กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการให้ความรู้ เฝ้าระวัง คัดกรอง โรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี ปีงบประมาณ ๒๕๖๖

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะแนะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการให้ความรู้ เฝ้าระวัง คัดกรอง โรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี ปีงบประมาณ ๒๕๖๖

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะแนะ

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอจะแนะ

หมู่ที่1-หมูที่11 ตำบลจะแนะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์ของโรคตับอักเสบทั่วโลก จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก พบผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังประมาณ ๒๕๗ ล้านคน และผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังประมาณ ๗๑ ล้านคน สถานการณ์ในประเทศไทย พบผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ประมาณ ๒.๒-๓ ล้านคน และผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ประมาณ ๘ แสนคน พบมากในผู้ที่มีอายุ ๓๐ ปีขึ้นไป และพบอัตราการเสียชีวิตมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
โรคไวรัสตับอักเสบ บี และซี สามารถติดต่อผ่านทางเลือดและสารคัดหลั่ง การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย สำหรับโรคไวรัสตับอักเสบบี สามารถติดต่อจากแม่สู่ลูกได้ทั้งนี้ โรคไวรัสตับอักเสบบี มีวัคซีนในการป้องกัน หากมีพฤติกรรมเสี่ยงให้รีบไปตรวจคัดกรองโดยเร็ว สำหรับหญิงตั้งครรภ์ ควรรีบมาฝากครรภ์ และรับการตรวจหาโรคไวรัสตับอักเสบบี เพื่อลดการถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันได้มีการใช้วัคซีนเพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในเด็กแรกเกิดทุกคน เพื่อป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี แต่สำหรับประชาชนที่เกิดก่อนปี ๒๕๓๕ ควรตรวจหาภูมิคุ้มกันโรคไวรัสตับอักเสบบี หากไม่มีภูมิคุ้มกัน แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี ให้ครบชุด จำนวน ๓ เข็ม ซึ่งจะป้องกันไวรัสตับอักเสบบี และลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ได้ส่วนโรคไวรัสตับอักเสบซี ไม่มีวัคซีนในการป้องกัน แต่สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการทานยาต้านไวรัสให้ครบ ๑๒ สัปดาห์ ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ควรเข้ารับบริการตรวจคัดกรองและรักษาโดยเร็ว
ทั้งนี้ หากประชาชนมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคไวรัสตับอักเสบบีและซี ให้เข้ารับการคัดกรองและเข้าสู่ระบบริการรักษาโดยเร็ว เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคไวรัสตับอักเสบบีและซี ภาวะตับแข็ง และโรคมะเร็งตับ เพื่อนำไปสู่การกำจัดโรคไวรัสตับอักเสบบีและซีให้หมดไปภายในปี ๒๕๗๓ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอจะแนะ ได้เห็นความสำคัญของโครงการให้ความรู้ เฝ้าระวัง คัดกรอง โรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี ปี ๒๕๖๖ เพื่อหาแนวทางการดำเนินงานตรวจคัดกรองการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี ในประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยง เพื่อส่งต่อเข้าสู่ระบบการรักษาต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และการป้องกันโรคไวรัสตับอับเสบ บี และ ซี ๒. เพื่อให้ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองโรคไวรัสตับอับเสบ บี และ ซีและได้รายงานผลการ คัดกรองผ่านระบบออนไลน์ http://hepbc.moph.go.th ๓. เพื่อค้นหาผู้ติดเชื้อรายใหม่ ให้ได้รับการรักษาหรือส่งต่อเพื่อการรักษาที่เหมาะสม

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 88
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 319
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 22/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/05/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้และการคัดกรอง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และการคัดกรอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณจาก กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลจะแนะ เป็นจำนวนเงิน ๑๗๐,๑๘๔ บาท (หนึ่งแสนเจ็ดหมื่นหนึ่งร้อยแปดสิบสี่บาทถ้วน) โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 

กิจกรรมที่ ๑ อบรมให้ความรู้แก่ประชาชน จำนวน ๖ กลุ่ม ดังนี้     ๑.๑ กลุ่มแม่บ้าน หมู่ละ ๕ คน     -ค่าอาหารกลางวัน ๕๕ คน × ๖๐ บาท × ๑ มื้อ            เป็นเงิน    ๓,๓๐๐  บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๕๕ คน × ๓๐ บาท × ๒ มื้อ    เป็นเงิน    ๓,๓๐๐  บาท     -ค่าพาหนะ ๕๕ คน × ๕๐ บาท                    เป็นเงิน    ๒,๗๕๐  บาท -ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ ๖๐๐ บาท × ๖ ชั่วโมง        เป็นเงิน  ๓,๖๐๐  บาท -ค่าวัสดุอุปกรณ์ ในกิจกรรมอบรม
    กระเป๋าเป้ ๕๕ ใบ × ๙๕ บาท              เป็นเงิน ๕,๒๒๕  บาท     สมุดโน้ต ๕๕ เล่ม × ๒๐ บาท              เป็นเงิน  ๑,๑๐๐ บาท     ปากกา ๕๕ ด้าม × ๑๐ บาท              เป็นเงิน   ๕๕๐   บาท -ป้ายประชาสัมพันธ์ (ไวนิล) ๑.๕ เมตร × ๓ เมตร                  เป็นเงิน ๑,๑๒๕  บาท             รวมเป็นเงิน ๒๐,๙๕๐ บาท (สองหมื่นเก้าร้อยห้าสิบบาทถ้วน)

  ๑.๒ ผู้นำศาสนา และผู้นำชุมชนหมู่บ้านละ ๖ คน
    - ค่าอาหารกลางวัน ๖๖ คน × ๖๐ บาท × ๑ มื้อ          เป็นเงิน    ๓,๙๖๐  บาท     - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๖๖ คน × ๓๐ บาท × ๒ มื้อ        เป็นเงิน    ๓,๙๖๐  บาท     - ค่าพาหนะ ๖๖ คน × ๕๐ บาท                  เป็นเงิน    ๓,๓๐๐  บาท     - ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ ๖๐๐ บาท × ๖ ชั่วโมง        เป็นเงิน  ๓,๖๐๐  บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์
    กระเป๋าเป้ ๖๖ ใบ × ๙๕ บาท              เป็นเงิน   ๖,๒๗๐ บาท     สมุดโน้ต ๖๖ เล่ม × ๒๐ บาท              เป็นเงิน   ๑,๓๒๐ บาท     ปากกา ๖๖ ด้าม × ๑๐ บาท              เป็นเงิน    ๖๖๐   บาท     กระดาษซาลาเปา โหลละ ๘๐ บาท × ๕ โหล      เป็นเงิน     ๔๐๐  บาท     ปากกาเคมีสีน้ำเงิน,แดง,ดำ โหลละ ๑๘๐ บาท × ๓ โหล เป็นเงิน     ๕๔๐  บาท             รวมเป็นเงิน ๒๔,๐๑๐ บาท (สองหมื่นสี่พันสิบบาทถ้วน)

๑.๓ ครูสอนศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด หมู่บ้านละ ๕ คน
    - ค่าอาหารกลางวัน ๕๕ คน × ๖๐ บาท × ๑ มื้อ          เป็นเงิน    ๓,๓๐๐  บาท     - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๕๕ คน × ๓๐ บาท × ๒ มื้อ        เป็นเงิน    ๓,๓๐๐  บาท     - ค่าพาหนะ ๕๕ คน × ๕๐ บาท                  เป็นเงิน    ๒,๗๕๐  บาท     - ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ ๖๐๐ บาท × ๖ ชั่วโมง        เป็นเงิน  ๓,๖๐๐  บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์
    กระเป๋าเป้ ๕๕ ใบ × ๙๕ บาท              เป็นเงิน   ๕,๒๒๕ บาท     สมุดโน้ต ๕๕ เล่ม × ๒๐ บาท              เป็นเงิน   ๑,๑๐๐ บาท     ปากกา ๕๕ ด้าม × ๑๐ บาท              เป็นเงิน    ๕๕๐   บาท     กระดาษซาลาเปา โหลละ ๘๐ บาท × ๕ โหล      เป็นเงิน     ๔๐๐  บาท             รวมเป็นเงิน ๒๐,๒๒๕ บาท (สองหมื่นสองร้อยยี่สิบห้าบาทถ้วน)

๑.๔ ประชาชนทั่วไปหมู่บ้านละ ๘ คน
     - ค่าอาหารกลางวัน ๘๘ คน × ๖๐ บาท × ๑ มื้อ          เป็นเงิน    ๕,๒๘๐  บาท     - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๘๘ คน × ๓๐ บาท × ๒ มื้อ        เป็นเงิน    ๕,๒๘๐  บาท     - ค่าพาหนะ ๘๘ คน × ๕๐ บาท                  เป็นเงิน    ๔,๔๐๐  บาท     - ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ ๖๐๐ บาท × ๖ ชั่วโมง        เป็นเงิน  ๓,๖๐๐  บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์
    กระเป๋าเป้ ๘๘ ใบ × ๙๕ บาท              เป็นเงิน   ๘,๓๖๐ บาท     สมุดโน้ต ๘๘ เล่ม × ๒๐ บาท              เป็นเงิน   ๑,๗๖๐ บาท     ปากกา ๘๘ ด้าม × ๑๐ บาท              เป็นเงิน    ๘๘๐   บาท         รวมเป็นเงิน ๒๙,๕๖๐ บาท (สองหมื่นเก้าพันห้าร้อยหกสิบบาทถ้วน)

๑.๕ อาสาสมัครประจำหมู่บ้านหมู่บ้านละ ๕ คน
    - ค่าอาหารกลางวัน ๕๕ คน × ๖๐ บาท × ๑ มื้อ          เป็นเงิน    ๓,๓๐๐  บาท     - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๕๕ คน × ๓๐ บาท × ๒ มื้อ        เป็นเงิน    ๓,๓๐๐  บาท     - ค่าพาหนะ ๕๕ คน × ๕๐ บาท                  เป็นเงิน    ๒,๗๕๐  บาท     - ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ ๖๐๐ บาท × ๖ ชั่วโมง        เป็นเงิน  ๓,๖๐๐  บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์
    กระเป๋าเป้ ๕๕ ใบ × ๙๕ บาท              เป็นเงิน   ๕,๒๒๕ บาท     สมุดโน้ต ๕๕ เล่ม × ๒๐ บาท              เป็นเงิน   ๑,๑๐๐ บาท     ปากกา ๕๕ ด้าม × ๑๐ บาท              เป็นเงิน    ๕๕๐   บาท     สีระบาย ๑๐๐ บาท × ๕ ชุด            เป็นเงิน     ๕๐๐  บาท         รวมเป็นเงิน ๒๐,๓๒๕ บาท (สองหมื่นสามร้อยยี่สิบห้าบาทถ้วน) ๑.๖ แกนนำนักเรียน จำนวน ๖ โรงๆละ ๘ คน
    - ค่าอาหารกลางวัน ๘๘ คน × ๖๐ บาท × ๑ มื้อ          เป็นเงิน    ๕,๒๘๐  บาท     - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๘๘ คน × ๓๐ บาท × ๒ มื้อ        เป็นเงิน    ๕,๒๘๐  บาท     - ค่าพาหนะ ๘๘ คน × ๕๐ บาท                  เป็นเงิน    ๔,๔๐๐  บาท     - ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ ๖๐๐ บาท × ๖ ชั่วโมง        เป็นเงิน  ๓,๖๐๐  บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์
    กระเป๋าเป้ ๘๘ ใบ × ๙๕ บาท              เป็นเงิน   ๘,๓๖๐ บาท     สมุดโน้ต ๘๘ เล่ม × ๒๐ บาท              เป็นเงิน   ๑,๗๖๐ บาท     ปากกา ๘๘ ด้าม × ๑๐ บาท              เป็นเงิน    ๘๘๐   บาท     สีระบาย ๑๐๐ บาท × ๕ ชุด            เป็นเงิน     ๕๐๐  บาท                 รวมเป็นเงิน ๓๐,๐๖๐ บาท (สามหมื่นหกสิบบาทถ้วน) กิจกรรมที่ ๒ ตรวจคัดกรอง ซื้อวัสดุทางการแพทย์ ชุดทดสอบไวรัสตับอับเสบ บี และซี     ๒.๑ One Step HBsAg Card Test ๑,๖๐๐ บาท × ๙ กล่อง        เป็นเงิน ๑๔,๔๐๐ บาท     ๒.๒ เข็มเจาะเลือด ๕๙๗ บาท × ๕ กล่อง            เป็นเงิน  ๒,๙๘๕  บาท     ๒.๓ สำลีก้อนชุบ ๓๖๕ บาท × ๒๐ กล่อง              เป็นเงิน  ๗,๓๐๐  บาท     ๒.๔ ถุงมือยาง Nitriie ๑๘๐ บาท × ๒ กล่อง        เป็นเงิน   ๓๖๐    บาท                 รวมเป็นเงิน ๒๕,๐๕๔ บาท (สองหมื่นห้าพันห้าสิบสี่บาทถ้วน)         รวมทั้งสิ้น ๑๗๐,๑๘๔ บาท (หนึ่งแสนเจ็ดหมื่นสี่พันแปดร้อยยี่สิบห้าบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑. ประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ และการป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีและซี            ๒. ประชาชน กลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองไวรัสตับอักเสบบีและซี และได้รายงานผลการ
               คัดกรองผ่านระบบออนไลน์ http://hepbc.moph.go.th ๓. ประชาชน ที่มีผลตรวจเลือด เป็นบวก (positive) ให้รับการะส่งต่อเพื่อให้ได้รับการรักษา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
170184.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 170,184.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชน กลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองไวรัสตับอักเสบบีและซี และได้รายงานผลการ
คัดกรองผ่านระบบออนไลน์ http://hepbc.moph.go.th


>