กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตาลีอายร์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีด้วยการคัดแยกขยะและการบริหารจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตาลีอายร์

คณะกรรมการประจำมัสยิดการูบี หมู่ที่2 ตำบลตาลีอายร์

1. นายซอบือรีบินยะกูบ
2. นายยะยาดอเฮง
3. นายดอแมเจะเมาะ

บ้านปายอ หมู่ที่ 2 ตำบลตาลีอายร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยปัจจุบันปริมาณขยะในพื้นที่เพิ่มมากขึ้นตามพฤติกรรมการดำเนินชีวิตประจำวันที่เน้นความสะดวกมากขึ้นซึ่งในพื้นที่ไม่มีรถขยะ ไม่มีการจัดถังขยะผู้บริหารท้องถ่ินต้องการให้ประชาชนบริหารจัดการขยะกันเองด้วยการลดปริมาณขยะตามหลัก 3 ช. เน้นให้ประชาชนใช้ประโยชน์จากขยะแต่ละประเภทให้ได้มากที่สุดแต่ทั้งนี้ในบริเวณหมู่ที่2 ละแวกบ้านปายอ เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ประสบปัญหาด้านการจัดการขยะมูลฝอยเนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่ใช้วิธีการจัดการขยะมูลฝอยไม่ถูกวิธีไม่มีการคัดแยกขยะก่อนทิ้งโดยเฉพาะขยะอินทรีย์ที่มีการปะปนกับขยะประเภทอื่นๆ โดยที่ไม่ได้มีการคัดแยกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์แต่อย่างใดมีการทิ้งขยะบริเวณสองข้างทางโดยเฉพาะขยะถุงพลาสติกจนกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรคต่าง ๆส่งผลต่อสุขภาพประชาชนตามมาซึ่งในระยะเวลาสามปีที่ผ่านมามีสถิติการเกิดโรคไข้เลือดออกในละแวกนี้ ได้แก่ ปี พ.ศ. 2565จำนวน3คนปี พ.ศ. 2564จำนวน5 คนและปี พ.ศ. 2563 มีจำนวน3คน ดังนั้นทางคณะกรรมการประจำมัสยิดการูบี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการคัดแยกขยะและบริหารจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือนเพื่อสุขภาวะที่ดีของประชาชนในละแวกนี้จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสุขภาวะที่ดีของประชาชนในพื้นที่และลดแหล่งเพราะพันธ์ุเชื้อโรคและพาหะนำโรคต่างๆ

ในละแวกนี้สามารถลดสถิติการเกิดโรคไข้เลือดออกภายหลังเสร็จสิ้นการดำเนินโครงการ

5.00 2.00
2 2.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่มีความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะและการใช้ประโยชน์จากขยะแต่ละประเภทอย่างถูกต้อง

ตัวแทนครัวเรือนนำร่องมีความรู้ในการบริหารจัดการขยะและสามารถใช้ประโยชน์จากขยะแต่ละเภท

7.44 14.10
3 3. เพื่อให้เกิดการนำร่องในการริเริ่มการคัดแยกขยะและการใช้ถังขยะเปียกลดโลกร้อนในครัวเรือน

จำนวนครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะและทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน

8.64 15.29

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 27/02/2023

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้และทำข้อตกลงในการคัดแยกขยะร่วมกัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้และทำข้อตกลงในการคัดแยกขยะร่วมกัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะและการใช้ประโยชน์จากขยะแต่ละประเภท โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้ 1. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการขนาด 1.2x2.5 เมตร ราคาตารางเมตรละ 250บาท เป็นเงิน 750 บาท 2. ค่าอาหารกลางวันแก่ครัวเรือนนำร่องที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 คน ๆ ละ 50บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน 2,500บาท 3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มแก่ครัวเรือนนำร่องที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน2,500บาท 4. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คน ๆ ละ 2 ชั่วโมง ๆ ละ 600บาทเป็นเงิน 2,400บาท รวมงบประมาณสำหรับกิจกรรมนี้เป็นเงินทั้งสิ้น8,150บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มีนาคม 2566 ถึง 3 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครัวเรือนนำร่องที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะแต่ละประเภทและการใช้ประโยชน์จากขยะแต่ละประเภทอย่างถูกต้อง จำนวน 50 ครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8150.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนให้แก่ครัวเรือนนำร่อง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนให้แก่ครัวเรือนนำร่อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนให้แก่ครัวเรือนนำร่อง โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้ 1. จัดซื้อถังพลาสติกแบบมีฝาปิดขนาด 20 ลิตร จำนวน 50ใบ ๆ ละ 75บาทเป็นเงิน 3,750บาท รวมงบประมาณสำหรับกิจกรรมนี้เป็นเงินทั้งส้ิน3,750บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 มีนาคม 2566 ถึง 20 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครัวเรือนนำร่องที่เข้าร่วมโครงการมีการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนจำนวน  50  ครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3750.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามและประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามการครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการว่ามีการคัดแยกขยะในครัวเรือนและมีการจัดทำถังขยะเปียกหรือไม่ ติดตามการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือในการคัดแยกขยะในละแวกบ้านปายอ

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 เมษายน 2566 ถึง 25 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครัวเรื่อนในละแวกบ้านปายอจำนวน 50 ครัวเรือน มีการคัดแยกขยะและมีการจัดทำถังขยะเปียก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ทำให้ประชาชนในละแวกนี้มีสุขภาวะที่ดี สามารถลดสถิติการเกิดโรคไข้เลือดออกและสามารถใช้ประโยชน์จากปุ๋ยที่มาจากขยะอินทรีย์ (ถังขยะเปียก) ด้วยการปลูกผักสวนครัว
2.ประชาชนในละแวกนี้สามารถลดปริมาณขยะ คัดแยกขยะ นำขยะมาใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและลดภาวะโลกร้อนได้ในระดับหนึ่ง
3.เกิดการนำร่องในการริเริ่มการคัดแยกขยะและการใช้ถังขยะเปียกในครัวเรือนก่อนไปขยายผลต่อในหมู่บ้านต่อไป


>