กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแพรกหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจคัดกรองและให้ความรู้โรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแพรกหา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านแพรกหา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านแพรกหา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้สภาพปัญหาทางสุขภาพเปลี่ยนไปด้วยปัจจุบันแนวโน้มปัญหาสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้นจากสาเหตุโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเหล่านี้เป็นปัญหาที่สำคัญระดับประเทศและระดับโลก ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมาก เนื่องจากความเจริญทางด้านเทคโนโลยีและสภาสพแวดล้อม ส่งผลต่อวิถีชีวิตและก่อให่เกิดพฤติกรรมการสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ซึ่งหากไม่สามารถหยุดพฤติกรรมดังกล่าว จะส่งผลให่เกิดการเจ็บป่วย และเสียชีวิตตามมา นอกจจากนี้ยังสร้างภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา
จากการคัดกรองโรคในประชาการอายุ 35 ปีขึ้นไป ในปีงบประมาณ 2566 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแพรกหา พบว่าจำนวนประชากรที่มีภาวะความดันโลหิตจากการคัดกรอง (ไม่รวมผู้ป่วย) จำนวน 2,152 คน อยู่ในกลุ่มปกติ จำนวน 1,761 คน คิดเป็นร้อยละ 81.83 จำนวนประชากรที่มีภาวะความดันโลหิตจากการคัดกรอง (ไม่รวมผู้ป่วย) อยู่ในกลุ่มสงสัย เป็นโรค จำนวน 159 คน คิดเป็นร้อยละ 7.39 และจำนวนประชากรที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดจากการคัดกรอง (ไม่รวมผู้ป่วย) 2,663 คน อยู่ในกลุ่มปกติจำนวน 2,261 คน คิดเป็นร้อยละ 88.90 จำนวนประชากรที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดจากการคัดกรอง (ไม่รวมผู้ป่วย)เสี่ยงจำนวน 343 คน คิดเป็นร้อยละ 12.88 จำนวน ประชากรที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดจากการคัดกรอง อยู่ในกลุ่มสงสัยเป็นโรคจำนวน 59 คนคิดเป็นร้อยละ 2.22 อัตราป่วยรายใหม่ของโรคความดันโลหิตสูง พบว่า ปี 2561 จำนวน 1,530.18 ต่อแสนประชากร ปี 2564 จำนวน 963.33 ต่อแสนประชากร ประจำปี 2565 จำนวน 796.07 ต่อแสนประชากรน อัตราป่วยรายใหม่ของโรคเบาหวาน พบว่า ปี 2561 จำนวน 454.01 ต่อแสนประชากร ปี2564 จำนวน 371.81 ต่อแสนประชากร ปละปี 2565 จำนวนย 711.38 ต่อแสนประชาการ การที่มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นทำให้ประเทศชาติสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดุแลรักษา ดังนั้น การส่งเสริมสุขภาพ ให้ประชาชนไม่เป็นโรคเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพราะจะทำให้ประชาชนสุขภาพชีวิตที่ดี และไม่สูญเสียงบประมาณในการดูแลการเจ็บป่วย แนวทางการป้องกันและควบคุมจึงเป็นทางเลือกที่ดี การป้องกันและควบคุมโรคซึ่งสามารถกระทำได้ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับบุคคล ครอบครัวชุมชน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านแพรกหา ได้หาแนวทางในการแก้ปัญหาด้สยการคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ให้ได้รับการวินิจฉัยและเข้าสู่ระบบการรักษาที่รวดเร็ว สำหรับกลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดอัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคเบาหวานตำบลแพรกหา ปีงบประมาณ 2566

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ในประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ร้อยละ 90

1.1 ประชากรกลุ่มอายุ 35 ปี ขึ้นไป (จำนวน 2,780 ราย) ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงตามหลัก 3 อ. 2 ส. ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน (ค่า DTX=100mg/dl)และกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง (ค่าความดันโลหิต SBP > 130-179 sinv DBP > 85-109)

2.1กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ.2 ส. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด 2.2 กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงได้ ร้อยละ 40

0.00
3 เพื่อติดตามกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มสงสัยเบาหวาน (ค่า DTX=100mg/dl) มารับการเจาะ FBS หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยเบาหวาน (ค่า DTX=100mg/dl) มารับการเจาะ FBS หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 50

0.00
4 เพื่อติดตามกลุ่มสงสัยความดันโลหิตสูงติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

กลุ่มสงสัยความดันโลหิตสูงติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน ร้อยละ 90

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,850
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1กิจกรรมย่อยจัดซื้อ แถบตรวจน้ำตาลในเลือด -ค่าแถบตรวจระดับน้ำตาลในเลือด พร้อมเข็มเจาะ จำนวน 30 กล่องๆละ 960 บาทเป็นเงิน 28,800  บาท (กล่องละ 100 ชิ้น) -เครื่องตรวจน้ำตาล เครื่องละ 2,650 บาท จำนวน 3 เครื่อง เป็นเงิน 7,950 บาท 1.2กิจกรรมย่อย จัดจ้างแบบคำแนะนำการปฏิบัติตัว แจ้งผลการคัดกรอง นัดตรวจซ้ำ -ค่าถ่ายเอกสาร คำแนะนำการปฏิบัติตัว แจ้งผลการคัดกรอง นัดตรวจซ้ำ จำนวน 2,800 แผ่นๆละ 0.5 บาทเป็นเงิน 1,400 บาท 2.ให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ ตามหลัก 3 อ.2 ส. 2.1 กิจกรรมย่อย -จัดอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ ตามหลัก 3อ.2ส. ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน  และกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง (ค่าความดันโลหิต SBP > 130-179 หรือ DBP >85-109)
3.เจาะ FBS กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน (ค่า DTX=100mg/dl) หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 4.ติดตามกลุ่มสงสัยความดันโลหิตสูงติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 2 ตุลาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
38150.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 38,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 90
2.กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ 2 ส.
3.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน(ค่า DTX=100mg/dl) ได้รับการเจาะ FBS ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
4.กลุ่มสงสัยความดันโลหิตสูงติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน ร้อยละ 90
5.กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบ่าหวานแฃะโรคความดันโลหิตสูงได้ร้อยละ 40


>