครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น โดยมาจากการดำรงชีวิตของคนในชุมชน จะเห็นได้จากขยะมูลฝอยตามหมู่บ้าน มีอัตราเพิ่มขึ้น ซึ่งขยะบางชนิดไม่ย่อยสลาย และกำจัดได้ยาก เช่น กล่องโฟม ถุงพลาสติก ขวดพลาสติก ,ขยะอันตราย เช่นขยะอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ และขยะเปียกซึ่งก่อให้เกิดมลภาวะด้านสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพของคนในชุมชน เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคติดต่อที่สำคัญ คือโรคไข้เลือดออก
ดังนั้นเพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อต่างๆ ที่เกิดจากขยะมูลฝอยของประชาชนในพื้นที่ จึงต้องมีการจัดการแหล่งขยะให้ถูกสุขลักษณะเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความปลอดภัย และการป้องกันโรค กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลลางา จึงได้จัดทำโครงการ ลางา ร่วมใจ กำจัดขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรคติดต่อปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ในพื้นที่ตำบลลางา โดยการสร้างความเข้าใจ ความตระหนักของประชาชนภายใต้ความร่วมมือของชุมชนในการคัดแยก และกำจัดขยะอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันโรคภัยที่จะเกิดจากขยะได้
เขียนถึง Sofiyah Doloh

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดครัวเรือนที่มีความจำเป็นต้องเผาขยะ เศษวัสดุ หรือซากวัสดุการเกษตร

ร้อยละของครัวเรือนที่มีความจำเป็นต้องเผาขยะ เศษวัสดุ หรือซากวัสดุการเกษตร

7.00 7.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,050
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 30/01/2023

กำหนดเสร็จ 31/03/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่1

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดประชุมคณะทำงาน จำนวน 3 ครั้ง 2.รณรงค์และประชาสัมพันธ์โครงการ 3.การให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะการควบคุมโรคไข้เลือดออกตามหลัก 5 ป. 4.การให้ความรู้การคัดแยกขยะและการจัดทำถังขยะเปียก 5.ลงพื้นที่ปฏิบัติการสาธิตวิธีการจัดการถังขยะเปียกในครัวเรือนให้ถูกต้อง ค่าใช้จ่าย -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๑๕ คน ×๓๕ บาท × ๑ มื้อ จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน ๑,๕๗๕ บาท -จัดทำไวนิลขนาด ๑×๓ เมตร จำนวน ๗ ป้าย × ๙๐๐ บาท  เป็นเงิน ๖,๓๐๐ บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๑,๐๕๐ คน ×๓๕ บาท× ๑ มื้อ เป็นเงิน ๓๖,๗๕๐ -ค่าอาหารกลางวันและน้ำดื่มจำนวน ๑,๐๕๐ คน ×๕๐ บาท × ๑ มื้อ เป็นเงิน ๕๒,๕๐๐ บาท -ค่าตอบแทนวิทยากร การให้ความรู้เกี่ยวกับ การจัดการขยะการควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยหลัก ๕ ป. จำนวน ๑ คน ×๖๐๐ บาท × ๓ ชั่วโมง จำนวน ๗ วัน เป็นเงิน ๑๒,๖๐๐ บาท -ค่าตอบแทนวิทยากร การให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ และการจัดทำถังขยะเปียก จำนวน ๑ คน ×๖๐๐ บาท × ๓ ชั่วโมง จำนวน ๗ วัน เป็นเงิน ๑๒,๖๐๐ บาท -ค่าวัสดุอุปกรณ์( ปากกา/สมุด)  จำนวน ๑,๐๕๐ ชุด × ๒๐ บาท เป็นเงิน ๒๑,๐๐๐ บาท -ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่ม (สาธิต) จำนวน ๕ คน ×๖๐๐ บาท× ๑ ชั่วโมง จำนวน ๗ วัน  เป็นเงิน ๒๑,๐๐๐ บาท -ถังพลาสติกขนาด ๑๐๐ ลิตร จำนวน ๓๕ ถัง ถังละ ๒๐๐ บาท เป็นเงิน ๗,๐๐๐ บาท -มีดคัตเตอร์ จำนวน ๕ ด้าม ด้ามละ ๕๐ บาท เป็นเงิน ๒๕๐ บาท


-รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  ๑๗๑,๕๗๕ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 มกราคม 2566 ถึง 24 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีระบบการจัดการขยะมูลฝอยและประชาชนไม่เป็นโรคภัยจากขยะมูลฝอย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
171575.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 171,575.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการเข้าร่วมโครงการฯ และมีการจัดทำ “ถังขยะเปียกในครัวเรือน” ได้ถูกต้อง
​2. มีการขยายผลการดำเนินโครงการ และมีส่วนร่วมในการลดขยะ คัดแยกขยะเปียกครัวเรือน/หมู่บ้านในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลลางา ได้ตามเป้าหมาย
​3. ปริมาณขยะในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลลางาปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ลดลง เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2565
​๔. ลดความเสี่ยงการเกิดโรคจากแมลงพาหะนำโรค และโรคที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
​๕.ร้อยละของจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคที่เป็นปัญหาในชุมชนลดลง


>