กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการประชารัฐร่วมใจลดภัยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ในชุมชนเสรี (ประเภท 2)
รหัสโครงการ 66 – L7452 – 2 - 5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ แกนนำสุขภาพชุมชนเสรี
วันที่อนุมัติ 27 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 11,145.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปราณี พงษ์วิฑูล แกนนำสุขภาพชุมชนเสรี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพประชาชนที่มีความเสี่ยงมักเกิดจากความเคยชินจากพฤติกรรมสุขภาพที่ติดตัวมาตั้งแต่ช่วงวัยกลางคน ซึ่งการละเลยการดูแลสุขภาพร่างกายในขณะที่ถูกใช้งานอย่างหนัก ทำให้เกิดการสะสมหรือก่อตัวของโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคอ้วนลงพุง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งการป้องกันโรคในประชาชนที่มีความเสี่ยงแม้ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาเพื่อส่งเสริมไม่ให้มีการเกิดโรคขึ้น แต่เมื่อก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุและมีโรคเรื้อรังเกิดขึ้นแล้ว จึงจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันสุขภาพไม่ให้เกิดโรคในระยะยาวและป้องกันโรคเรื้อรังที่อาจจะเกิดขึ้นใหม่ การออกกำลังกายมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ เช่น ทำให้ร่างกายแข็งแรง ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ช่วยผ่อนคลายความเครียดทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า นอนหลับสบาย มีสุขภาพดีขึ้น แต่ในปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมมีมากขึ้น มนุษย์ได้มีการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต การใช้กล้ามเนื้อและพลังกายลดลงทำให้สมรรถภาพร่างกายและคุณภาพการปฏิบัติงานในหน้าที่ลดลงตามไปด้วย นอกจากนี้ตามรายงานการค้นคว้าทางการแพทย์ยืนยันว่า บุรี่ สุรา และสิ่งเสพติดต่างๆ มีส่วน บันทอนสุขภาพร่างกาย ในทางตรงกันข้าม การออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬาเพียงวันละ 30 นาที และงดสิ่งเสพติดทั้งหลาย จะช่วยทำให้สมรรถภาพร่างกาย สมบูรณ์ แข็งแรง อีกทั้งยังลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน แลไขมันในเลือดสูง ตามนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาพดี ภายใต้ยุทธศาสตร์แห่งชาติ "รวมพลังสร้างสุขภาพ เพื่อคนไทยแข็งแรงเมืองไทยแข็งแรง" จากรายงานสถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้องรังในเขตเทศบาลนครยะลา ประจำปี 2565 พบว่าอัตราป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดต่อประชากร (Cardiovascular disease) ในกลุ่มอายุ 50-59 ปี จำนวน 54 คน คิดเป็นร้อยละ 0.86 กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 255 คน คิดเป็นร้อยละ 3.15 อัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงต่อประชากร กลุ่มอายุ 50-59 จำนวน 1,399 คน คิดเป็นร้อยละ 22.21 กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 4,094 คน คิดเป็นร้อยละ 50.51 อัตราการป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มอายุ 50-59 จำนวน 68 คน คิดเป็นร้อยละ 1.08 กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 305 คน คิดเป็นร้อยละ 3.76 อัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน กลุ่มอายุ 50-59 ปี จำนวน 626 คนคิดเป็นร้อยละ 9.94 กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 1,669 คน คิดเป็นร้อยละ 20.59 (ฐานข้อมูลจาก HDC จังหวัดยะลา ปี 2565) และจากการลงสำรวจ 5 อันดับโรคที่พบบ่อยในชุมชนเสรี พบว่า โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 48.44 โรคเบาหวาน ร้อยละ 32.51 โรคไขมันในเส้นเลือดสูง 7.43 โรคหลอดเลือดในสมอง ร้อยละ 5.52 และโรคหัวใจร้อยละ 3.6 และได้ดำเนินการประชาคมกับคนในชุมชน โดยมีการประชาคมถึงปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข ซึ่งเป็นปัญหาของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ดังนั้นแกนนำสุขภาพชุมชนเสรี จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการประชารัฐร่วมใจลดภัยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs ชุมชนเสรี ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้และสามารถนำความรู้มาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและลดภาวะแทรกซ้อนของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้องรัง (NCDs) เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน เป็นต้น เข้าร่วมโครงการและมีความรู้เกี่ยวในการเฝ้าระวัง ป้องกันโรค โรคเรื้องรัง (NCDs) ในชุมชนเสรี
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 100
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงร้อยละ 80
0.00
2 2. เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่
  1. จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ลดลงร้อยละ 3
0.00
3 3. เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในประชาชนทั่วไปและผู้สูงอายุ
  1. ร้อยละ 60 ของประชาชนอายุ 16-59 ปี มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
  2. ร้อยละ 60 ของผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
0.00
4 4. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อโครงการ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อโครงการ ร้อยละ 80
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 11,145.00 0 0.00
1 มี.ค. 66 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง (NCDs) เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น จำนวน 40 คน 0 11,145.00 -
2 มี.ค. 66 - 4 เม.ย. 66 กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมการออกกำลังกาย ระยะเวลา 1 เดือน 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในชุมชนเสรี มีความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) 2.ลดจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่
3.ประชาชนในชุมชนมีการทำกิจกรรมทางกายร่วมกัน มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2566 14:33 น.