กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อบรมฟื้นฟูเชิงปฎิบัติการ อสมเพื่่อดูแลสุขภาพชุมชนแบบองค์รวม ชมรม อสม.บ้านโหล๊ะหาร

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี

1. นางอ้าหมิหนํ๊ะ ฤทธ์โต
2.นายสมบัติ แก้วพิบูลย์
3. นายหรูน ฤทธิ์โต
4. นางวาสนา หมานระเก็น
5. นางอาภรณ์ เรืองดำ

หมู่ที่7 บ้านโหล๊ะหารและหมู่ที่8 บ้านต้นส้าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การดำเนินงานด้านสาธารณสุข แบ่งรูปแบบการดำเนินงานออกเป็น 4 ด้าน คือ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพซึ่งการดำเนินงานให้คลอบคลุมทั้ง 4 ด้านนั้น สามารถทำให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงได้ แต่การที่จะทำให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านนั้นเป็นเรื่องยากเพราะปัจจุบันบริบทของการเกิดโรคได้เปลี่ยนแปลงไปกล่าวคือ ในอดีตการสาธารณสุขของไทยยังไม่ก้าวหน้าเท่าในปัจจุบัน ประชาชนมักเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อ เช่น ไข้หวัด อุจจาระร่วง เป็นต้น แต่ในปัจจุบันเมื่อการสาธารณสุขเจริญก้าวหน้าขึ้นรวมทั้งวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป โรคที่เกิดขึ้นกับประชาชนจึงกลายเป็นโรคที่เกิดจากการไม่ดูแลพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง ฯลฯ อีกทั้งยังมีโรคติดต่อที่สร้างปัญหาและเป็นภัยต่อสุขภาพของประชาชน คือโรคเอดส์โรคไข้เลือดออกโรคเล็ปโตสไปโรซิส เป็นต้น การจะแก้ปัญหาดังกล่าวทุกฝ่ายต้องสร้างค่านิยมด้านสุขภาพที่ถูกต้องและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนเน้นการสร้างสุขภาพและการป้องกันมากกว่าการซ่อมสุขภาพ โดยส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลส่งเสริมสุขภาพของชุมชนได้เอง เสริมสร้างและพัฒนาเครือข่ายสุขภาพที่มีในชุมชนให้เข้มแข็ง แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร จัดกิจกรรมที่สามารถพัฒนาและปฏิบัติการโดยเน้นเชิงรุก ทำให้ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคทำให้ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั้งยืน อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.)เป็นบุคคลที่สำคัญและมีบทบาทหน้าที่ ในการดำเนินงานและให้การช่วยเหลือ เป็นผู้ประสานงานระหว่างภาครัฐกับประชาชนในชุมชนในการดำเนินงานกิจกรรมด้านสาธารณสุขดังกล่าว เพื่อแก้ไขปัญหาระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมาโดยตลอด แต่นโยบายและการดำเนินดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวการณ์ทำให้อาสาสมัครสาธารณสุขต้องมีบทบาทหน้าที่และภารกิจเพิ่มขึ้นตามไปด้วย การพัฒนาศักยภาพเพิ่มพูนความรู้ ทักษะวิชาการและการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อเพิ่มสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านโหล๊ะหารได้เล็งเห็นความสำคัญในปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการอบรมฟื้นฟูความรู้อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) เพื่อดูแลสุขภาพชุมชน เพื่อช่วยส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินกิจกรรมสาธารณสุขต่างๆในระดับพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. อาสาสมัครสาธารณสุข มีความรู้และทักษะในการปฎิบัติงานด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

อาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 52คน ได้รับความรู้และทักษะในการปฎิบัติงานด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

0.00

1. อาสาสมัครสาธารณสุข มีความรู้และทักษะในการปฎิบัติงานด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

2. ประชาชนจะได้รับการบริการด้านส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค โดยอสม.ที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมถูกต้อง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 52
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมอาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อประเมินความรู้ ประเมินสมรรถนะของอาสาสมัครสาธารณสุข

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมอาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อประเมินความรู้ ประเมินสมรรถนะของอาสาสมัครสาธารณสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑. ค่าอาหารว่างฯ จำนวน 60 คนๆละ 4 มื้อๆละ ๒๕ บาท เป็นเงิน 6000 บาท(เจ้าหน้าที่8 คน อสม. 52 คน) ๒. ค่าอาหารเที่ยง จำนวน 60 คนๆละ 2 มื้อๆละ ๕๐ บาท เป็นเงิน 6000 บาท(เจ้าหน้าที่8 คน อสม. 52 คน) ๓. ค่าวัสดุการประชุม จำนวน 52 ชุดๆละ 100 บาท เป็นเงิน 5200 บาท (ปากกา52 ด้ามๆละ10บาท+สมุด52เล่มๆละ15บาท +แฟ้มเอกสาร52อันๆละ 60บาท 5.ป้ายชื่อพร้อมที่แขวน 52 อันๆละ15บาท ) 4.ค่าจ้างจัดทำป้ายโครงการ ขนาด 1.5*3.0 เมตร เป็นเงิน 675บาท 5.ค่าวิทยากร 8 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 4800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้และทักษะในด้านส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค เพิ่มมากขึ้น มีการพัฒนาศักยภาพของชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขให้มีศักยภาพในการดำเนินส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ประชาชนจะได้รับการบริการด้านส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค โดยอสม.ที่มีประสิทธิภาพเหมาะสม ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22675.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,675.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้และทักษะในด้านส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค เพิ่มมากขึ้น
2.มีการพัฒนาศักยภาพของชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขให้มีศักยภาพในการดำเนินส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
3.ประชาชนจะได้รับการบริการด้านส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค โดยอสม.ที่มีประสิทธิภาพเหมาะสม ถูกต้อง


>