กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เนินงาม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปลูกผักปลอดสารพิษข้างบ้าน อาหารปลอดภัยใสใจสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เนินงาม

กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านบือดอง

1.นางสาวมาลินี สุโก๊ะ
2.นางสาวเร๊าะเม๊าะแซซู
3.นางสาวหาซาน์ะ หามะ
4.นางสายเด๊าะ สุโก๊ะ
5.นางสาวอาอีเส๊าะมูน๊ะ

บ้านบือดองหมู่ที่ 4 ตำบลเนินงาม อำเภอรามัน จังหวัดยะล่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยสภาวะปัญหาเรื่องสุขภาพของประชาชนคนไทยเพิ่มทวีขึ้น ซึ่งเห็นได้จากสถิติของผู้ป่วยที่มารับบริการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และอัตราการป่วย จากโรคที่ไม่ติดต่อ เพิ่มสูงขึ้นโรงพยาบาลก็ต้องเพิ่มขนาดของโรงพยาบาลเพื่อให้รองรับผู้ที่มารับบริการ ซึ่งเป็นภาระที่รัฐบาลจะต้องเสียงบประมาณในการดำเนินการเป็นอันมากและเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเนื่องจาก ต้นเหตุของปัญหาสุขภาพ ที่สำคัญมีสาเหตุ มาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะอาหารที่มีการปลอมปนสารเคมีหรือ ผัก-ผลไม้ ที่ไม่ปลอดสารพิษ เพราะเกษตรกรผู้ผลิตใช้สารกำจัดศัตรูพืช อย่างไม่ถูกวิธีเพื่อเหตุผลทางการค้า และ พาณิชย์ทำให้สารเคมีที่เป็นโทษเหล่านั้น ตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง
กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านบือดอง ม.4 ต.เนินงาม จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการลดปัญหาภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำและปัญหาการบริโภคอาหารที่มีการปลอมปนสารเคมี จึงได้จัดทำโครงการปลูกผักข้างบ้าน อาหารปลอดภัยใสใจสุขภาพ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนรู้จักการพึงพาตนเองโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีอาหารที่ปลอดภัยไร้สารพิษตกค้าง สร้างชุมชนน่าอยู่ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษไว้บริโภค และลดอัตราการเกิดโรคแทรกซอน ข้อที่ 2 เพื่อให้มีอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพไว้บริโภค เสริมสร้างการเรียนรู้และสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกิดการพัฒนาความรู้การจัดการสุขภาพของชุมชนโดยการผลิตอาหารปลอดภัยต่อสุขภาวะ

ร้อยละ80 ประชาชนในพื้นที่มีการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษไว้บริโภคเพื่อลดอัตราการเกิดโรคแทรกซอน ร้อยละ80 ประชาชนในพื้นที่เกิดกระบวนการเรียนรู้และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดการพัฒนาความรู้การจัดการสุขภาพของชุมชนโดยการผลิตอาหารปลอดภัยต่อสุขภาวะ

1.00

ข้อที่ 1 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษไว้บริโภค และลดอัตราการเกิดโรคแทรกซอน
ข้อที่ 2 เพื่อให้มีอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพไว้บริโภค เสริมสร้างการเรียนรู้และสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกิดการพัฒนาความรู้การจัดการสุขภาพของชุมชนโดยการผลิตอาหารปลอดภัยต่อสุขภาวะ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 10
กลุ่มผู้สูงอายุ 10
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 10
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม ส่งเสริมองค์ความรู้การปลูกผักปลอดสารพิษและการดูแลสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม ส่งเสริมองค์ความรู้การปลูกผักปลอดสารพิษและการดูแลสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ /การปลูก และดูแลผักอินทรีย์ เพื่อให้สมาชิกที่ร่วมโครงการได้ศึกษาก่อนลงมือปฏิบัติ /แจกจ่ายพันธุ์ผัก ค่าตอบแทน 100 บ.X 50 คน =5,000บ. ค่าวิทยากร 600 บ.x 2 คน ๆละ 3 ชม.=3,600 บ. ค่าอาหารกลางวัน 80 บ x 50 คน=4,000 บ. ค่าอาหารว่าง 25 บ x 50 คน x2 มื้อ =2,500 บ. ค่าวัสดุ 80 บ x50 คน =5,000 บ. ค่าไวนิล ขนาด 3 เมตร x 250 บ. = 750 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ80 ประชาชนในพื้นที่มีการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษไว้บริโภคเพื่อลดอัตราการเกิดโรคแทรกซอน ร้อยละ80 ประชาชนในพื้นที่เกิดกระบวนการเรียนรู้และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดการพัฒนาความรู้การจัดการสุขภาพของชุมชนโดยการผลิตอาหารปลอดภัยต่อสุขภาวะ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20850.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,850.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในพื้นที่มีการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษไว้บริโภคลดอัตราการเกิดโรคแทรกซอน
2.ประชาชนได้บริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
3.ประชาชนในพื้นที่เกิดกระบวนการเรียนรู้และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกิดการพัฒนาความรู้การจัดการสุขภาพของชุมชนโดยการผลิตอาหารปลอดภัยต่อสุขภาวะ
4.เกิดการยกระดับพัฒนาศักยภาพครัวเรือนในชุมชนให้มีความมั่นคงทางด้านอาหารในชีวิตประจำวัน
5.ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเฉพาะด้านสุขภาพ


>