กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุยุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลดเค็ม ลดโซเดียม เจ็ดวันความดันฯลด ตำบลปูยุด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุยุด

สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลปูยุด อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี

ตำบลปุยด อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

7.59
2 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

21.57

โรคความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน กล้ามเนื้อหัวใจตายหรือขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต ไตวายเรื้อรัง หัวใจล้มเหลวและสมองเสื่อม นอกจากนี้ ระดับความดันโลหิตที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วยังเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดหลอดเลือดสมองแตก เลือดออกในสมอง (Hemorrhagic stroke) หลอดเลือดหัวใจตีบตันเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันหรือหลอดเลือดแดงใหญ่ฉีกขาด โรคความดันโลหิตสูงจึงเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเสียชีวิตด้วย จากข้อมูลการสำรวจพบว่าความชุกของโรคความดันโลหิตสูงในประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 21.4 ในปี 2552 เป็นร้อยละ 24.7 ในปี 2557 พฤติกรรมเสี่ยงสำคัญที่สนับสนุนให้ความดันโลหิตเพิ่ม สูงขึ้น คือ การกินเค็ม (เกลือ/โซเดียม) ซึ่งพบว่า คนไทยบริโภคเกลือเฉลี่ย 10.8 กรัมต่อวัน (โซเดียม 5,000 มิลลิกรัม) ซึ่งสูงกว่าความต้องการที่ร่างกายควรได้รับถึง 1 เท่า คือ ควรบริโภคเกลือไม่เกิน 5 กรัมต่อวัน (โซเดียม 2,400 มิลลิกรัม) การศึกษาในพื้นที่อำเภอบางพลีสมุทรปราการโดยภาควิชาอายุรศาสตร์ร่วมกับภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชนคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีพบว่าการให้ความรู้อย่างเข้มข้นโดยแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ร่วมกับการซักถามการบริโภคอาหารย้อนหลังและแนะนำการลดบริโภคอาหารเค็ม (โซเดียม) อย่างถูกต้องและสม่ำเสมอทุก 2 สัปดาห์ ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงนั้น ส่งผลให้ความดันโลหิตตัวบนลดลงได้ 10 มิลลิเมตรปรอท และตัวล่างลดลงถึง 5 มิลลิเมตรปรอท

ปัจจุบันในตำบลปูยุด พบผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง 3 ปีย้อนหลังดังนี้ ปี 2563,2564,2565 พบผู้ป่วย 504 คน ,519 คน,516 คน ตามลำดับ มีกลุ่มเสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตสูง 3 ปี ย้อนหลัง ดังนี้134 คน,235คน,143คน มีอัตราป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น จากปัญหาดังกล่าว รพ.สต.ปูยุด จึงจัดทำโครงการโครงการลดเค็ม ลดโซเดียม เจ็ดวันความดันฯลด เพื่อสนับสนุนการปรับพฤติกรรมการกิน โดยคาดหวังว่าจะช่วยลดอัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคความดันโลหิตสูง และช่วยลดค่าความดันโลหิตในกลุ่มเสี่ยงสูง จนควบคุมความดันโลหิตได้หรือเป็นปกติ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสูงมีความรู้และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้

กลุ่มเป้าหมายให้ความร่วมมือและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสามารถควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในกลุ่มปกติร้อยละ 30

0.00
2 2.เพื่อลดการเกิดอัตราป่วยรายใหม่ในกลุ่มเสี่ยงสูง

 

0.00
3 3.เพื่อควบคุมความดันโลหิตในกลุ่มกลุ่มเสี่ยงสูง

 

0.00
4 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

21.57 18.00
5 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

7.59 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์รับสมัครกลุ่มเสี่ยงสูงเข้าร่วมโครงการลดเค็ม ลดโซเดียม เจ็ดวันความดันฯลด

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์รับสมัครกลุ่มเสี่ยงสูงเข้าร่วมโครงการลดเค็ม ลดโซเดียม เจ็ดวันความดันฯลด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าทำป้ายโครงการ 1.5 เมตร*2.5เมตร ตร.ม.ละ 300 บาท เป็นเงิน 1,125 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
4 พฤษภาคม 2566 ถึง 5 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนรับรู้ ข้อมูลข่าวสาร การจัดทำโครงการฯ และกระตุ้นกลุ่มเสี่ยงให้มีความตระหนักเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1125.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ โดยนัดกลุ่มเสี่ยงสูงเป็นกลุ่มๆละ 35 คน ไปพบกันที่ Health station ของหมู่บ้าน/ตำบล หรือห้องประชุมของ อปท.หรือที่ รพ./รพ.สต.เพื่อให้ความรู้แบบเข้มข้นเพื่อลดการบริโภคโซเดียม และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ โดยนัดกลุ่มเสี่ยงสูงเป็นกลุ่มๆละ 35 คน ไปพบกันที่ Health station ของหมู่บ้าน/ตำบล หรือห้องประชุมของ อปท.หรือที่ รพ./รพ.สต.เพื่อให้ความรู้แบบเข้มข้นเพื่อลดการบริโภคโซเดียม และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน 70 คน (2รุ่นๆละ 35) x 70 บาท x 1 วัน เป็นเงิน 4,900 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 70 คน (2รุ่นๆละ 35) x 30บาท x 2 มื้อ x 1วัน เป็นเงิน 4,200 บาท
  • ค่าถ่ายเอกสารและเข้าเล่ม(คู่มือ) 70 ชุดๆละ 30 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท
  • วัสดุอุปกรณ์สำหรับจัดอบรม และผู้เข้าร่วม (สมุด ปากกา กระดาษ)เป็นเงิน 1,400บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 2 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • กลุ่มเสี่ยงเข้าใจกระบวนการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  • กลุ่มเสี่ยงเข้าใจ และตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12600.00

กิจกรรมที่ 3 วัดความดันโลหิต และชั่งน้ำหนักติดต่อกัน 7 วัน และติดตามทุกๆ 2 สัปดาห์

ชื่อกิจกรรม
วัดความดันโลหิต และชั่งน้ำหนักติดต่อกัน 7 วัน และติดตามทุกๆ 2 สัปดาห์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • วัสดุอุปกรณ์สำหรับจัดอบรม และผู้เข้าร่วม (สมุด ปากกา กระดาษ) เป็นเงิน 1,400 บาท
  • ค่าเครื่องวัดความดันฯ จำนวน 7 เครื่อง ๆ ละ 3,500 บาท เป็นเงิน 24,500 บาท
  • ค่าเครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 7 เครื่อง เครื่อง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กรกฎาคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชน กลุ่มเสี่ยงเข้าใจกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อพฤติกรรมสุขภาพที่ดี
มีการติดตามปัญหาสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 42,425.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเสี่ยงสูงที่สามารถลดความดันโลหิตให้อยู่ในกลุ่มปกติได้ ร้อยละ 30
2. กลุ่มเสี่ยงสูงมีความพึงพอใจร้อยละ 80
3. กลุ่มเสี่ยงสูงมีค่าเฉลี่ยของความดันฯลดลงหลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโซเดียม


>