กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจในผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดสตูล (Happy Place Happy mind)
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เรือนจำจังหวัดสตูล
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 19,949.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุขภาพจิต
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ต้องขังที่เคยได้รับการคัดกรองสุขภาพจิต (คน)
1,000.00
2 จำนวนผู้ต้องขังที่มีภาวะเครียด มีสุขภาพจิตที่ต้องได้รับการดูแล (คน)
340.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้รับขึ้นทะเบียน สถานพยาบาลเรือนจำจังหวัดสตูล เป็นหน่วยบริการตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ 78) พ.ศ. 2561 โดยรับการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิดังกล่าว เป็นแบบมีเงื่อนไขงบประมาณค่าใช้จ่ายรายหัวที่ได้ยังคงอยู่กับโรงพยาบาลแม่ข่ายและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 เป็นต้นไป ซึ่งกองทุนหลักประกันสุขภาพเมืองสตูลได้กำหนดประชุมจัดทำแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้ต้องขังในเรือนจำตามมติคณะรัฐมนตรี ประจำปีงบประมาณ 2567 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว กรมสุขภาพจิตร่วมกับสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ทำการวิจัยในกลุ่มผู้ต้องขังจำนวน 600 คน พบว่ามีปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวชร้อยละ 46 ซึ่งสูงกว่าประชาชนทั่วไป 3 เท่า เนื่องจากกลุ่มผู้ต้องขังนั้นมีข้อจำกัดในการดำรงชีวิตมากกว่าบุคคลทั่วไป จึงทำให้เกิดความเครียดหรือปัญหาสุขภาพจิตอื่นการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจในผู้ต้องขังจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจิต
เรือนจำจังหวัดสตูล โดยงานสถานพยาบาล ทำหน้าที่คัดกรองสุขภาพจิตและบำบัดรักษาผู้ต้องขังภายในเรือนจำนั้นพบว่าจากจำนวนสถิติผู้ต้องขังที่มีอาการทางจิตได้รับการรักษาโดยจิตแพทย์ โรงพยาบาลแม่ข่ายนั้น นับตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564 จำนวน 26 คน ปีงบประมาณ 2565 จำนวน 31 คน ปีงบประมาณ 2566-ปัจจุบัน จำนวน 44 คน ซึ่งมีอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี รวมไปถึงจากการคัดกรองสุขภาพจิตปีงบประมาณ 2566-ปัจจุบัน พบผู้ต้องขังที่มีภาวะเครียดจำนวน 340 คน (คิดเป็นร้อยละ 11 ของผู้ต้องขังทั้งหมด ข้อมูล ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567) ดังนั้นสถานพยาบาลได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพจิตในผู้ต้องขัง จึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจ (Happy place Happy mind) ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อให้ผู้ต้องขังมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูแลสุขภาพจิต สอดคล้องกับแผนพัฒนาสุขภาพผู้ต้องขังตามมติคณะรัฐมนตรี และพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตลอดทั้งระเบียบข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองสุขภาพจิตผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดสตูล

ร้อยละของผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดสตูลได้รับการคัดกรองสุขภาพจิต มากกว่าร้อยละ 80 (โดยการใช้แบบประเมินสุขภาพจิต)

0.00 100.00
2 เพื่อให้ผู้ต้องขังที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพจิต

ร้อยละของผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดสตูลที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพจิต มากกว่าร้อยละ 80(โดยการใช้แบบประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรม)

0.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 19,949.00 0 0.00
1 - 30 มิ.ย. 67 คัดกรองสุขภาพจิตผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดสตูล 0 2,020.00 -
19 ส.ค. 67 อบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพจิตและศิลปะบำบัด 0 6,804.00 -
20 ส.ค. 67 อบรมให้ความรู้เรื่องจิตใจสงบสุขด้วยหลักคุณธรรมจริยธรรมและการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ 0 4,800.00 -
21 ส.ค. 67 อบรมให้ความรู้เรื่องการเสริมสร้างคุณค่าให้ตัวเอง (Self esteem) และสร้างความตระหนักรู้การดูแลสุขภาพจิต 0 6,325.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดสตูลได้รับการคัดกรองสุขภาพจิตเพื่อนำไปสู่การบำบัดรักษาและดูแลช่วยเหลืออย่างมีคุณภาพ 2.ผู้ต้องขังสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตภายในเรือนจำ
3.ส่งเสริมให้ผู้ต้องขังตระหนักในคุณค่าตัวเอง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2566 00:00 น.