กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการ ลูกน้อยสุขภาพดี โภชนาการดี พัฒนาการสมวัย รับวัคซีนตามเกณฑ์ และไม่มีภาวะซีด ในเด็ก0-5ปี สู่ โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน พลัส สู่2,500วัน ปี2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลางา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ลูกน้อยสุขภาพดี โภชนาการดี พัฒนาการสมวัย รับวัคซีนตามเกณฑ์ และไม่มีภาวะซีด ในเด็ก0-5ปี สู่ โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน พลัส สู่2,500วัน ปี2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลางา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลางา

ทั้ง7หมู่บ้าน ตำบลลางา อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กเล็ก(0-3 ปี) ได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์

 

5.00
2 ร้อยละของเด็กเล็ก (2-6ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

 

5.00
3 ร้อยละของเด็กเล็ก (0-6ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า

 

4.00

การดำเนินงาน มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต ไปสู่ “ตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus (พลัส) สู่ 2,500 วัน” ตำบลที่มีการดำเนินงานดูแล ส่งเสริมสุขภาพ และคุ้มครองสตรีและเด็กปฐมวัย ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่หญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็กแรกเกิด – 5 ปี เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยไทยเติบโตเต็มศักยภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านกลไกความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชนและท้องถิ่น ระดับตำบล สอดคล้องนโยบายรัฐบาลขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคม ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564 – 2570 คือ เด็กปฐมวัยทุกคน ต้องได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้าน เต็มตามศักยภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมระดมทรัพยากรที่เพียงพอ
ทั้งนี้ในช่วง 1,000 วันมหัศจรรย์เป็นช่วงสำคัญ เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต ในการปูพื้นฐานของชีวิตคนไทยสู่อนาคตที่ดี ให้เด็กไทยฉลาด พัฒนาการสมวัย สูงสมส่วน แบ่งเป็น 3 ช่วงที่ 1. 270 วันแรกระหว่างการตั้งครรภ์ เป็นช่วงเวลาสำคัญของการสร้างเซลล์สมองควบคู่กับการสร้างเส้นใยประสาทเร็วที่สุด เด็กได้รับสารอาหารที่เพียงพอและหลากหลาย เสริมธาตุไอโอดีน เหล็ก โฟลิก ช่วงที่ 2. 180 วัน แรกเกิด-6เดือน เป็นช่วงที่ร่างกายและสมองของเด็กเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การได้รับนมแม่ตั้งแต่ชั่วโมงแรงของชีวิต การโอบกอดและเล่นกับลูกส่งผลให้ลูกเจริญเติบโตดี มีพัฒนาการทางด้านร่างกายและอารมณ์ดี ช่วงที่ 3. 550 วัน อายุ 6 เดือน-2 ปี เน้นการเป็นเด็กฉลาด มีพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน ทำด้วยการให้อาหารที่เหมาะสมตามวัย ควบคู่การดื่มนมแม่ให้นานที่สุด ส่งเสริมครอบครัวอบอุ่นเข้มแข็ง ด้วยกิจกรรม กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน และลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเจริญเติบโต จะทำให้ทารกพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพสูงในที่สุดมีการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพงานบริการสาธารณสุขมีการพัฒนาคลินิกฝากครรภ์(ANC) คุณภาพ ในหญิงตั้งครรภ์ ดูแลการคลอด ปลอดภัยทั้งแม่และทารก พัฒนาคลินิกเด็กสุขภาพดีเด็ก(WCC) คุณภาพ ได้รับการเลี้ยงดูตามวัย เป้าหมาย หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางไม่เกินร้อยละ 14 ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดไม่น้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7 เด็กอายุ 0-5 ปีภาวะโภชนาการ สูงดี สมส่วนตามวัย ร้อยละ 66 เด็กมีภาวะเตี้ย ไม่เกินร้อยละ10 เด็กมีภาวะผอมไม่เกินร้อยละ 5 เด็กมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนไม่เกินร้อยละ 9 และมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 85 เด็กอายุ 3 ปี ปราศจากฟันผุ (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 )เด็กมีพัฒนาการสมวัย ไอคิว อีคิว ดี ทำให้เด็กเติบโดเป็นคนที่มีคุณภาพ เก่งดี มีสุข
งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและภาวะโภชนาการในเด็ก0-5ปี เป็นงานบริการขั้นพื้นฐานที่เด็กไทยทุกคนพึ่งได้รับบริการตามเกณฑ์มาตรฐาน และที่สำคัญผู้ปกครองของเด็ก0-5ปี จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและภาวะโภชนาการในเด็ก พัฒนาการของเด็ก และภาวะซีดในเด็ก จากการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่าเด็ก0-5ปี จำนวน 698 คน ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ตามกลุ่มอายุ1ปี ร้อยละ88.57 อายุ2ปี ร้อยละ79.66 อายุ3ปี ร้อยละ90.04 อายุ5ปี ร้อยละ89.17 (ปีงบประมาณ2566) และการดำเนินงานโภชนการเด็ก0-5ปี จำนวน 670 คน ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการโดยการชั่งน้ำหนัก จำนวน 616คน คิดเป็นร้อยละ91.94พบว่าอัตราเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ5.67 และเด็กค่อนข้างน้อย จำนวน18คน คิดเป็นร้อยละ2.92 (ปีงบประมาณ2566)และการดำเนินงานพัฒนาสมวัยตามกลุ่มอายุ 9 เดือน 18เดือน 30เดือน 42เดือน 60เดือน จำนวน 569คน ได้รับการตรวจพัฒนาการ จำนวน534คน คิดเป็นร้อยละ93.85 พบว่าเด็กที่มีพัฒนาการสมวัย จำนวน 488คน คิดเป็นร้อยละ85.76 และเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า จำนวน46คน คิดเป้นร้อยละ8.61 (ปีงบประมาณ2566)
และได้คัดกรองภาวะซีดในเด็ก6เดือนถึง5ปี จำนวน 84คน พบว่ามีเด็กมีภาวะซีดจำนวน 17คน คิดเป็นร้อยละ20.2 ซึ่งยังไม่บรรลุตามเกณฑ์ตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข คือความครอบคลุมการได้รับวัคซีนตามเกณฑ์มาตรฐาน อย่างน้อยละ90 และภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ ต้องมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ไม่เกินร้อยละ5 และพัฒนาการสมวัยไม่เกินร้อยละ90 และพัฒนาการสงสัยล่าช้า ต้องพบสงสัยล่ามากกว่าร้อยละ20 และเด็กที่มีภาวะซีด ไม่เกินร้อยละ20 และได้รับการจ่ายยาเสริมธาตุเหล็กร้อยละ100 ซึ่งจะเห็นว่าทั้งการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและภาวะโภชนาการในเด็ก0-5ปี พัฒนาการเด็ก และภาวะซีดในเด็ก0-5ปี ของพื้นที่ก็ยังเป็นปัญหาซึ่งจะต้องได้รับการแก้ไขต่อไป
จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลางา อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี จึงได้จัดทำโครงการลูกน้อยสุขภาพดี โภชนาการดี พัฒนาการสมวัย รับวัคซีนตามเกณฑ์ และเด็กไม่มีภาวะซีด ในเด็ก0-5ปี สู่ โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน พลัส สู่2,500วัน ปี2567

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก0-5ปี ได้มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักความสำคัญของการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและการตรวจพัฒนาการในเด็ก0-5ปี และการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก และภาวะซีดในเด็ก 0-5ปี

ผู้ปกครองเด็ก0-5ปี ได้มีความรู้ ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและการตรวจพัฒนาการในเด็ก0-5ปี และการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก และภาวะซีดในเด็ก 0-5ปี ร้อยละ80

5.00 1.00
2 เพื่อให้เด็ก0-5ปี ได้มีภาวะโภชนาการดี

เพื่อให้เด็ก0-5ปี ได้มีภาวะโภชนาการดี  มีน้ำหนักน้อยและไม่เกินร้อยละ5

5.00 1.00
3 เพื่อให้เด็ก0-5ปี ได้มีพัฒนาการสมวัย

เพื่อให้เด็ก0-5ปี ได้มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ80 และได้รับการส่งต่อ ร้อยละ100

4.00 1.00
4 เพื่อให้เด็ก6เดือน-1ปี ไม่มีภาวะซีดในเด็ก

เพื่อให้เด็ก6เดือน-1ปี ที่มีภาวะซีดในเด็ก ไม่เกินร้อยละ20 และได้รับการจ่ายยาเสริมธาตุเหล็ก ร้อยละ100

4.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 691
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมชี้แจงแผนปฏิบัติงานวัคซีนเชิงรุก เด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ พัฒนาการสงสัยล่าช้า เด็กที่มีภาวะซีดเพื่อขับเคลื่อนโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน พลัส สู่2,500วัน ปี2567 แก่เจ้าหน้าที่และอสม. จำนวน 66 คน

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมชี้แจงแผนปฏิบัติงานวัคซีนเชิงรุก เด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ พัฒนาการสงสัยล่าช้า เด็กที่มีภาวะซีดเพื่อขับเคลื่อนโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน พลัส สู่2,500วัน ปี2567 แก่เจ้าหน้าที่และอสม. จำนวน 66 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 66 คน x 35 บาท x 2 มื้อ =4,620 บาท -ค่าอาหารกลางวัน 66 คน x 50 บาท x 1 มื้อ = 3,300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อให้เจ้าหน้าที่และอสม.ตำบลลางา รับรู้และปฏิบัติการในการช่วยขับเคลื่อนบเคลื่อนโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน พลัส สู่2,500วัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7920.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 ผู้ปกครองเด็ก0-5ปี แบ่งเป็น4รุ่นตามหัวข้อดังนี้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 ผู้ปกครองเด็ก0-5ปี แบ่งเป็น4รุ่นตามหัวข้อดังนี้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รุ่นที่1 ผู้ปกครองเด็กที่ได้รับวัคซีนไม่ตามเกณฑ์ จำนวน 50คน -การจัดอบรมให้ความรู้เรื่องประโยชน์ของการรับวัคซีนในเด็ก0-5ปี หมายเหตุ วิทยาโดย นายแพทย์มัสลัน ตะเระ ผอ.รพ.ธารโต -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คน x 35 บาท x 2 มื้อ =3,500 บาท -ค่าอาหารกลางวัน 50 คน x 50 บาท x 1 มื้อ = 2,500 บาท รุ่นที่2 ผู้ปกครองเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ และน้ำหนักค่อนข้างน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน40คน -การจัดอบรมให้ความรู้เรื่องภาวะโภชนาการแต่ละวัยในเด็ก0-5ปี
หมายเหตุ วิทยาโดย นักโภชนาการ รพ.มายอ -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 40 คน x 35 บาท x 2 มื้อ =2,800 บาท -ค่าอาหารกลางวัน 40 คน x 50 บาท x 1 มื้อ = 2,000 บาท รุ่นที่3 ผู้ปกครองเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า จำนวน26คน การอบรมให้ความรู้พัฒนาการสมวัยทั้ง5ด้าน(DSPM) หมายเหตุ วิทยากรโดย นางซอบารียะห์ กะลูแป เจ้าหน้าที่จากรพ.มายอ -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 26 คน x 35 บาท x 2 มื้อ =1,820 บาท -ค่าอาหารกลางวัน 26 คน x 50 บาท x 1 มื้อ = 1,300 บาท รุ่นที่4 ผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะซีด จำนวน17คน การอบรมให้ความรู้เรื่องภาวะซีดในเด็กและความสำคัญของยาเสริมธาตุเหล็ก หมายเหตุ วิทยากรโดย เจ้าหน้าที่รพ.สต.ลางา -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 17 คน x 35 บาท x 2 มื้อ =1,190 บาท -ค่าอาหารกลางวัน 17 คน x 50 บาท x 1 มื้อ = 850 บาท -ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย จำนวน3คน จำนวน6ชั่วโมงๆละ600บาท เป็นเงิน10,800บาท -ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด1x2เมตร จำนวน1ผืนๆละ1,000บาท เป็นเงิน1,000บาท -ค่าถ่ายเอกสารเพื่อประกอบการอบรม = 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องวัคซีน โภชนาการตามเกณฑ์ พัฒนาการสมวัย  เด็กไม่ซีด ร้อยละ100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
29760.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 การเฝ้าระวังติดตามภาวะโภชนาการ ทั้ง4ไตรมาส(เดือนตุลาคม/เดือนมกราคม/เดือนเมษายน/เดือนกรกฎาคม) และตรวจพัฒนาการเด็ก(9เดือน/18เดือน/30เดือน/42เดือน/60เดือน) และการรับวัคซีนตามเกณฑ์อายุในเด็กอายุครบ1ปี/2ปี/3ปี/5ปีในปีงบประมาณ2566และการคัดกรองภาวะซ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 การเฝ้าระวังติดตามภาวะโภชนาการ ทั้ง4ไตรมาส(เดือนตุลาคม/เดือนมกราคม/เดือนเมษายน/เดือนกรกฎาคม) และตรวจพัฒนาการเด็ก(9เดือน/18เดือน/30เดือน/42เดือน/60เดือน) และการรับวัคซีนตามเกณฑ์อายุในเด็กอายุครบ1ปี/2ปี/3ปี/5ปีในปีงบประมาณ2566และการคัดกรองภาวะซ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าพาหนะอสม.ติดตามเยี่ยมบ้านจำนวน55คน50บาทจำนวน2ครั้ง เป็นเงิน5,500บาท
  • ไข่ไก่ สำหรับเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์และค่อนข้างน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน40คน จำนวน2แผงๆละ120บาท เป็นเงิน 9,600 บาท
  • นมกล่องรสจืด สำหรับเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์และค่อนข้างน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน 40คน จำนวน 60กล่องๆละ8บาท(ระยะเวลา2เดือน)เป็นเงิน19,200บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลการติดตามภาวะโภชนาการทั้ง4ไตรมาส มีการแก้ปัญหาในพื้นที่และติดตามเด็กให้มารับบริการวัคซีนตามนัดพร้อมคัดกรองภาวะซีดร้อยละ90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
34300.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ 4 จัดนิทรรศการประกวดหนูน้อยสุขภาพดี จำนวน 90 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 4 จัดนิทรรศการประกวดหนูน้อยสุขภาพดี จำนวน 90 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 90 คน x 35 บาท x 2 มื้อ =6,300 บาท -ค่าอาหารกลางวัน 90 คน x 50 บาท x 1 มื้อ = 4,500  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อสร้างขวัญกำลังใจแก่เด็ก0-5ปี ที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนร่วมกันแก่ผู้ปกครอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 82,780.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณสามารถถัวเฉลี่ย

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ปกครองเด็ก0-5ปี มีความรู้ ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและการตรวจพัฒนาการในเด็ก0-5ปี และการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก และภาวะซีดในเด็ก
2.เด็ก0-5ปี ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์มาตรฐาน มีภาวะโภชนการที่ดี และมีพัฒนาการสมวัยทั้ง5ด้าน (ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม)
3.ภาคีเครือข่าย มีความพร้อมในการผลักดันโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน พลัส สู่2,500วัน
4.เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย


>