กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจในผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดสตูล (Happy Place Happy mind)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

เรือนจำจังหวัดสตูล

นางสาวอภิญญาอาดำ
ติดต่อ 0630928207,074-711950

เรือนจำจังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ต้องขังที่เคยได้รับการคัดกรองสุขภาพจิต (คน)

 

1,000.00
2 จำนวนผู้ต้องขังที่มีภาวะเครียด มีสุขภาพจิตที่ต้องได้รับการดูแล (คน)

 

340.00

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้รับขึ้นทะเบียน สถานพยาบาลเรือนจำจังหวัดสตูล เป็นหน่วยบริการตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ 78) พ.ศ. 2561 โดยรับการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิดังกล่าว เป็นแบบมีเงื่อนไขงบประมาณค่าใช้จ่ายรายหัวที่ได้ยังคงอยู่กับโรงพยาบาลแม่ข่ายและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 เป็นต้นไป ซึ่งกองทุนหลักประกันสุขภาพเมืองสตูลได้กำหนดประชุมจัดทำแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้ต้องขังในเรือนจำตามมติคณะรัฐมนตรี ประจำปีงบประมาณ 2567 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
กรมสุขภาพจิตร่วมกับสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ทำการวิจัยในกลุ่มผู้ต้องขังจำนวน 600 คน พบว่ามีปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวชร้อยละ 46 ซึ่งสูงกว่าประชาชนทั่วไป 3 เท่า เนื่องจากกลุ่มผู้ต้องขังนั้นมีข้อจำกัดในการดำรงชีวิตมากกว่าบุคคลทั่วไป จึงทำให้เกิดความเครียดหรือปัญหาสุขภาพจิตอื่นการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจในผู้ต้องขังจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจิต
เรือนจำจังหวัดสตูล โดยงานสถานพยาบาล ทำหน้าที่คัดกรองสุขภาพจิตและบำบัดรักษาผู้ต้องขังภายในเรือนจำนั้นพบว่าจากจำนวนสถิติผู้ต้องขังที่มีอาการทางจิตได้รับการรักษาโดยจิตแพทย์ โรงพยาบาลแม่ข่ายนั้น นับตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564 จำนวน 26 คน ปีงบประมาณ 2565 จำนวน 31 คน ปีงบประมาณ 2566-ปัจจุบัน จำนวน 44 คน ซึ่งมีอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี รวมไปถึงจากการคัดกรองสุขภาพจิตปีงบประมาณ 2566-ปัจจุบัน พบผู้ต้องขังที่มีภาวะเครียดจำนวน 340 คน (คิดเป็นร้อยละ 11 ของผู้ต้องขังทั้งหมด ข้อมูล ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567) ดังนั้นสถานพยาบาลได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพจิตในผู้ต้องขัง จึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจ (Happy place Happy mind) ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อให้ผู้ต้องขังมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูแลสุขภาพจิต สอดคล้องกับแผนพัฒนาสุขภาพผู้ต้องขังตามมติคณะรัฐมนตรี และพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตลอดทั้งระเบียบข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองสุขภาพจิตผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดสตูล

ร้อยละของผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดสตูลได้รับการคัดกรองสุขภาพจิต มากกว่าร้อยละ 80 (โดยการใช้แบบประเมินสุขภาพจิต)

0.00 100.00
2 เพื่อให้ผู้ต้องขังที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพจิต

ร้อยละของผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดสตูลที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพจิต มากกว่าร้อยละ 80(โดยการใช้แบบประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรม)

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ต้องขังจิตเวชที่ได้รับการวินิจฉัย 25
ผู้ต้องขังที่ได้รับการคัดกรองแล้วพบความเสี่ยง 25

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองสุขภาพจิตผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดสตูล

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองสุขภาพจิตผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดสตูล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม : คัดกรองสุขภาพจิตผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดสตูล โดยใช้แบบประเมินสุขภาพจิตผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดสตูล (PMHQ) แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า (2Q,9Q,8Q) และแบบคัดกรองโรคจิต
งบประมาณ ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม ดังนี้
(1) กระดาษ A4 80 แกรม 3 กล่อง เป็นเงิน 595 X 3 เป็นเงิน 1,785 บาท
(เพื่อนำไปใช้ถ่ายเอกสารแบบประเมิน รายละเอียด ดังนี้ แบบประเมินภาวะสุขภาพจิตสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำไทย (PMHQ-Thai) จำนวน 500 ชุด , แบบคัดกรอง/ประเมินโรคซึมเศร้า และแบบประเมินฆ่าตัวตาย (2Q 9Q 8Q) จำนวน 500 ชุด , แบบคัดกรองโรคจิต จำนวน 500 ชุด
(2) ปากกาลูกลื่น จำนวน 1 กล่อง เป็นเงิน 235 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดสตูลได้รับการคัดกรองสุขภาพจิต

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2020.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพจิตและศิลปะบำบัด

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพจิตและศิลปะบำบัด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กำหนดการอบรม
08.30 - 09.00 น. กิจกรรมที่ 1 Mood Check-in ทบทวนความรู้สึกประจำวันก่อนเริ่มทำกิจกรรมและหลังทำกิจกรรม เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความคับข้องใจและเตรียมความพร้อมในการทำกิจกรรม
09.00 - 12.00 น. กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้ผู้ต้องขัง โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจิตที่ถูกวิธี
12.00 - 13.00 น. พักกลางวัน
13.00 - 16.00 น. กิจกรรมที่ 3 ศิลปะบำบัด โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปะ
หมายเหตุ กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
งบประมาณ
(1) ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ 300 บาท จำนวน 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาท
(2) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ชุดละ 30 บาท จำนวน 50 ชุด 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
(3) ค่าสมุดปกอ่อน จำนวน 5 โหล เป็นเงิน 42 X 5 = 210 บาท
(4) ค่าสีเทียนจำนวน 6 กล่องๆละ 60 บาท เป็นเงิน 60 X 6 = 360 บาท
(5) ค่าสีชอล์คจำนวน10 กล่องๆละ 55 เป็นเงิน 55 X 10 = 550 บาท
(6) ค่าดินสอจำนวน 3 กล่องๆละ 140 บาท เป็นเงิน 140 X 3 = 420 บาท
(7) ค่ายางลบจำนวน 1 กล่อง เป็นเงิน 239 บาท
(8) กระดาษโพสอิท (ขนาด 3*3 นิ้ว) จำนวน 5 แพ็คๆละ 45 บาท เป็นเงิน 45 X 5 = 225 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 สิงหาคม 2567 ถึง 19 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

(1) เพื่อให้ผู้ต้องขังได้พัฒนาความรู้ด้านสุขภาพจิตและตระหนักถึงปัญหาสุขภาพจิตมากยิ่งขึ้น
(2) เพื่อให้ผู้ต้องขังมีความเข้าใจแนวทางการดูแลสุขภาพจิตที่เหมาะสม
(3) เพื่อช่วยเยียวยาภายในจิตใจของผู้ต้องขังผ่านงานศิลปะ
(4) เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และเกิดความเพลิดเพลิน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6804.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้เรื่องจิตใจสงบสุขด้วยหลักคุณธรรมจริยธรรมและการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องจิตใจสงบสุขด้วยหลักคุณธรรมจริยธรรมและการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กำหนดการอบรม
08.30 - 09.00 น. กิจกรรมที่ 1 Mood Check-in ทบทวนความรู้สึกประจำวันก่อนเริ่มทำกิจกรรมและหลังทำกิจกรรม เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความคับข้องใจและเตรียมความพร้อมในการทำกิจกรรม
09.00 - 12.00 น. กิจกรรมที่ 2 การให้ความรู้เรื่องจิตใจสงบสุขด้วยหลักคุณธรรมจริยธรรม โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนา
12.00 - 13.00 น. พักกลางวัน
13.00 - 16.00 น. กิจกรรมที่ 3 การเสริมสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เกี่ยวกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ
หมายเหตุ อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
งบประมาณ
(1) ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ 300 บาท จำนวน 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาท
(2) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ชุดละ 30 บาท จำนวน 50 ชุด 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 สิงหาคม 2567 ถึง 20 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

(1) เพื่อส่งเสริมให้ผู้ต้องขังมีคุณธรรมจริยธรรมในการดำรงชีวิตมากยิ่งขึ้น
(2) เพื่อให้ผู้ต้องขังมีหลักยึดเหนี่ยวทางจิตใจมากขึ้น
(3) เพื่อให้ผู้ต้องขังมีความรู้ด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ
(4) เพื่อให้ผู้ต้องขังมีความสามารถในการจัดการกับความเครียด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4800.00

กิจกรรมที่ 4 อบรมให้ความรู้เรื่องการเสริมสร้างคุณค่าให้ตัวเอง (Self esteem) และสร้างความตระหนักรู้การดูแลสุขภาพจิต

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการเสริมสร้างคุณค่าให้ตัวเอง (Self esteem) และสร้างความตระหนักรู้การดูแลสุขภาพจิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กำหนดการอบรม
08.30 - 09.00 น. กิจกรรมที่ 1 Mood Check-in ทบทวนความรู้สึกประจำวันก่อนเริ่มทำกิจกรรมและหลังทำกิจกรรม เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความคับข้องใจและเตรียมความพร้อมในการทำกิจกรรม
09.00 - 12.00 น. กิจกรรมที่ 2 การให้ความรู้เรื่องการเสริมสร้างคุณค่าให้ตัวเอง (Self esteem)
12.00 - 13.00 น. พักกลางวัน
13.00 - 16.00 น. กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมสร้างความตระหนักรู้เดินรณรงค์ภายในเรือนจำ
หมายเหตุ อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
งบประมาณ
(1) ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ 300 บาท จำนวน 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 900บาท
(2) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ชุดละ 30 บาท จำนวน 50 ชุด 1 มื้อ เป็นเงิน 1,500 บาท
(3.) ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.5 เมตร X 3 เมตร ตารางเมตรละ 150 บาท เป็นเงิน 675 บาท
(4.) จัดทำโฟร์มบอร์ดจำนวน 5 อัน ขนาด A 3 อันละ 250 บาท เป็นเงิน 1,250บาท
(5.) จัดทำสื่อการเรียนรู้ X-stand ขนาด 60 ซม. X 160 ซม. จำนวน 2 อัน ราคา 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 สิงหาคม 2567 ถึง 21 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

(1) เพื่อให้ผู้ต้องขังมีความรู้ด้านการเสริมสร้างคุณค่าให้ตัวเอง
(2) เพื่อให้ผู้ต้องขังมีการรับรู้ว่าตนเองมีคุณค่า มีศักยภาพและภูมิใจในตนเองมากยิ่งขึ้น
(3) เพื่อให้ผู้ต้องขังเกิดความตระหนักรู้ในการดูแลสุขภาพจิต

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6325.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,949.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดสตูลได้รับการคัดกรองสุขภาพจิตเพื่อนำไปสู่การบำบัดรักษาและดูแลช่วยเหลืออย่างมีคุณภาพ
2.ผู้ต้องขังสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตภายในเรือนจำ
3.ส่งเสริมให้ผู้ต้องขังตระหนักในคุณค่าตัวเอง


>