กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ รพ.สต.บ้านฝาละมี ตำบลฝาละมี ประจำปี 2566
รหัสโครงการ L3338-02-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม ผู้สูงอายุ ร่มโพธิ์พัฒน์(บ้านฝาละมี)
วันที่อนุมัติ 16 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 18,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวโสพิศ ภักดีบำรุง
พี่เลี้ยงโครงการ นายเสงี่ยม ศรีทวี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันความก้าวหน้าด้านการแพทย์และสาธารณสุขส่งผลให้จำนวนและสัดส่วนของประชากร ผู้สูงอายุไทยเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยโครงสร้างประชากรผู้สูงอายุ พบว่า ปัจจุบันประเทศไทย (19 กันยายน 2557) มีประชากร 64.9224 ล้านคน มีจานวนประชากรผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เท่ากับ 10.02 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 15.43 จานวนประชากรผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป เท่ากับ 6.70 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 10.32 ซึ่งจากการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างประชากรของประเทศไทยที่ผ่านมา พบว่าสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นลาดับ โดยอัตราของประชากรผู้สูงอายุไทยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยในปี พ.ศ. 2553 มีสัดส่วนผู้สูงอายุ อยู่ที่ร้อยละ 10.7 ของประชากรรวม หรือ 7.02 ล้านคน และในปี 2555 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 12.8 ของประชากรรวม (8.3 ล้านคน) ปัจจุบันประเทศไทยมีสัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุ ร้อยละ14.7 (9.5 ล้านคน) และคาดการณ์ว่าในปี 2568 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุเกินกว่าร้อยละ 20 (14.4 ล้านคน) นั่นหมายถึงว่าประเทศไทยได้เป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society)
กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย ได้ดำเนินงานพัฒนาตำบลต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปัจจุบันการดำเนินงานตำบลต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวจึงเป็นกลไกขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุของกระทรวงสาธารณสุขเพื่อช่วยผลักดันการดำเนินงานของภาคส่วนต่างๆ ให้มีระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุทั้งในสถานบริการสุขภาพและในชุมชน โดยมีผู้สูงอายุกลุ่มที่พึ่งตนเองได้ ช่วยเหลือผู้อื่นชุมชน และสังคมได้ (ผู้สูงอายุกลุ่มที่ 1: ติดสังคม) รวมตัวกันเป็นชมรมผู้สูงอายุที่เข้มแข็งที่จะส่งเสริมสนับสนุน การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และดูแลผู้สูงอายุกลุ่มที่พึ่งตนเองได้บ้าง ช่วยเหลือตนเองได้บ้าง (ผู้สูงอายุกลุ่มที่ 2: ติดบ้าน) และผู้สูงอายุกลุ่มพึ่งตนเองไม่ได้ ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ พิการ หรือทุพพลภาพ (ผู้สูงอายุกลุ่มที่3 : ติดเตียง) ให้เป็นผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ ชมรมผู้สูงอายุ ร่มโพธิ์พัฒน์(บ้านฝาละมี)ได้ตระหนักถึงคุณค่าและสุขภาพของผู้สูงอายุในพื้นที่ รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านฝาละมี รวมถึงเข้าใจ สภาพปัญหาต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในทุกๆด้านดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุรพ.สต.บ้านฝาละมี และจัดกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของผู้สูงอายุอำเภอปากพะยูน รวมถึงกลุ่มชมรมผู้สูงอายุในตำบลฝาละมีโดยเพิ่มแนวคิดในการดำเนินกิจกรรมเป็นแบบ “สังคมเพื่อคนทุกวัย และผู้สูงอายุยุคใหม่ ห่วงใยใส่ใจสุขภาพ” โดยมุ่งหวังให้เกิดการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองท้องถิ่น และหน่วยงานภาครัฐ ทั้งนี้ได้มุ่งเน้นในด้าน การส่งเสริมพัฒนาเกี่ยวกับสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจภูมิปัญญาของผู้สูงอายุและครอบครัว และเพื่อเป็นการส่งเสริมกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ การต่อยอด การพัฒนาผู้สูงอายุไปสู่เป้าหมาย ให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพทางสังคม ภูมิปัญญา เศรษฐกิจ และสุขภาพ โดยไม่เป็นภาระต่อสังคมและครอบครัวต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพ

เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการสุขภาพโดยได้รับการตรวจประเมินภาวะสุขภาพและสามารถดูแลตนเองได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ

50.00 95.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายและส่งเสริมสุขภาพจิต ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของผู้สูงอายุทั้งหมดในชุมชน

30.00 60.00
3 เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง และพัฒนาศักยภาพชมรมผู้สูงอายุ
  • มีการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องทุกเดือน อย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง
    -  ชมรมผู้สูงอายุผ่านเกณฑ์มาตรฐานชมรมผู้สูงอายุคุณภาพ
4.00 12.00
4 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิดเห็นทัศนะต่างๆ ร่วมกัน

เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิดเห็นทัศนะต่างๆ ร่วมกัน

50.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 18,800.00 3 18,800.00
1 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 จัดกิจกรรมประชุมผู้สูงอายุประจำเดือน 0 0.00 0.00
1 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 การจัดกิจกรรมสร้างสุขภาพในชุมชน 0 5,500.00 5,500.00
13 - 17 เม.ย. 66 จัดกิจกรรมรดน้ำผู้สูงอายุในวันผู้สูงอายุแห่งชาติ 0 13,300.00 13,300.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทั้งด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ 2. ชมรมผู้สูงอายุในอำเภอปากพะยูน ให้ผ่านเกณฑ์ชมรมผู้สูงอายุคุณภาพ 3. ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิดเห็นทัศนะต่างๆ ร่วมกัน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2566 00:00 น.