กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการประชารัฐร่วมใจลดภัยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ในชุมชนเสรี (ประเภท 2)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

แกนนำสุขภาพชุมชนเสรี
1. นางสาวปราณี พงษ์วิฑูล
2. นายสมชายแสงศรี
3. นางสาวซาฟีย๊ะห์ไทยสนิท
4. นายสมาน เจ๊ะโซ๊ะ
5. นางสาวฟาตีเมาะดอเลาะ

ชุมชนเสรี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาสุขภาพประชาชนที่มีความเสี่ยงมักเกิดจากความเคยชินจากพฤติกรรมสุขภาพที่ติดตัวมาตั้งแต่ช่วงวัยกลางคน ซึ่งการละเลยการดูแลสุขภาพร่างกายในขณะที่ถูกใช้งานอย่างหนัก ทำให้เกิดการสะสมหรือก่อตัวของโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคอ้วนลงพุง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งการป้องกันโรคในประชาชนที่มีความเสี่ยงแม้ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาเพื่อส่งเสริมไม่ให้มีการเกิดโรคขึ้น แต่เมื่อก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุและมีโรคเรื้อรังเกิดขึ้นแล้ว จึงจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันสุขภาพไม่ให้เกิดโรคในระยะยาวและป้องกันโรคเรื้อรังที่อาจจะเกิดขึ้นใหม่
การออกกำลังกายมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ เช่น ทำให้ร่างกายแข็งแรง ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ช่วยผ่อนคลายความเครียดทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า นอนหลับสบาย มีสุขภาพดีขึ้น แต่ในปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมมีมากขึ้น มนุษย์ได้มีการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต การใช้กล้ามเนื้อและพลังกายลดลงทำให้สมรรถภาพร่างกายและคุณภาพการปฏิบัติงานในหน้าที่ลดลงตามไปด้วย นอกจากนี้ตามรายงานการค้นคว้าทางการแพทย์ยืนยันว่า บุรี่ สุรา และสิ่งเสพติดต่างๆ มีส่วน บันทอนสุขภาพร่างกาย ในทางตรงกันข้าม การออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬาเพียงวันละ 30 นาที และงดสิ่งเสพติดทั้งหลาย จะช่วยทำให้สมรรถภาพร่างกาย สมบูรณ์ แข็งแรง อีกทั้งยังลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน แลไขมันในเลือดสูง ตามนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาพดี ภายใต้ยุทธศาสตร์แห่งชาติ "รวมพลังสร้างสุขภาพ เพื่อคนไทยแข็งแรงเมืองไทยแข็งแรง"
จากรายงานสถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้องรังในเขตเทศบาลนครยะลา ประจำปี 2565 พบว่าอัตราป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดต่อประชากร (Cardiovascular disease) ในกลุ่มอายุ 50-59 ปี จำนวน 54 คน คิดเป็นร้อยละ 0.86 กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 255 คน คิดเป็นร้อยละ 3.15 อัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงต่อประชากร กลุ่มอายุ 50-59 จำนวน 1,399 คน คิดเป็นร้อยละ 22.21 กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 4,094 คน คิดเป็นร้อยละ 50.51 อัตราการป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มอายุ 50-59 จำนวน 68 คน คิดเป็นร้อยละ 1.08 กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 305 คน คิดเป็นร้อยละ 3.76 อัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน กลุ่มอายุ 50-59 ปี จำนวน 626 คนคิดเป็นร้อยละ 9.94 กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 1,669 คน คิดเป็นร้อยละ 20.59 (ฐานข้อมูลจาก HDC จังหวัดยะลา ปี 2565) และจากการลงสำรวจ 5 อันดับโรคที่พบบ่อยในชุมชนเสรี พบว่า โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 48.44 โรคเบาหวาน ร้อยละ 32.51 โรคไขมันในเส้นเลือดสูง 7.43 โรคหลอดเลือดในสมอง ร้อยละ 5.52 และโรคหัวใจร้อยละ 3.6 และได้ดำเนินการประชาคมกับคนในชุมชน โดยมีการประชาคมถึงปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข ซึ่งเป็นปัญหาของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ดังนั้นแกนนำสุขภาพชุมชนเสรี จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการประชารัฐร่วมใจลดภัยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs ชุมชนเสรี ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้และสามารถนำความรู้มาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและลดภาวะแทรกซ้อนของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้องรัง (NCDs) เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน เป็นต้น เข้าร่วมโครงการและมีความรู้เกี่ยวในการเฝ้าระวัง ป้องกันโรค โรคเรื้องรัง (NCDs) ในชุมชนเสรี
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 100
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงร้อยละ 80
0.00
2 2. เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่
  1. จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ลดลงร้อยละ 3
0.00
3 3. เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในประชาชนทั่วไปและผู้สูงอายุ
  1. ร้อยละ 60 ของประชาชนอายุ 16-59 ปี มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
  2. ร้อยละ 60 ของผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
0.00
4 4. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อโครงการ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อโครงการ ร้อยละ 80
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง (NCDs) เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น จำนวน 40 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง (NCDs) เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น จำนวน 40 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 1 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11145.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมการออกกำลังกาย ระยะเวลา 1 เดือน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมการออกกำลังกาย ระยะเวลา 1 เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มีนาคม 2566 ถึง 4 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,145.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในชุมชนเสรี มีความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)
2.ลดจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่
3.ประชาชนในชุมชนมีการทำกิจกรรมทางกายร่วมกัน มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง


>