กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อบรมฟื้นฟูเชิงปฎิบัติการ อสมเพื่่อดูแลสุขภาพชุมชนแบบองค์รวม ชมรม อสม.บ้านโหล๊ะหาร
รหัสโครงการ 2566-L3341-02-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. รพ.สต.บ้านโหล๊ะหาร
วันที่อนุมัติ 15 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 22,675.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1. นางอ้าหมิหนํ๊ะ ฤทธ์โต 2.นายสมบัติ แก้วพิบูลย์ 3. นายหรูน ฤทธิ์โต 4. นางวาสนา หมานระเก็น 5. นางอาภรณ์ เรืองดำ
พี่เลี้ยงโครงการ นายสุชาติ พรหมเสน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุขภาพจิต , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 52 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำเนินงานด้านสาธารณสุข แบ่งรูปแบบการดำเนินงานออกเป็น 4 ด้าน คือ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพซึ่งการดำเนินงานให้คลอบคลุมทั้ง 4 ด้านนั้น สามารถทำให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงได้ แต่การที่จะทำให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านนั้นเป็นเรื่องยากเพราะปัจจุบันบริบทของการเกิดโรคได้เปลี่ยนแปลงไปกล่าวคือ ในอดีตการสาธารณสุขของไทยยังไม่ก้าวหน้าเท่าในปัจจุบัน ประชาชนมักเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อ เช่น ไข้หวัด อุจจาระร่วง เป็นต้น แต่ในปัจจุบันเมื่อการสาธารณสุขเจริญก้าวหน้าขึ้นรวมทั้งวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป โรคที่เกิดขึ้นกับประชาชนจึงกลายเป็นโรคที่เกิดจากการไม่ดูแลพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง ฯลฯ อีกทั้งยังมีโรคติดต่อที่สร้างปัญหาและเป็นภัยต่อสุขภาพของประชาชน คือโรคเอดส์โรคไข้เลือดออกโรคเล็ปโตสไปโรซิส เป็นต้น การจะแก้ปัญหาดังกล่าวทุกฝ่ายต้องสร้างค่านิยมด้านสุขภาพที่ถูกต้องและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนเน้นการสร้างสุขภาพและการป้องกันมากกว่าการซ่อมสุขภาพ โดยส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลส่งเสริมสุขภาพของชุมชนได้เอง เสริมสร้างและพัฒนาเครือข่ายสุขภาพที่มีในชุมชนให้เข้มแข็ง แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร จัดกิจกรรมที่สามารถพัฒนาและปฏิบัติการโดยเน้นเชิงรุก ทำให้ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคทำให้ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั้งยืน อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.)เป็นบุคคลที่สำคัญและมีบทบาทหน้าที่ ในการดำเนินงานและให้การช่วยเหลือ เป็นผู้ประสานงานระหว่างภาครัฐกับประชาชนในชุมชนในการดำเนินงานกิจกรรมด้านสาธารณสุขดังกล่าว เพื่อแก้ไขปัญหาระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมาโดยตลอด แต่นโยบายและการดำเนินดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวการณ์ทำให้อาสาสมัครสาธารณสุขต้องมีบทบาทหน้าที่และภารกิจเพิ่มขึ้นตามไปด้วย การพัฒนาศักยภาพเพิ่มพูนความรู้ ทักษะวิชาการและการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อเพิ่มสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านโหล๊ะหารได้เล็งเห็นความสำคัญในปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการอบรมฟื้นฟูความรู้อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) เพื่อดูแลสุขภาพชุมชน เพื่อช่วยส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินกิจกรรมสาธารณสุขต่างๆในระดับพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. อาสาสมัครสาธารณสุข มีความรู้และทักษะในการปฎิบัติงานด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

อาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 52คน ได้รับความรู้และทักษะในการปฎิบัติงานด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 22,675.00 0 0.00
1 เม.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 จัดประชุมอาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อประเมินความรู้ ประเมินสมรรถนะของอาสาสมัครสาธารณสุข 0 22,675.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้และทักษะในด้านส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค เพิ่มมากขึ้น 2.มีการพัฒนาศักยภาพของชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขให้มีศักยภาพในการดำเนินส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 3.ประชาชนจะได้รับการบริการด้านส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค โดยอสม.ที่มีประสิทธิภาพเหมาะสม ถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2566 00:00 น.