กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแม่ขรี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพชมรมผู้สูงอายุด้านสุขภาพชะลอชรา ชีวายืนยาวปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแม่ขรี

โรงพยาบาลตะโหมด

กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลตะโหมด

เขตพื้นที่เทศบาลตำบลแม่ขรี35

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชมรมผู้สูงอายุ
  • ชมรมผู้สูงอายุให้ผ่านเกณฑ์คุณภาพด้านสุขภาพ ร้อยละ 80
0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีการดูแลสุขภาพกาย และสุขภาพใจและอยู่ดีมีสุข
  • ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมได้รับการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพและจัดทำแผนเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Plan) ร้อยละ 40
0.00
3 เพื่อพัฒนาระบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนแบบบูรณาการ

ผู้สูงอายุมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีสุขภาพดี สามารถดูแลตนเองได้ ร้อยละ 80

0.00

จากรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2563 ซึ่งจัดทำโดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ระบุว่าโครงสร้างอายุของประชากรไทยได้เปลี่ยนไปอย่างมากในรอบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาจากประชากรเยาว์วัยมาเป็นประชากรสูงวัย ในปี 2565 นี้ประเทศไทยกำลังจะกลายเป็น “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” ซึ่งสถานการณ์ผู้สูงอายุจังหวัดพัทลุง ปี 2563-2565 พบว่า ผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ร้อยละ 21.29,22.05 และ 22.56 ตามลำดับ ซึ่งมากกว่าระดับประเทศ (ร้อยละ 17.35,17.81 และ 18.5) ผลการคัดกรองผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลตะโหมดจำแนกตามความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน ปีงบประมาณ 2565 พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มติดสังคม ร้อยละ 97.20 รองลงมาเป็นผู้สูงอายุติดบ้าน ร้อยละ 1.89 และกลุ่มติดเตียง ร้อยละ 0.91 ตามลำดับ (ข้อมูล HDC ณ วันที่ 14 ธันวาคม 2565) ซึ่งวิธีการดูแลผู้สูงอายุทั้ง 3 กลุ่ม มีความแตกต่างกัน ต้องใช้ความรู้ความสามารถของบุคลากรสาธารณสุข พยาบาลผู้ดูแลใกล้ชิดกับผู้สูงอายุ ในการพิจารณารูปแบบการดูแล ที่สอดคล้องกับสุขภาพ วิถีชีวิต เศรษฐานะของผู้สูงอายุแต่ละบุคคล โครงสร้างประชากรไทยที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจะส่งผลต่อการพัฒนาของประเทศ เนื่องจากการลดลงของจำนวนและสัดส่วนของประชากรวัยแรงงานจะกระทบศักยภาพการผลิต นอกจากนี้การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจะส่งผลให้ภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น เนื่องจากกลุ่มผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และมีโรคที่เกี่ยวเนื่องกับความเสื่อมถอยของร่างกายส่งผลให้รายจ่ายด้านสุขภาพของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยร่วมที่สำคัญ 2 ปัจจัย คือ ค่าใช้จ่ายทางสุขภาพที่สูงขึ้นตามอายุ และค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ “ก่อนการเสียชีวิต” นอกจากนี้ยัง พบว่า ผู้สูงอายุไทยร้อยละ 95 มีความเจ็บป่วยด้วยโรคหรือมีปัญหาสุขภาพ อาทิ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ข้อเข่าเสื่อม โรคซึมเศร้า พิการและติดบ้าน/ติดเตียง ในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจะทำให้เกิดผลกระทบในเรื่องเศรษฐกิจมากพอควร รัฐบาลจึงได้มีพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสิทธิได้รับการคุ้มครอง ส่งเสริมและสนับสนุนตามกฎหมาย เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีได้รับปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรี โดยกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ ซึ่งได้กำหนดไว้ว่า “ภายในทศวรรษต่อไป คนไทยทุกคนจะมีสุขภาพแข็งแรงเพิ่มขึ้น และภายใน 10 ปี อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด ไม่น้อยกว่า 85 ปี อายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดี ไม่น้อยกว่า 75 ปี จากภาวะนี้ทำให้เกิดความตื่นตัวและเตรียมการเพื่อรองรับและการให้การดูแลประชากรกลุ่มนี้มากขึ้น การดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุนับว่าเป็นภารกิจที่สำคัญสำหรับครอบครัว ชุมชนและสังคมโดยรวม ดังนั้น ความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทั้งองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคสังคม เอกชน ภาคประชาชนที่เกี่ยวข้อง ในการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุได้
จากปัญหาและสถานการณ์ดังกล่าว โรงพยาบาลตะโหมด จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามแนวทางชะลอชรา ชีวายืนยาว ปี 2566 ขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมผู้สูงอายุ และการเข้าสู่สังคมสูงอายุ ผู้สูงอายุมีทักษะกาย ใจ มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ และมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) มีสุขภาวะที่ดี ลดค่าใช้จ่ายด้านบริการสุขภาพ รองรับสังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและอนาคต

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 35
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ขั้นเตรียม

ชื่อกิจกรรม
1.ขั้นเตรียม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมเตรียมความพร้อม 2.ประชุมวางแผนทีมทำงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2.ขั้นดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
2.ขั้นดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการและขับเคลื่อนการดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุ จำนวน 3 ครั้ง/ปี ดังนี้
       1.1 จัดประชุมคณะกรรมการชมรมฯ ชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน ครั้งที่ 1    1.2 จัดประชุมคณะกรรมการชมรมฯ ติดตามผลการดำเนินงาน ครั้งที่ 2    1.3 จัดประชุมคณะกรรมการชมรมฯ สรุผลการดำเนินงาน ครั้งที่ 3
  2. กิจกรรมตรวจประเมิน/คัดกรอง/อบรมให้ความรู้ด้านมิติสุขภาพสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ (2 รุ่นๆละ 40 คน)     2.1 การประเมินปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ 6 ประเด็นได้แก่
            - ประเด็นโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ         - ประเด็นการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ         - ประเด็นสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ         - ประเด็นผู้สูงอายุสมองดี         - ประเด็นความสุขของผู้สูงอายุ         - ประเด็นสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ
       2.2 อบรมให้ความรู้เพิ่มทักษะในการเสริมสร้างสุขภาพกายและใจให้แข็งแรง ส่งเสริมสุขภาพและลดความเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ
  3. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการและขับเคลื่อนการดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุ จำนวน 3 ครั้ง/ปี งบประมาณ

- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 25 บาท x 15 คน x 3 ครั้ง = 1,125  บาท
- ค่าวัสดุ จำนวน 35 บาท x 15 คน = 525 บาท 2 กิจกรรมตรวจประเมิน/คัดกรอง/อบรมให้ความรู้ด้านมิติสุขภาพสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ - ค่าวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท x 1 คน x 2 รุ่น  = 2,400  บาท - ค่าอาหารว่าง จำนวน 25 บาท x 40 คน x 2 รุ่น  =  2,000  บาท - ค่าวัสดุ จำนวน 20 บาท x 80 คน =1,600 บาท - ค่าถ่ายเอกสาร จำนวน 450 บาท ทั้งหมด 8,100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 15 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8100.00

กิจกรรมที่ 3 3.ขั้นสรุปผล

ชื่อกิจกรรม
3.ขั้นสรุปผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-สรุปรายงาน -ส่งรายงานรูปเล่ม

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแลตามแผนส่งเสริมสุขภาพดี (Wellness Plan)
2. ผู้สูงอายุได้รับองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) และการดูแลสุขภาพตนเอง ในชมรมผู้สูงอายุ/โรงเรียนผู้สูงอายุ/ชุมชน
3. มีเมือง/ ชุมชน ที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ (Age-friendly Communities)


>