กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

การเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กช่วงแรกเกิด - 6 ปี ให้สมวัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

อาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไทร

1. นางสมจิต คงสีแก้ว
2. นางแฉล้ม โกตัน
3. นายสรรเสริญ สุวลักษ์
4. นางพรพรรณแก้วใจเย็น
5.นางพรทิพย์ คงภิทักษ์

เขตพื้นที่บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไทร (หมู่ที่ 5 บ้านทุ่งโพธิ์หมู่ที่ 6 บ้านควนเจดีย์หมู่ที่ 7 บ้านท่าไทรหมู่ที่ 8 บ้านปริก)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละเด็กที่อายุ 0-6 ปี ที่มีพัฒนาการสมวัย

 

77.00
2 ร้อยละผู้ปกครองสามารถเฝ้าระวัง ประเมินพัฒนาการเด็กได้

 

5.00
3 ร้อยละอาสาสมัครสาธารณสุขสามารถเฝ้าระวัง ติดตามและประเมินพัฒนาการเด็กได้

 

5.00

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – 6 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต พัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย
จากผลการประเมินพัฒนาการเด็กในช่วงอายุแรกเกิด – 6 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไทรในปีงบประมาณ 2565 พบว่า มีเด็กที่เข้ารับการประเมินพัฒนาการโดยเจ้าหน้าที่ ทั้งหมด 219 ราย ได้รับการคัดกรอง 219 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 มีพัฒนาการสมวัย 170 ราย คิดเป็นร้อยละ 77.63 สงสัยพัฒนาการล่าช้า 49 ราย คิดเป็นร้อยละ 22.37 และพัฒนาการล่าช้าส่งต่อโรงพยาบาลเทพา 12 ราย คิดเป็นร้อยละ 24.49 นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ปกครองเด็กเด็กแรกเกิด – 6 ปี ร้อยละ 95 ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการประเมิน ส่งเสริม และการกระตุ้นพัฒนาการเด็กในด้านต่างๆ อาสาสมัครสาธารณสุขร้อยละ 95 ไม่สามารถติดตามและเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กได้ ในการนี้ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไทรได้ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการเด็กแรกเกิด - 6 ปี พัฒนาการสมวัย โภชนาการสมส่วน บูรณาการร่วมกับชุมชนด้วยการพัฒนาเครื่องมือให้อาสาสมัครสาธารณสุขช่วยเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามช่วงอายุเพื่อช่วยค้นหาเด็กที่มีพัฒนาการผิดปกติด้านต่างๆ เร็วขึ้นได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เด็กที่อายุ 0-6 ปี ที่มีพัฒนาการสมวัย

ร้อยละเด็กที่อายุ 0-6 ปี ที่มีพัฒนาการสมวัย

77.00 95.00
2 ผู้ปกครองสามารถเฝ้าระวัง ประเมินพัฒนาการเด็กได้

ร้อยละผู้ปกครองสามารถเฝ้าระวัง ประเมินพัฒนาการเด็กได้

5.00 30.00
3 อาสาสมัครสาธารณสุขสามารถเฝ้าระวัง ติดตามและประเมินพัฒนาการเด็กได้

ร้อยละอาสาสมัครสาธารณสุขสามารถเฝ้าระวัง ติดตามและประเมินพัฒนาการเด็กได้

5.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 270
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 350
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ อสม.รอบรู้พัฒนาการตามวัย

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ อสม.รอบรู้พัฒนาการตามวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการอาสาสมัครสาธารณสุข :อสม.รอบรู้โภชนาการและพัฒนาการตามวัย

- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อสม.และทีมวิทยากร 80 คน คนละ 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท - ค่าอาหารกลางวัน อสม.และทีมวิทยากร 80 คนละ 60 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท - ค่าเอกสารในการอบรมชุดละ 50 บาท จำนวน 78 ชุด เป็นเงิน 7,680 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าไวนิลประกอบโครงการ ขนาด สูง 1.5 เมตร ยาว 2 เมตร คิดเป็น 3 ตารางเมตรตารางเมตรละ 150 บาท เป็นเงิน 450 บาท - ชุดประเมินพัฒนาการเด็ก DSPM ช่วงอายุ0-6 ปี จำนวน 4 ชุด ชุดละ 4,500 บาท เป็นเงิน 18,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.มีความรู้ความเข้าใจเรื่องภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กเพิ่มมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
38530.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามพัฒนาการเด็ก 0-6 ปี ในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามพัฒนาการเด็ก 0-6 ปี ในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อสม.ติดตามพัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงวัย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็ก 0-6 ปี ในชุมชนและสถานศึกษา ได้รับการติดตามพัฒนาการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 รวบรวมข้อมูล ทำการบันทึกข้อมูลและส่งข้อมูลให้ รพ.สต.ท่าไทร เพื่อแปรผล

ชื่อกิจกรรม
รวบรวมข้อมูล ทำการบันทึกข้อมูลและส่งข้อมูลให้ รพ.สต.ท่าไทร เพื่อแปรผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รวบรวมข้อมูล ทำการบันทึกข้อมูลให้ รพ.สต.ท่าไทร เพื่อแปรผล

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็ก0-6 ปี ได้รรับการติดตามและมีการบันทึกผล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 38,530.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยกันได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กมีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 95 (วัดจากการติดตามในคลินิก WBC)
2. ผู้ปกครองเด็กมีส่วนร่วมและเห็นความสำคัญในเรื่องพัฒนาการเด็กและสามารถเฝ้าระวังพัฒนาการช่วงอายุ 0- ปี ร้อยละ 30 (วัดจากการติดตามในคลินิก WBC)
1. อสม.มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการเฝ้าระวัง การติดตาม และการประเมินพัฒนาการเด็กร้อยละ 50
5.เด็กที่มีปัญหาด้านพัฒนาการ ได้รับการส่งต่อไปยัง รพ.สต.ท่าไทรทุกคน


>