กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียนด้านพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติในสถานศึกษาเขตเทศบาลตำบลแม่ขรีประจำปี 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแม่ขรี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียนด้านพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติในสถานศึกษาเขตเทศบาลตำบลแม่ขรีประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแม่ขรี

โรงพยาบาลตะโหมด

เขตพื้นทีเทศบาลแม่ขรี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของสังคม เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ทำให้ชีวิตของคนไทยมีความเสี่ยงต่อภัยทางสุขภาพ เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค และภัยอันตรายต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไปจำนวนไม่น้อยที่เจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ โดยเฉพาะการเจ็บป่วยซึ่งเกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์และสภาพปัญหาสุขภาพของเด็กวัยเรียน วัยรุ่น จากข้อมูลรายงานของระบบ HDC กระทรวงสาธารณสุข ระหว่างปี 2563 – 2565สถานการณ์สุขภาพเด็กวัยเรียน อายุ 6-14 ปี เขตสุขภาพที่ 12 พบร้อยละเด็กวัยเรียนรูปร่างสูงดีสมส่วนร้อยละ 58.41 52.36 และ 48.17 ตามลำดับ ซึ่งยังต่ำกว่าเป้าหมายของกรมอนามัย คือไม่น้อยกว่าร้อยละ 66 เมื่อวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาเด็กวัยเรียนในเขตสุขภาพที่ 12 มีรูปร่างสูงดีสมส่วนยังต่ำ อันเนื่องจากปัญหาสำคัญคือภาวะทุพโภชนาการ ทั้งขาดและเกิน โดยพบเด็กวัยเรียนมีภาวะเตี้ยในปี 2563 – 2565 ร้อยละ 8.96 14.9 และ 16.79 มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน 12.52 10.62 และ 13.74 ร้อยละของเด็กวัยเรียนมีภาวะผอม 5.65 4.28 และ 5.65 ตามลำดับ

สถานการณ์สุขภาพเด็กวัยเรียนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ปีงบประมาณ 2565 จากข้อมูลการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ในระบบ HDC ภาคเรียนที่ 1 (เดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2565) พบว่าเด็กวัยเรียนอายุ 6 - 14 ปี ได้รับการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง จำนวนทั้งหมด 3,519 คน เด็กวัยเรียนสูงดีสมส่วน คิดเป็นร้อยละ 52.94 ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ร้อยละ 15.12 เตี้ย ร้อยละ 9.09 และผอม ร้อยละ 6.65 เด็กวัยเรียนอายุ 12 ปี มีส่วนสูงเฉลี่ย เพศชาย 149.33 เซนติเมตร เพศหญิง 151.31 เซนติเมตรซึ่งปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่เกิดจากการมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมตามวัย เลือกรับประทานอาหารตามความชอบเป็นหลัก โดยเฉพาะการบริโภคอาหารจานด่วน อาหารที่ปรุงประกอบด้วยวิธีการทอด ขนมกรุบกรอบ การบริโภคผักและผลไม้น้อยกว่าปริมาณที่แนะนำและการดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวาน รวมไปถึงขาดการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ตามนโยบายของกรมอนามัย ในปีงบประมาณ 2566 กำหนดเป้าหมายให้เด็กวัยเรียนอายุ 6 – 14 ปี ทั่วประเทศมีภาวะสูงดีสมส่วน ร้อยละ 57 สำหรับเขตสุขภาพที่ 12 กำหนดเป้าหมาย เด็กวัยเรียนสูงดีสมส่วน ร้อยละ 57 ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ไม่เกินร้อยละ 10ภาวะเตี้ย ไม่เกินร้อยละ 5 และภาวะผอม ไม่เกินร้อยละ 5ซึ่งสถานการณ์ภาวะโภชนาการของเด็กวัยเรียนในพื้นที่โรงพยาบาลตะโหมดข้างต้น ยังไม่บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด

ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดำเนินการเชิงรุกในการพัฒนากลไกการขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพ เด็กวัยเรียนวัยรุ่นให้สอดรับ กับวิถีชีวิตใหม่ของสังคม (New Normal) โดยประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาคการศึกษา สาธารณสุข รวมทั้งภาคีเครือข่ายในการพัฒนาโรงเรียน ผ่านกลไกการดำเนินงานพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพต่อยอดความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อพัฒนากระบวนการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน และการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดีจากการมีส่วนร่วม ระหว่างโรงเรียน ครอบครัว ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียนด้านพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ โดยการปฏิบัติจะส่งผลต่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและอันตรายต่อสุขภาพ ไปสู่ผลลัพธ์ให้เด็กวัยเรียน สูงดีสมส่วน มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) และมีพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ ที่จะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ การตัดสินใจ และมีความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้อย่างเหมาะสม และเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต จากเหตุผลดังกล่าว กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลตะโหมด จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียนด้านพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ ในสถานศึกษา เขตเทศบาลตำบลแม่ขรี ประจำปี 2566 ขึ้นเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในครั้งนี้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำนักเรียนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติที่ถูกต้อง ในระดับดีขึ้นไป

แกนนำนักเรียนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70

0.00
2 เพื่อสร้างแกนนำสุขบัญญัติที่มีศักยภาพ สามารถชี้นำ เพื่อน ผู้ปกครอง และคนในชุมชน ด้วยการเป็นตัวอย่างที่ดี และสามารถให้ความรู้เรื่องสุขภาพได้

แกนนำนักเรียนมีการปฏิบัติตนตามสุขบัญญัติแห่งชาติ และสามารถเผยแพร่ความรู้พฤติกรรมสุขบัญญัติสู่เพื่อน ครอบครัว และคนในชุมชนได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. ขั้นเตรียมการ

ชื่อกิจกรรม
1. ขั้นเตรียมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 จัดทำโครงการ/ขออนุมัติโครงการจากคณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุน โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียนด้านพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ ในสถานศึกษาเขตเทศบาลตำบลแม่ขรี ประจำปี 2566
        1.2 ประชาสัมพันธ์เชิญชวนโรงเรียนในเขตเทศบาลตำบลแม่ขรี ที่มีแกนนำนักเรียน หมายถึง นักเรียนที่สมัครใจ หรือได้รับคัดเลือกจากครู อาจารย์ เพื่อนในโรงเรียน เข้าร่วมโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2. ขั้นดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
2. ขั้นดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดำเนินการกิจกรรม ดังนี้
กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียนด้านพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ ระยะเวลาดำเนินการ 3 วัน โดยแบ่งดำเนินการ ดังนี้
วันที่ 1 ของกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ

  • พฤติกรรมสุขบัญญัติแห่งชาติ ข้อ 1 การดูแลรักษาร่างกายและของใช้ให้สะอาด

  • พฤติกรรมสุขบัญญัติแห่งชาติ ข้อ 2 การรักษาฟันให้แข็งแรงและแปรงฟันทุกวันอย่างถูกต้อง

    • พฤติกรรมสุขบัญญัติแห่งชาติ ข้อ 3 การล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหาร และหลังขับถ่าย
  • พฤติกรรมสุขบัญญัติแห่งชาติ ข้อ 4 การกินอาหารสุกสะอาด ปราศจากสารอันตราย และหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด สีฉูดฉาด
    วันที่ 2 ของกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ

  • พฤติกรรมสุขบัญญัติแห่งชาติ ข้อ 5 การงดบุหรี่ สุรา สารเสพติด การพนัน และการสำส่อนทางเพศ

    • พฤติกรรมสุขบัญญัติแห่งชาติ ข้อ 6 การสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่น
  • พฤติกรรมสุขบัญญัติแห่งชาติ ข้อ 7 การป้องกันอุบัติภัยด้วยการไม่ประมาท

    วันที่ 3 ของกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ

    • พฤติกรรมสุขบัญญัติแห่งชาติ ข้อ 8 การออกกำลังกายสม่ำเสมอและตรวจสุขภาพประจำปี
    • พฤติกรรมสุขบัญญัติแห่งชาติ ข้อ 9 การทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ
  • พฤติกรรมสุขบัญญัติแห่งชาติ ข้อ 10 การมีสำนึกต่อส่วนรวม ร่วมสร้างสรรค์สังคม
    กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมด้านสุขภาพในโรงเรียน

    • การให้ความรู้หน้าเสาธง เช่น สุขบัญญัติรายข้อทั้ง 10 ประการ หรือการให้ความรู้เรื่องโรคต่างๆ ตามฤดูกาล
  • การจัดป้ายนิทรรศการ / ป้ายประชาสัมพันธ์
    กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมรณรงค์ เนื่องในวันสุขบัญญัติแห่งชาติ “28 พฤษภาคม” ด้านสุขภาพในชุมชน กิจกรรมที่ 4 ประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนตามสุขบัญญัติแห่งชาติ และสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน พร้อมข้อเสนอแนะทางแก้ไขปัญหา

    1. กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียนด้านพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ ระยะเวลาดำเนินการ 3 วัน งบประมาณ
    • ค่าอาหารกลางวันจำนวน 50 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 65 บาท จำนวน 3 วัน เป็นเงิน 9,750 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 3 วัน เป็นเงิน 7,500 บาท กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมด้านสุขภาพในโรงเรียน กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมรณรงค์ เนื่องในวันสุขบัญญัติแห่งชาติ “28 พฤษภาคม” ด้านสุขภาพในชุมชน งบประมาณ
    • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม เป็นเงิน 1,500 บาท กิจกรรมที่ 4 ประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนตามสุขบัญญัติแห่งชาติ และสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ ปัญหาอุปสรรค ในการดำเนินงาน พร้อมข้อเสนอแนะทางแก้ไขปัญหา งบปมระมาณ
    • ค่าจ้างทำประกาศนียบัตรผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 ฉบับๆ ละ 15 บาท เป็นเงิน 750 บาท รวมทั้งหมด 19,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
31 มีนาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19500.00

กิจกรรมที่ 3 3.ขั้นสรุปผล

ชื่อกิจกรรม
3.ขั้นสรุปผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-สรุปรายงานเล่ม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แกนนำนักเรียนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
2. แกนนำนักเรียนมีการปฏิบัติตนตามสุขบัญญัติแห่งชาติ และสามารถเผยแพร่ความรู้พฤติกรรมสุขบัญญัติสู่เพื่อน ครอบครัว และคนในชุมชนได้


>