กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฝาละมี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ รพ.สต.บ้านฝาละมี ตำบลฝาละมี ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฝาละมี

ชมรม ผู้สูงอายุ ร่มโพธิ์พัฒน์(บ้านฝาละมี)

1. นส.โสพิศภักดีบำรุง
2. นายเสริมน้อยแก้ว
3. น.ส.นิยม ณ พัทลุง
4. นางบุญพา พรหมแก้ว
5. นางทัศนีสุขบัวแก้ว

หมู่ที่ 1 และ หมู่ที่ 10 ต.ฝาละมี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันความก้าวหน้าด้านการแพทย์และสาธารณสุขส่งผลให้จำนวนและสัดส่วนของประชากร ผู้สูงอายุไทยเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยโครงสร้างประชากรผู้สูงอายุ พบว่า ปัจจุบันประเทศไทย (19 กันยายน 2557) มีประชากร 64.9224 ล้านคน มีจานวนประชากรผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เท่ากับ 10.02 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 15.43 จานวนประชากรผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป เท่ากับ 6.70 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 10.32 ซึ่งจากการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างประชากรของประเทศไทยที่ผ่านมา พบว่าสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นลาดับ โดยอัตราของประชากรผู้สูงอายุไทยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยในปี พ.ศ. 2553 มีสัดส่วนผู้สูงอายุ อยู่ที่ร้อยละ 10.7 ของประชากรรวม หรือ 7.02 ล้านคน และในปี 2555 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 12.8 ของประชากรรวม (8.3 ล้านคน) ปัจจุบันประเทศไทยมีสัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุ ร้อยละ14.7 (9.5 ล้านคน) และคาดการณ์ว่าในปี 2568 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุเกินกว่าร้อยละ 20 (14.4 ล้านคน) นั่นหมายถึงว่าประเทศไทยได้เป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society)
กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย ได้ดำเนินงานพัฒนาตำบลต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปัจจุบันการดำเนินงานตำบลต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวจึงเป็นกลไกขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุของกระทรวงสาธารณสุขเพื่อช่วยผลักดันการดำเนินงานของภาคส่วนต่างๆ ให้มีระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุทั้งในสถานบริการสุขภาพและในชุมชน โดยมีผู้สูงอายุกลุ่มที่พึ่งตนเองได้ ช่วยเหลือผู้อื่นชุมชน และสังคมได้ (ผู้สูงอายุกลุ่มที่ 1: ติดสังคม) รวมตัวกันเป็นชมรมผู้สูงอายุที่เข้มแข็งที่จะส่งเสริมสนับสนุน การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และดูแลผู้สูงอายุกลุ่มที่พึ่งตนเองได้บ้าง ช่วยเหลือตนเองได้บ้าง (ผู้สูงอายุกลุ่มที่ 2: ติดบ้าน) และผู้สูงอายุกลุ่มพึ่งตนเองไม่ได้ ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ พิการ หรือทุพพลภาพ (ผู้สูงอายุกลุ่มที่3 : ติดเตียง) ให้เป็นผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ
ชมรมผู้สูงอายุ ร่มโพธิ์พัฒน์(บ้านฝาละมี)ได้ตระหนักถึงคุณค่าและสุขภาพของผู้สูงอายุในพื้นที่ รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านฝาละมี รวมถึงเข้าใจ สภาพปัญหาต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในทุกๆด้านดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุรพ.สต.บ้านฝาละมี และจัดกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของผู้สูงอายุอำเภอปากพะยูน รวมถึงกลุ่มชมรมผู้สูงอายุในตำบลฝาละมีโดยเพิ่มแนวคิดในการดำเนินกิจกรรมเป็นแบบ “สังคมเพื่อคนทุกวัย และผู้สูงอายุยุคใหม่ ห่วงใยใส่ใจสุขภาพ” โดยมุ่งหวังให้เกิดการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองท้องถิ่น และหน่วยงานภาครัฐ ทั้งนี้ได้มุ่งเน้นในด้าน การส่งเสริมพัฒนาเกี่ยวกับสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจภูมิปัญญาของผู้สูงอายุและครอบครัว และเพื่อเป็นการส่งเสริมกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ การต่อยอด การพัฒนาผู้สูงอายุไปสู่เป้าหมาย ให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพทางสังคม ภูมิปัญญา เศรษฐกิจ และสุขภาพ โดยไม่เป็นภาระต่อสังคมและครอบครัวต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพ

เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการสุขภาพโดยได้รับการตรวจประเมินภาวะสุขภาพและสามารถดูแลตนเองได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ

50.00 95.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายและส่งเสริมสุขภาพจิต ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของผู้สูงอายุทั้งหมดในชุมชน

30.00 60.00
3 เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง และพัฒนาศักยภาพชมรมผู้สูงอายุ
  • มีการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องทุกเดือน อย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง
    -  ชมรมผู้สูงอายุผ่านเกณฑ์มาตรฐานชมรมผู้สูงอายุคุณภาพ
4.00 12.00
4 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิดเห็นทัศนะต่างๆ ร่วมกัน

เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิดเห็นทัศนะต่างๆ ร่วมกัน

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 120
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมประชุมผู้สูงอายุประจำเดือน

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมประชุมผู้สูงอายุประจำเดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมจัดกิจกรรมผู้สูงอายุประจำเดือน
          - ตรวจสุขภาพ,สภาวะสุขภาพ
           - การส่งเสริมการออกกำลังกาย
          - สวดมนต์,นั่งสมาธิ
            - ความรู้/การดูแลตนเอง/โรคผู้สูงอายุ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จัดกิจกรรมประชุมผู้สูงอายุประจำเดือน  เดือนละ  1 ครั้ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 การจัดกิจกรรมสร้างสุขภาพในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
การจัดกิจกรรมสร้างสุขภาพในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การจัดกิจกรรมสร้างสุขภาพในชุมชน - กิจกรรมค้นหาผู้สูงอายุสุขภาพดี - กิจกรรมเพื่อนเยี่ยมเพื่อน - ผู้สูงอายุได้รับการเยี่ยม ทุกราย เป็นค่าใช้จ่าย- ค่าของประกาศนียบัตร และรางวัลผู้สูงอายุ ต้นแบบ จำนวน 5 รางวัล ๆ 500 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท - ค่าวัสดุบริโภคผู้สูงอายุ กลุ่มเปราะบาง จำนวน 3000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุ สุขภาพดี ต้นแบบ  จำนวน  40 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5500.00

กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมรดน้ำผู้สูงอายุในวันผู้สูงอายุแห่งชาติ

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมรดน้ำผู้สูงอายุในวันผู้สูงอายุแห่งชาติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมรดน้ำผู้สูงอายุในวันผู้สูงอายุแห่งชาติ จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพกายและจิตผู้สูงอายุในวันผู้สูงอายุ - ตรวจประเมินภาวะสุขภาพจิตผู้สูงอายุ - ให้ความรู้การส่งเสริมสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ มีค่าใช้จ่ายดังนี้-ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 100 คน ๆ ละ 25 บาทต่อมื้อจำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท - ค่าสมนาคุณตอบแทนวิทยากรจำนวน 3 ชั่วโมงๆ 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท- ค่าวัสดุ อุปกรณ์ การจัดทำโครงการเป็นเงิน 4,000 บาท - ค่าจัดทำป้ายไวนิลขนาด 2x3 ตร.ม.x200 จำนวน 1 ป้าย ป้ายละ 900 บาท เป็นเงิน 900 บาท-ค่าเช่าเหมาเต้น โต๊ะเก้าอี้ การจัดกิจกรรมจำนวน 3000 บาท - ค่าเช่าเหมาเครื่องเสียง จำนวน 2000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 เมษายน 2566 ถึง 17 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จัดกิจกรรมรดน้ำผู้สูงอายุในวันผู้สูงอายุแห่งชาติ  100 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทั้งด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ
2. ชมรมผู้สูงอายุในอำเภอปากพะยูน ให้ผ่านเกณฑ์ชมรมผู้สูงอายุคุณภาพ
3. ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิดเห็นทัศนะต่างๆ ร่วมกัน


>