กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลางา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ตรวจคัดกรองและตรวจยืนยันมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ใหญ่ตรงในกลุ่มเสี่ยงตำบลลางา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลางา

ชมรมแกนนำสร้างเสริมสุขภาพตามวิถีอัล-อิสลามลางา

ชื่อองค์กร ชมรมแกนนำสร้างเสริมสุขภาพตามวิถีอัล-อิสลามลางา
1.นางสาวอารีนาอาแว หัวหน้าโครงการ
2.นางนิสากูมาแขกปาทานการเงินโครงการ
3.นางอาแอเส๊าะ มะประชาสัมพันธ์/ประสานงาน
4.นางสาวรอฮีม๊ะมามะ คณะทำงานโครงการ
5.นางไซนับสามะ คณะทำงานโครงการ
6.นางนายานาวาแม็งนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการที่ปรึกษาโครงการ

ตำบลลางา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเป็นโรคมะเร็งที่พบเป็นอันดับสามในเพศชาย และเป็นอันดับสี่ในเพศ หญิง โดยในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงประมาณ 3,000 ราย โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเป็นโรคมะเร็งที่สามารถทำการตรวจหาได้ ตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรก ซึ่งสามารถทำการรักษาให้หายได้และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษามะเร็งในระยะ ลุกลาม นอกจากนี้ยังสามารถตรวจพบในระยะที่ยังไม่เป็นมะเร็งคือ Adenomas ซึ่งเมื่อทำการรักษาโดยการ ตัดทิ้งแล้วจะสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจึงมีนโยบายสนับสนุนให้ประชาชนอายุ 50 -70 ปี และผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอัตราการป่วยสูงได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง เพื่อให้ได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรกและเพื่อลดอัตราการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงในระยะลุกลาม การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเบื้องต้น สามารถตรวจโดยการตรวจเม็ดเลือดแดงแฝงในอุจจำระ ด้วยวิธีFecal Immunochemical Test (FIT) ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้กันในปัจจุบันเนื่องจากขั้นตอนในการเตรียม ตัวไม่ยุ่งยากซับซ้อน และสามารถทำการตรวจคัดกรองได้ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ชมรมแกนนำสร้างเสริมสุขภาพตามวิถีอัล-อิสลามลางาได้เล็งเห็นถึงปัญหาและความสำคัญของการป้องกันโดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง จึงร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลางา เสนอโครงการตรวจคัดกรอง มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงให้กับประชาชนที่มีออายุ 50-70 ปีขึ้นไป และผู้มีปัจจัยเสี่ยง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้คณะกรรมการชมรมฯ เครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) และประชาชนตำบลลางา มีความรู้เรื่องมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง และทักษะการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงด้วยวิธี Fit test และเพื่อให้ประชาชน อายุ50-70 ปี หรือผู้มีปัจจัยเสี่ยงได้รับการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง และส่งต่อในรายที่พบผลผิดปกติเพื่อลดอัตราการเกิดมะเร็งลำไส้ในระยะลุกลามต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้คณะกรรมการชมรมฯ เครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) มีความรู้เรื่องมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง และทักษะการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงด้วยวิธี Fit test

คณะกรรมการชมรมฯ เครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลลางา อย่างน้อยร้อยละ 90 มีความรู้เรื่องมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง และมีทักษะการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงด้วยวิธี Fit test

90.00 90.00
2 เพื่อค้นหาและป้องกันภาวะเสี่ยงจากมะเร็งลำไส้ใหญ่เพื่อให้ได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรกในกลุ่มประชากร อายุ 50-70 ปี และผู้มีปัจจัยเสี่ยง

ร้อยละ 50 ด้วยการสุ่มอย่างง่าย ของประชาชนอายุ 50-70 ปี และผู้มีปัจจัยเสี่ยง ตำบลลางา ได้รับการตรวจภาวะเสี่ยงจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยวิธี Fit Test

50.00 50.00
3 เพื่อให้ประชาชน อายุ 50-70 ปี และผู้มีปัจจัยเสี่ยง ที่มีผลการตรวจ Fit Test Positive ได้รับการส่งต่อ

ประชาชน อายุ 50-70 ปี และผู้มีปัจจัยเสี่ยง ที่มีผลการตรวจ Fit TestPositive ได้รับการส่งต่อทุกราย

70.00 70.00
4 เพื่อลดอัตราการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะลุกลาม

ประชาชนทีตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงที่มีผลผิดปกติได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ไม่เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ระยะลุกลาม

90.00 90.00

เพื่อให้คณะกรรมการชมรมฯ เครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) มีความรู้เรื่องมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง และทักษะการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงด้วยวิธี Fit test

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 500
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมทีมงานและเครือข่ายในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
ประชุมทีมงานและเครือข่ายในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เพื่อให้คณะกรรมการชมรมฯ เครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) มีความรู้เรื่องมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง และทักษะการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงด้วยวิธี Fit test -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน x 25 บาท x 1 มื้อเป็นเงิน 1,500 บาท รวมกิจกรรมที่ 1 เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทีมงานและเครือข่ายในพื้นที่มีสมรรถนะในการจัดการและวางแผนการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 2 แลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
แลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในทีม อสม.การพัฒนาทักษะเรื่องมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ,การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงด้วยวิธี Fit test - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 55 คน x 25 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 2,750 บาท -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 55 คน x 70 บาท x1 มื้อเป็นเงิน 3,850 บาท 2.2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง แก่ประชาชนอายุ 50-70 ปี และผู้มีปัจจัยเสี่ยง - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คน x 25 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 4,000 บาท -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คน x 70 บาท x1 มื้อเป็นเงิน 5,600 บาท - ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง x 600บาท เป็นเงิน 3,600 บาท -ค่าวัสดุที่เป็นเงิน 1,630 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชน อายุ 50-70 ปี และผู้มีปัจจัยเสี่ยง ที่มีผลการตรวจ Fit TestPositive ได้รับการส่งต่อทุกราย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21430.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ออกพื้นที่ให้ดำเนินกิจกรรมตรวจคัดกรอง -ค่าชุดตรวจ Fit Test 500 ชุด x 16 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท -ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงแก่คณะกรรมการชมรมฯ, อสม.ในการติดตามกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 110 ลิตร x 37 บาท เป็นเงิน 4,070 บาท รวมกิจกรรมที่ 3 เป็นเงิน 12,070 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชน อายุ 50-70 ปี และผู้มีปัจจัยเสี่ยง ที่มีผลการตรวจ Fit Test  Positive ได้รับการส่งต่อทุกราย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12070.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1คณะกรรมการชมรมฯ เครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) มีความรู้เรื่องมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง มีทักษะการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงด้วยวิธี Fit test
2. ประชาชน อายุ 50-70 ปี และผู้มีปัจจัยเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองและตรวจยืนยันมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ใหญ่ตรงเมื่อตรวจพบความผิดปกติได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก
3.ประชาชน อายุ 50-70 ปี และผู้มีปัจจัยเสี่ยง ที่มีผลการตรวจ Fit Test ผลเป็น บวก (Positive) ได้รับการส่งต่อทุกราย
4.สามารถลดอัตราการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะลุกลาม


>