กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปลูกผักปลอดสารพิษข้างบ้าน อาหารปลอดภัยใสใจสุขภาพ
รหัสโครงการ 67-L4160-02-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านบือดอง
วันที่อนุมัติ 24 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 17,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมาลินี สุโก๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวมัยมูน สาและมะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเนินงาม อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน (สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อสุกร สารกันราหรือกรดซาลิซิลิค สารฟอกขาว สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน หรือสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ และยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช)
80.00
2 ร้อยละของพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรทั้งหมด
60.00
3 ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)     ผักเป็นพืชอาหารที่มีการบริโภคในชีวิตประจำวัน มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก เพราะผักเป็นแหล่งรวมของวิตามินต่างๆที่จำเป็นและมีประโยชน์ต่อร่างกาย ให้กากใยที่ช่วยในเรื่องของระบบขับถ่าย การบริโภคผักมีส่วนทำให้ร่างกายมีสุขภาพดี แข็งแรง ประชาชนในตำบลเนินงามนิยมซื้อผักเพื่อบริโภคอยู่ทุกวัน ซึ่งประชาชนในชุมชนมีการปลูกผักอยู่บางครัวเรือน และใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี เพราะสะดวก หาซื้อง่าย ได้ผลเร็ว เกิดผลกระทบจากการใช้สารเคมีทั้งผู้ใช้สารเคมีและผู้บริโภคผักที่มีสารเคมี ประชาชนต้องเสียค่าใช่จ่ายในการซื้อสารเคมี ปุ๋ยเคมี เพื่อใช้ในการเกษตร ส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชน มีสารเคมีสารพิษปนเปื้อนในแหล่งน้ำสาธารณะของชุมชน ด้านสุขภาพ ประชาชนที่ปลูกผักโดยใช้สารเคมี หรือผู้ที่อยู่ใกล้เคียงได้รับสารพิษโดยตรง ทำให้สารพิษตกค้างสะสม ภายในร่างกาย ประชาชนที่บริโภคผักที่มีสารเคมีปนเปื้อน ร่างกายจะสะสมสารพิษ ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว เช่น มะเร็ง สาเหตุของปัญหาดังกล่าวนั้นเกิดจาก จากพฤติกรรมการปลูกผักดังกล่าวของชุมชน พบว่าชุมชนไม่เห็นความสำคัญของการปลูกผักกินเอง เพราะในการซื้อผัก แต่ละครั้ง เป็นจำนวนเงิน 60-200 บาทต่อครั้ง เนื่องจากขาดความรู้เทคนิคในการปลูกผักปลอดภัย ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายจากการใช้สารเคมีทางการเกษตร ไม่เห็นความสำคัญของการบริโภคผักปลอดสารพิษ ไม่มีศูนย์การเรียนรู้ หรือต้นแบบในการเพาะปลูกพืชผักปลอดภัยขาดหน่วยงานที่มาส่งเสริมและสนับสนุนการปลูก/บริโภคผักปลอดภัยในหมู่บ้าน
    กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านบือดอง ม.4 ต.เนินงาม จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการลดปัญหาภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำและปัญหาการบริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อนสารเคมี จึงได้จัดทำโครงการปลูกผักข้างบ้าน อาหารปลอดภัยใสใจสุขภาพ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนรู้จักการพึ่งพาตนเองโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีอาหารที่ปลอดภัยไร้สารพิษตกค้าง สร้างชุมชนน่าอยู่ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษไว้บริโภค และลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อน

ร้อยละ 80 ประชาชนในพื้นที่มีการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษไว้บริโภคเพื่อลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อน

80.00
2 เพื่อให้มีอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพไว้บริโภคเสริมสร้างการเรียนรู้และสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดการพัฒนาความรู้การจัดการสุขภาพของชุมชนโดยการผลิตอาหารปลอดภัยต่อสุขภาวะ

ร้อยละ 80 ประชาชนในพื้นที่เกิดกระบวนการเรียนรู้และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดการพัฒนาความรู้การจัดการสุขภาพของชุมชนโดยการผลิตอาหารปลอดภัยต่อสุขภาวะ

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 17,850.00 0 0.00
22 - 23 ก.พ. 67 1.กิจกรรม อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่ ส่งเสริมให้ความรู้ในการกินผักปลอดสารพิษ วิธีการปลูกผัก การดูแลผักและแปลงผัก 2.กิจกรรมการลงแปลงปลูกผักและการดูแลผักอินทรีย์ 50 17,850.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษไว้บริโภค และลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อน 2.มีอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพไว้บริโภคเสริมสร้างการเรียนรู้และสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดการพัฒนาความรู้การจัดการสุขภาพของชุมชนโดยการผลิตอาหารปลอดภัยต่อสุขภาวะ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2566 00:00 น.