กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลางา รหัส กปท. L3005

อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการ ลูกน้อยสุขภาพดี โภชนาการดี พัฒนาการสมวัย รับวัคซีนตามเกณฑ์ และไม่มีภาวะซีด ในเด็ก0-5ปี สู่ โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน พลัส สู่2,500วัน ปี2567
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลางา
3.
หลักการและเหตุผล

การดำเนินงาน มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต ไปสู่ “ตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus (พลัส) สู่ 2,500 วัน” ตำบลที่มีการดำเนินงานดูแล ส่งเสริมสุขภาพ และคุ้มครองสตรีและเด็กปฐมวัย ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่หญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็กแรกเกิด – 5 ปี เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยไทยเติบโตเต็มศักยภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านกลไกความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชนและท้องถิ่น ระดับตำบล สอดคล้องนโยบายรัฐบาลขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคม ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564 – 2570 คือ เด็กปฐมวัยทุกคน ต้องได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้าน เต็มตามศักยภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมระดมทรัพยากรที่เพียงพอ ทั้งนี้ในช่วง 1,000 วันมหัศจรรย์เป็นช่วงสำคัญ เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต ในการปูพื้นฐานของชีวิตคนไทยสู่อนาคตที่ดี ให้เด็กไทยฉลาด พัฒนาการสมวัย สูงสมส่วน แบ่งเป็น 3 ช่วงที่ 1. 270 วันแรกระหว่างการตั้งครรภ์ เป็นช่วงเวลาสำคัญของการสร้างเซลล์สมองควบคู่กับการสร้างเส้นใยประสาทเร็วที่สุด เด็กได้รับสารอาหารที่เพียงพอและหลากหลาย เสริมธาตุไอโอดีน เหล็ก โฟลิก ช่วงที่ 2. 180 วัน แรกเกิด-6เดือน เป็นช่วงที่ร่างกายและสมองของเด็กเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การได้รับนมแม่ตั้งแต่ชั่วโมงแรงของชีวิต การโอบกอดและเล่นกับลูกส่งผลให้ลูกเจริญเติบโตดี มีพัฒนาการทางด้านร่างกายและอารมณ์ดี ช่วงที่ 3. 550 วัน อายุ 6 เดือน-2 ปี เน้นการเป็นเด็กฉลาด มีพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน ทำด้วยการให้อาหารที่เหมาะสมตามวัย ควบคู่การดื่มนมแม่ให้นานที่สุด ส่งเสริมครอบครัวอบอุ่นเข้มแข็ง ด้วยกิจกรรม กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน และลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเจริญเติบโต จะทำให้ทารกพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพสูงในที่สุดมีการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพงานบริการสาธารณสุขมีการพัฒนาคลินิกฝากครรภ์(ANC) คุณภาพ ในหญิงตั้งครรภ์ ดูแลการคลอด ปลอดภัยทั้งแม่และทารก พัฒนาคลินิกเด็กสุขภาพดีเด็ก(WCC) คุณภาพ ได้รับการเลี้ยงดูตามวัย เป้าหมาย หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางไม่เกินร้อยละ 14 ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดไม่น้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7 เด็กอายุ 0-5 ปีภาวะโภชนาการ สูงดี สมส่วนตามวัย ร้อยละ 66 เด็กมีภาวะเตี้ย ไม่เกินร้อยละ10 เด็กมีภาวะผอมไม่เกินร้อยละ 5 เด็กมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนไม่เกินร้อยละ 9 และมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 85 เด็กอายุ 3 ปี ปราศจากฟันผุ (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 )เด็กมีพัฒนาการสมวัย ไอคิว อีคิว ดี ทำให้เด็กเติบโดเป็นคนที่มีคุณภาพ เก่งดี มีสุข งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและภาวะโภชนาการในเด็ก0-5ปี เป็นงานบริการขั้นพื้นฐานที่เด็กไทยทุกคนพึ่งได้รับบริการตามเกณฑ์มาตรฐาน และที่สำคัญผู้ปกครองของเด็ก0-5ปี จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและภาวะโภชนาการในเด็ก พัฒนาการของเด็ก และภาวะซีดในเด็ก จากการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่าเด็ก0-5ปี จำนวน 698 คน ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ตามกลุ่มอายุ1ปี ร้อยละ88.57 อายุ2ปี ร้อยละ79.66 อายุ3ปี ร้อยละ90.04 อายุ5ปี ร้อยละ89.17 (ปีงบประมาณ2566) และการดำเนินงานโภชนการเด็ก0-5ปี จำนวน 670 คน ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการโดยการชั่งน้ำหนัก จำนวน 616คน คิดเป็นร้อยละ91.94พบว่าอัตราเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ5.67 และเด็กค่อนข้างน้อย จำนวน18คน คิดเป็นร้อยละ2.92 (ปีงบประมาณ2566)และการดำเนินงานพัฒนาสมวัยตามกลุ่มอายุ 9 เดือน 18เดือน 30เดือน 42เดือน 60เดือน จำนวน 569คน ได้รับการตรวจพัฒนาการ จำนวน534คน คิดเป็นร้อยละ93.85 พบว่าเด็กที่มีพัฒนาการสมวัย จำนวน 488คน คิดเป็นร้อยละ85.76 และเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า จำนวน46คน คิดเป้นร้อยละ8.61 (ปีงบประมาณ2566) และได้คัดกรองภาวะซีดในเด็ก6เดือนถึง5ปี จำนวน 84คน พบว่ามีเด็กมีภาวะซีดจำนวน 17คน คิดเป็นร้อยละ20.2 ซึ่งยังไม่บรรลุตามเกณฑ์ตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข คือความครอบคลุมการได้รับวัคซีนตามเกณฑ์มาตรฐาน อย่างน้อยละ90 และภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ ต้องมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ไม่เกินร้อยละ5 และพัฒนาการสมวัยไม่เกินร้อยละ90 และพัฒนาการสงสัยล่าช้า ต้องพบสงสัยล่ามากกว่าร้อยละ20 และเด็กที่มีภาวะซีด ไม่เกินร้อยละ20 และได้รับการจ่ายยาเสริมธาตุเหล็กร้อยละ100 ซึ่งจะเห็นว่าทั้งการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและภาวะโภชนาการในเด็ก0-5ปี พัฒนาการเด็ก และภาวะซีดในเด็ก0-5ปี ของพื้นที่ก็ยังเป็นปัญหาซึ่งจะต้องได้รับการแก้ไขต่อไป จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลางา อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี จึงได้จัดทำโครงการลูกน้อยสุขภาพดี โภชนาการดี พัฒนาการสมวัย รับวัคซีนตามเกณฑ์ และเด็กไม่มีภาวะซีด ในเด็ก0-5ปี สู่ โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน พลัส สู่2,500วัน ปี2567

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก0-5ปี ได้มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักความสำคัญของการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและการตรวจพัฒนาการในเด็ก0-5ปี และการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก และภาวะซีดในเด็ก 0-5ปี
    ตัวชี้วัด : ผู้ปกครองเด็ก0-5ปี ได้มีความรู้ ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและการตรวจพัฒนาการในเด็ก0-5ปี และการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก และภาวะซีดในเด็ก 0-5ปี ร้อยละ80
    ขนาดปัญหา 5.00 เป้าหมาย 1.00
  • 2. เพื่อให้เด็ก0-5ปี ได้มีภาวะโภชนาการดี
    ตัวชี้วัด : เพื่อให้เด็ก0-5ปี ได้มีภาวะโภชนาการดี มีน้ำหนักน้อยและไม่เกินร้อยละ5
    ขนาดปัญหา 5.00 เป้าหมาย 1.00
  • 3. เพื่อให้เด็ก0-5ปี ได้มีพัฒนาการสมวัย
    ตัวชี้วัด : เพื่อให้เด็ก0-5ปี ได้มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ80 และได้รับการส่งต่อ ร้อยละ100
    ขนาดปัญหา 4.00 เป้าหมาย 1.00
  • 4. เพื่อให้เด็ก6เดือน-1ปี ไม่มีภาวะซีดในเด็ก
    ตัวชี้วัด : เพื่อให้เด็ก6เดือน-1ปี ที่มีภาวะซีดในเด็ก ไม่เกินร้อยละ20 และได้รับการจ่ายยาเสริมธาตุเหล็ก ร้อยละ100
    ขนาดปัญหา 4.00 เป้าหมาย 1.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. จัดประชุมชี้แจงแผนปฏิบัติงานวัคซีนเชิงรุก เด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ พัฒนาการสงสัยล่าช้า เด็กที่มีภาวะซีดเพื่อขับเคลื่อนโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน พลัส สู่2,500วัน ปี2567 แก่เจ้าหน้าที่และอสม. จำนวน 66 คน
    รายละเอียด

    -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 66 คน x 35 บาท x 2 มื้อ =4,620 บาท -ค่าอาหารกลางวัน 66 คน x 50 บาท x 1 มื้อ = 3,300 บาท

    งบประมาณ 7,920.00 บาท
  • 2. กิจกรรมที่ 2 ผู้ปกครองเด็ก0-5ปี แบ่งเป็น4รุ่นตามหัวข้อดังนี้
    รายละเอียด

    รุ่นที่1 ผู้ปกครองเด็กที่ได้รับวัคซีนไม่ตามเกณฑ์ จำนวน 50คน -การจัดอบรมให้ความรู้เรื่องประโยชน์ของการรับวัคซีนในเด็ก0-5ปี หมายเหตุ วิทยาโดย นายแพทย์มัสลัน ตะเระ ผอ.รพ.ธารโต -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คน x 35 บาท x 2 มื้อ =3,500 บาท -ค่าอาหารกลางวัน 50 คน x 50 บาท x 1 มื้อ = 2,500 บาท รุ่นที่2 ผู้ปกครองเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ และน้ำหนักค่อนข้างน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน40คน -การจัดอบรมให้ความรู้เรื่องภาวะโภชนาการแต่ละวัยในเด็ก0-5ปี
    หมายเหตุ วิทยาโดย นักโภชนาการ รพ.มายอ -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 40 คน x 35 บาท x 2 มื้อ =2,800 บาท -ค่าอาหารกลางวัน 40 คน x 50 บาท x 1 มื้อ = 2,000 บาท รุ่นที่3 ผู้ปกครองเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า จำนวน26คน การอบรมให้ความรู้พัฒนาการสมวัยทั้ง5ด้าน(DSPM) หมายเหตุ วิทยากรโดย นางซอบารียะห์ กะลูแป เจ้าหน้าที่จากรพ.มายอ -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 26 คน x 35 บาท x 2 มื้อ =1,820 บาท -ค่าอาหารกลางวัน 26 คน x 50 บาท x 1 มื้อ = 1,300 บาท รุ่นที่4 ผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะซีด จำนวน17คน การอบรมให้ความรู้เรื่องภาวะซีดในเด็กและความสำคัญของยาเสริมธาตุเหล็ก หมายเหตุ วิทยากรโดย เจ้าหน้าที่รพ.สต.ลางา -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 17 คน x 35 บาท x 2 มื้อ =1,190 บาท -ค่าอาหารกลางวัน 17 คน x 50 บาท x 1 มื้อ = 850 บาท -ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย จำนวน3คน จำนวน6ชั่วโมงๆละ600บาท เป็นเงิน10,800บาท -ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด1x2เมตร จำนวน1ผืนๆละ1,000บาท เป็นเงิน1,000บาท -ค่าถ่ายเอกสารเพื่อประกอบการอบรม = 2,000 บาท

    งบประมาณ 29,760.00 บาท
  • 3. กิจกรรมที่ 3 การเฝ้าระวังติดตามภาวะโภชนาการ ทั้ง4ไตรมาส(เดือนตุลาคม/เดือนมกราคม/เดือนเมษายน/เดือนกรกฎาคม) และตรวจพัฒนาการเด็ก(9เดือน/18เดือน/30เดือน/42เดือน/60เดือน) และการรับวัคซีนตามเกณฑ์อายุในเด็กอายุครบ1ปี/2ปี/3ปี/5ปีในปีงบประมาณ2566และการคัดกรองภาวะซ
    รายละเอียด
    • ค่าพาหนะอสม.ติดตามเยี่ยมบ้านจำนวน55คน50บาทจำนวน2ครั้ง เป็นเงิน5,500บาท
    • ไข่ไก่ สำหรับเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์และค่อนข้างน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน40คน จำนวน2แผงๆละ120บาท เป็นเงิน 9,600 บาท
    • นมกล่องรสจืด สำหรับเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์และค่อนข้างน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน 40คน จำนวน 60กล่องๆละ8บาท(ระยะเวลา2เดือน)เป็นเงิน19,200บาท
    งบประมาณ 34,300.00 บาท
  • 4. กิจกรรมที่ 4 จัดนิทรรศการประกวดหนูน้อยสุขภาพดี จำนวน 90 คน
    รายละเอียด

    -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 90 คน x 35 บาท x 2 มื้อ =6,300 บาท -ค่าอาหารกลางวัน 90 คน x 50 บาท x 1 มื้อ = 4,500  บาท

    งบประมาณ 10,800.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567

8.
สถานที่ดำเนินการ

ทั้ง7หมู่บ้าน ตำบลลางา อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 82,780.00 บาท

หมายเหตุ : งบประมาณสามารถถัวเฉลี่ย

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

1.ผู้ปกครองเด็ก0-5ปี มีความรู้ ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและการตรวจพัฒนาการในเด็ก0-5ปี และการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก และภาวะซีดในเด็ก 2.เด็ก0-5ปี ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์มาตรฐาน มีภาวะโภชนการที่ดี และมีพัฒนาการสมวัยทั้ง5ด้าน (ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม) 3.ภาคีเครือข่าย มีความพร้อมในการผลักดันโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน พลัส สู่2,500วัน
4.เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลางา รหัส กปท. L3005

อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลางา
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลางา รหัส กปท. L3005

อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 82,780.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................