กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะลุโบะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเปลี่ยนวิถี มีภูมิคุ้มกัน แบ่งปันสุขภาพดีอย่างยั่งยืน ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะลุโบะ

โรงเรียนวิทยาอิสลามมูลนิธิ

1…นายชัยนุนอาบีดีน หะยีสะอิ…………..
2…นายเจะอาลีเจะและ………………..
3…นายอัหมัดนุร หะยีสะอิ……………..
4…นายอันนุวา สตาปอ………………..
5นายสะปิอิง เจะสะอิ……………..

พื้นที่ตำบลตะลุโบะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยสถานการณ์ในปัจจุบัน มีโรคระบาดเกิดขึ้นมากมายหลายชนิดและทวีความรุนแรงมากขึ้นเราทุกคนจึงจำเป็นต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและถูกวิธีเพื่อที่จะดำรงชีวิตต่อสู้กับโรคระบาดต่างๆได้ นอกจากนี้อาหารในปัจจุบันก็มีสารเคมีตกค้างมากมายที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายซึ่งถ้าเราสามารถปลูกผักเพื่อบริโภคก็จะปลอดภัยมากขึ้น ดังนั้นทางโรงเรียนวิทยาอิสลามมูลนิธิได้เล็งเห็นแล้วว่า สมควรเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนโดยการอบรมนักเรียนให้มีความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายที่ถูกต้อง การอบรมแกนนำ อสม.น้อย เพื่อที่จะทำงานร่วมกับครูอนามัยโรงเรียนในการดูแลนักเรียนและเฝ้าระวังการเกิดโรคระบาดในโรงเรียนให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะสามารถสร้างทัศนคติ และความเข้าใจแก่นักเรียนในการดูแลสุขภาพร่างกายตนเองและนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
นอกจากนี้ยังมีการอบรมแกนนำนักเรียนในการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อให้นักเรียนได้บริโภคอาหาร ที่ปลอดภัยและถูกหลักอนามัย
โรงเรียนวิทยาอิสลามมูลนิธิได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว และเห็นถึงคุณค่าของการ มีสุขภาพดีทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ จึงได้จัดทำโครงการเปลี่ยนวิถี มีภูมิคุ้มกัน แบ่งปันสุขภาพดีอย่างยั่งยืน ประจำปี 2566เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทัศนคติ และส่งเสริมการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องซึ่งจะนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดีห่างไกลจากโรคและสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง และมีภูมิคุ้มกันที่ดีต่อภัยคุกคามทางสุขภาพ

ร้อยละ 80 ของนักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง และมีภูมิคุ้มกันที่ดีต่อภัยคุกคามทางสุขภาพ

0.00 80.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ

ร้อยละ 80 ของนักเรียนมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ

0.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 90
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย

ชื่อกิจกรรม
การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด กว้าง 1 ยาว 3 เมตร จำนวน   1 ผืน          เป็นเงิน 900.- บาท                                     2. วัสดุอุปกรณ์กีฬา     เป็นเงิน 7,842.- บาท
  2. อบรมการออกกำลังกาย                             - ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน 6 ชม.ละ ๆ 600 บาท
                                     เป็นเงิน 3,600.- บาท

- อาหารว่างและเครื่องดื่ม 40 คนๆละ 2 มื้อๆละ 35.- บาท                     เป็นเงิน 2,800.-บาท - อาหารกลางวัน จำนวน 40 คนๆละ 50.-บาท                                 เป็นเงิน 2,000.- บาท               รวมเป็นเงิน  17,142.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่มอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการเล่นกีฬาประเภทต่างๆ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17142.00

กิจกรรมที่ 2 การอบรม อสม.น้อย

ชื่อกิจกรรม
การอบรม อสม.น้อย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

.  ค่าใช้จ่ายในการอบรม รวมเป็นเงิน -  ค่าวิทยากร 1 คนๆละ 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท                               เป็นเงิน  3,600.-บาท -  ค่าอาหารกลางวัน  จำนวน  20  คนๆ  50.-บาท
                                  เป็นเงิน  1,000.-บาท -  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน  20 คนๆละ        มื้อๆละ  35.-บาท      เป็นเงิน  1,400.-บาท - ค่าไวนิลโครงการขนาด กว้าง 1 เมตร ยาว 3 เมตร จำนวน 1 ผืน            เป็นเงิน 900.-บาท -  ค่าวัสดุอุปกรณ์ ใช้ในการอบรม                                  เป็นเงิน 800.- บาท รวมเป็นเงิน  7,700.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7700.00

กิจกรรมที่ 3 การอบรมวิธีการปลูกผักปลอดสารพิษ

ชื่อกิจกรรม
การอบรมวิธีการปลูกผักปลอดสารพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร 1 คน 6 ช.ม.ๆละ 600.- บาท                               เป็นเงิน 3,600.-บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 30 คนๆละ 50.- บาท 1 มื้อ
                                  เป็นเงิน 1,500.-บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 คนๆละ 35.-บาท 2 มื้อ                 เป็นเงิน 2,100.-บาท
  • ค่าป้ายไวนิลกิจกรรม กว้าง 1 เมตร ยาว 3 เมตร 1 ผืน                เป็นเงิน 900.-บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์          เป็นเงิน 7,000.-บาท
    รวมเป็นเงิน  15,100.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถปลูกผักปลอดสารพิษได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,942.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. เด็กและเยาวชนมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ
๒. เด็กและเยาวชนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงห่างไกลจากโรค
๓. เด็กและเยาวชนได้รับสารอาหารที่ดี มีคุณค่าทางโภชนาการและปลอดจากสารพิษ


>