กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านศาลามะปราง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลามะปราง

หมู่ที่ 1 , 2 ,4 และ 10ตำบลเขาย่า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนสงสัยป่วยโรคเบาหวาน

 

3.53
2 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

38.48
3 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจ HBA1Cปีละครั้ง

 

65.96
4 ร้อยละประชาชนสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง

 

22.78
5 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

22.87

ด้วยประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลามะปราง มีผู้ป่่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานจำนวนมาก รวมถึงผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าวเนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคและการใช้ชีวิตประจำวันที่ก่อให้เกิดภาวะเสี่ยงนำไปสู่การเจ็บป่วย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลามะปรางจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่กลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยง และสนับสนุนกิจกรรมในการสร้างเสริมสุขภาพให้แก่ตนเอง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

38.48 30.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

22.87 15.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 31/12/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการกำหนดกฏกติกาชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการกำหนดกฏกติกาชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯประกอบด้วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจำนวน 2 คนอาสาสมัครสาธารณสุขทุกคนจำนวน55 คนเพื่อให้อสม.ติดตามหลังการให้ความรู้และสำรวจกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ รวม57 คนและคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย จากการตรวจคัดกรอง จำนวน100คน
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน1มื้อ ๆละ 25 บาท 1,425 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 มีนาคม 2566 ถึง 9 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีการประชุมมชเิกดขึ้น 1 ครั้ง

2.มีคณะทำงานจำนวน 57 คน

3.ได้ข้อมูลกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่

4.มีกฏกติกาชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1425.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสร้างความเข้าใจ และให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย การพัฒนาทักษะส่วนบุคคลและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสร้างความเข้าใจ และให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย การพัฒนาทักษะส่วนบุคคลและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมสร้างความเข้าใจ และให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยมีการแบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่มๆละ 50 คนรวม 100 คน โดยเชิญวิทยากรให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพ การบริโภคที่ถูกต้อง และการพัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 2 มื้อๆละ 25 บาทจำนวน 100 คนจำนวนเงิน 5,000 บาท -ค่าอาหารกลางวันจำนวน 1 มื้อๆละ 70 บาทจำนวนเงิน 7,000บาท -ค่าวัสดุ จำนวน 1,150 บาท -ค่าทีมวิทยากร 2 คน จำนวน 5 ชม.ๆละ 300 บาท เป็นเงิน 3,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มีนาคม 2566 ถึง 16 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
2.กลุ่มเป้าหมายมีการบริโภคที่ถูกต้องและลดภาวะแทรกซ้อน 3.กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16150.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพการส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัยปลูกผักกินเองเพื่อลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง
-มีการติดตามพฤติกรรมการบริโภคอาหารทุกเดือน -1.ส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษกินเองในครัวเรือนอย่างน้อย10 ชนิด
2.ค้นหาต้นแบบครัวเรือนการปลูกผักปลอดสารพิษและบริโภคผักวันละ ครึ่ง กก. ค่าใช้จ่ายดังนี้ -ค่าวัสดุพันธ์ผักจำนวน200 ซองๆละ 15 บาท เป็นเงิน 3000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีแปลงปลูกผักปลอดสารพิษเพิ่มขึ้น 1.ส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษกินเองในครัวเรือนอย่างน้อย10 ชนิด
2.ค้นหาต้นแบบครัวเรือนการปลูกผักปลอดสารพิษและบริโภคผักวันละ ครึ่ง กก.

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมส่งเสริมการเพิ่มกิจกรรมทางกายเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมการเพิ่มกิจกรรมทางกายเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นกลุ่มเป้าหมายเพื่อลดพฤติกรรมเนือยนิ่งอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน ๆละ 30 นาที เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเสี่ยงมีกิจกรรมทางกายเพิ่มมากขึ้นตามความถนัด เช่น การเดิน การปั่นจักรยานการทำกิจวัตรประจำวัน การออกกำลังกายรวมทั้การพัฒนาสิ่งแวดล้อมรวมเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย มีการติดตามพฤติกรรมการส่งเสริมกิจกรรมทางกายทุกเดือน 1.มีการประเมินพฤติกรรมสุขภาพทุกเดือน 2.ต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเเสี่ยงและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพ 3.ต้นแบบการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ - ค่าอาหารกลางวันจำนวน 100 คนๆละ 70 บาทจำนวน 7,000บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆละ 25 บาทจำนวน 2 มื้อจำนวน5,000บาท
- ค่าทีมวิทยากร 2 คน จำนวน 5 ชม.ๆละ 300 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเป้าหมายมีกิจกรรมเพิ่มมากเขึ้น 2.มีต้นแบบการปลูกผักปลอดสารพิษ 3.มีต้นแบบครัวเรือนที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชุมชน 4.กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมสรุปข้อมูลคืนข้อมูลสู่ชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสรุปข้อมูลคืนข้อมูลสู่ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมสรุปข้อมูลคืนข้อมูลสู่ชุมชนมีเจ้าหน้าที่ร่วมประชุม อสม.และแกนนำออกกำลังกายในชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขทุกคนมีการถอดบทเรียนจำนวน 55 คน

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน1มื้อ ๆละ 25 บาท 1,425บาท

-ค่าวัสดุโครงการ 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 กรกฎาคม 2566 ถึง 7 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีการประชุมเกิดขึ้น1 ครั้ง 2.มีต้นแบบการดูแลสุขภาพในชุมชน 3.เกิดครัวเรือนต้นแบบในการปลูกผักปลอดสารพิษในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4425.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนในเขตรับผิดชอบมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงลดลง


>