กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฝากครรภ์ดี มีคุณภาพ ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบ

1.นางฮานีซะ แวสอเฮาะ
2.นางสาวซากียะห์ แวดาโอะ
3.นางสาวอามีเนาะ ลีเยาะบิง
4.นายมะโจฮัน สะวี
5.นางสาวฟาตีฮะ บือราเฮง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

 

56.96
2 ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

 

70.00
3 จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น(อายุน้อยกว่า 20 ปี) (คน)

 

9.06
4 ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่มีภาวะซีด

 

12.00
5 ร้อยละเด็กแรกเกิดน้ำหนักน้อย 2,500 กรัม

 

6.67
6 ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ในสถานบริการ (รพ.)

 

90.00

การฝากครรภ์เป็นหนึ่งในบริการอนามัยแม่และเด็ก เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน อย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ จนกระทั่งคลอด องค์การอนามัยโลกและกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้ หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์คุณภพอย่างน้อย 5 ครั้ง จากบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข และ ควรฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ เพื่อลดปัญหาภาวะแทรกซ้อนและอัตราตายของมารดาและ ทารก การฝากครรภ์ช้ามีผลต่อสุขภาพแม่และเด็ก เนื่องจากการที่หญิงตั้งครรภ์ได้รับการประเมินภาวะเสี่ยง และการการดูแลตามมาตรฐานการฝากครรภ์ช้า จะส่งผลให้เกิดภาวะเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ นอกจากนี้ในภาวะตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์จะเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ อารมณ์ และ สังคม ทำให้หญิงตั้งครรภ์มีความไม่สุขสบายและมีความวิตกกังวลได้
ในปีงบประมาณ 2563-2565 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบมีหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์เฉลี่ย 40-50 ราย/ปีฝาก ครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ ปี 2563 เพียง 36 ราย (ร้อยละ 72.00) ปี 2564 เพียง 36 ราย(ร้อยละ 75.00) และปี 2565 เพียง 31(ร้อยละ 65.96)ซึ่งเกณฑ์ตัวชี้วัด ยุทธศาสตร์ คือร้อยละ 80 และเป็นการตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงหลายด้าน ได้แก่ มารดามีเบาหวานขณะ ตั้งครรภ์เฉลี่ย 4-5 ราย/ปีตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปี 1-2 ราย/ปีตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า 20 ปี 1-2 ราย/ปีซึ่งมารดาที่ตั้งครรภ์ในช่วงวัยรุ่นยังขาดความรู้และประสบการณ์ในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการทางสมอง และระบบประสาทของเด็ก ส่งผลให้เด็ก มีปัญหาด้านพัฒนาการ สติปัญญา พฤติกรรมและอารมณ์ตามมา รวมถึงกระทบต่อปัญหาสุขภาพและจิต สังคมของแม่วัยรุ่นเอง
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบจึงเห็นความสำคัญของการที่ต้องจัดอบรมให้ความรู้และ ประชาสัมพันธ์ให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์โดยเร็ว เพื่อประเมินปัญหาและดูแลหญิงตั้งครรภ์ให้ดีมีคุณภาพ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย รวมถึงให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นให้เตรียมความพร้อมในการเป็นมารดาที่ดี สามารถเลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาภายหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

ร้อยละ 90

56.96 90.00
2 เพื่อหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อนคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์

ร้อยละ 90

70.00 90.00
3 เพื่อหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์มีอายุ 20 ปีขึ้นไป

ร้อยละ 100

9.09 100.00
4 เพื่อหญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีดลดลง

ร้อยละ 90

12.00 90.00
5 เพื่อให้เด็ดแรกเกิดน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม

ร้อยละ 100

6.67 100.00
6 หญิงตั้งครรภ์คลอดในสถานบริการ (รพ.)

ร้อยละ 100

90.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดทำโครงการเพื่อเสนออนุมัติโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบ

ชื่อกิจกรรม
จัดทำโครงการเพื่อเสนออนุมัติโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 แลกเปลี่ยน เรียนรู้ หญิงตั้งครรภ์เกี่ยวกับการฝากครรภ์ดี มีคุณภาพ แม่ลูกปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
แลกเปลี่ยน เรียนรู้ หญิงตั้งครรภ์เกี่ยวกับการฝากครรภ์ดี มีคุณภาพ แม่ลูกปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม2มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 90 คน เป็นเงิน4,500 บาท -ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆละ 50 บาท จำนวน 90 คนเป็นเงิน 4,500บาท-ค่าจัด ป้ายโครงการขนาด1.2 x 3 เมตร เป็นเงิน 720บาท-ค่าเอกสารประกอบการเรียนรู้ 90 ชุดๆละ 30 บาท เป็นเงิน 2,700 บาท - ค่าวัสดุ เป็นเงิน 2,580 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

กิจกรรมที่ 3 อสม.สำรวจคู่สมรสใหม่ และติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่ขาดนัดในเขตรับผิดชอบทุกเดือน

ชื่อกิจกรรม
อสม.สำรวจคู่สมรสใหม่ และติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่ขาดนัดในเขตรับผิดชอบทุกเดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง และเยี่ยมหลังคลอดร่วมกับ อสม.ในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง และเยี่ยมหลังคลอดร่วมกับ อสม.ในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 สรุปและประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปและประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อัตราการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์เพิ่มขึ้น
2. เด็กแรกเกิดมีน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม
3. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ก่อนคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์
4. หญิงตั้งครรภ์คลอดในสถานบริการเพิ่มขึ้น
5. หญิงตั้งครรภ์ อายุต่ำกว่า 20 ปี และอายุมากกว่า 35 ลดลง
6. ภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ลดลง


>