กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองและให้ความรู้โรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านแพรกหา
วันที่อนุมัติ
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 38,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2850 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้สภาพปัญหาทางสุขภาพเปลี่ยนไปด้วยปัจจุบันแนวโน้มปัญหาสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้นจากสาเหตุโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเหล่านี้เป็นปัญหาที่สำคัญระดับประเทศและระดับโลก ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมาก เนื่องจากความเจริญทางด้านเทคโนโลยีและสภาสพแวดล้อม ส่งผลต่อวิถีชีวิตและก่อให่เกิดพฤติกรรมการสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ซึ่งหากไม่สามารถหยุดพฤติกรรมดังกล่าว จะส่งผลให่เกิดการเจ็บป่วย และเสียชีวิตตามมา นอกจจากนี้ยังสร้างภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา จากการคัดกรองโรคในประชาการอายุ 35 ปีขึ้นไป ในปีงบประมาณ 2566 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแพรกหา พบว่าจำนวนประชากรที่มีภาวะความดันโลหิตจากการคัดกรอง (ไม่รวมผู้ป่วย) จำนวน 2,152 คน อยู่ในกลุ่มปกติ จำนวน 1,761 คน คิดเป็นร้อยละ 81.83 จำนวนประชากรที่มีภาวะความดันโลหิตจากการคัดกรอง (ไม่รวมผู้ป่วย) อยู่ในกลุ่มสงสัย เป็นโรค จำนวน 159 คน คิดเป็นร้อยละ 7.39 และจำนวนประชากรที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดจากการคัดกรอง (ไม่รวมผู้ป่วย) 2,663 คน อยู่ในกลุ่มปกติจำนวน 2,261 คน คิดเป็นร้อยละ 88.90 จำนวนประชากรที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดจากการคัดกรอง (ไม่รวมผู้ป่วย)เสี่ยงจำนวน 343 คน คิดเป็นร้อยละ 12.88 จำนวน ประชากรที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดจากการคัดกรอง อยู่ในกลุ่มสงสัยเป็นโรคจำนวน 59 คนคิดเป็นร้อยละ 2.22 อัตราป่วยรายใหม่ของโรคความดันโลหิตสูง พบว่า ปี 2561 จำนวน 1,530.18 ต่อแสนประชากร ปี 2564 จำนวน 963.33 ต่อแสนประชากร ประจำปี 2565 จำนวน 796.07 ต่อแสนประชากรน อัตราป่วยรายใหม่ของโรคเบาหวาน พบว่า ปี 2561 จำนวน 454.01 ต่อแสนประชากร ปี2564 จำนวน 371.81 ต่อแสนประชากร ปละปี 2565 จำนวนย 711.38 ต่อแสนประชาการ การที่มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นทำให้ประเทศชาติสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดุแลรักษา ดังนั้น การส่งเสริมสุขภาพ ให้ประชาชนไม่เป็นโรคเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพราะจะทำให้ประชาชนสุขภาพชีวิตที่ดี และไม่สูญเสียงบประมาณในการดูแลการเจ็บป่วย แนวทางการป้องกันและควบคุมจึงเป็นทางเลือกที่ดี การป้องกันและควบคุมโรคซึ่งสามารถกระทำได้ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับบุคคล ครอบครัวชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านแพรกหา ได้หาแนวทางในการแก้ปัญหาด้สยการคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ให้ได้รับการวินิจฉัยและเข้าสู่ระบบการรักษาที่รวดเร็ว สำหรับกลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดอัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคเบาหวานตำบลแพรกหา ปีงบประมาณ 2566

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ในประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ร้อยละ 90

1.1 ประชากรกลุ่มอายุ 35 ปี ขึ้นไป (จำนวน 2,780 ราย) ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงตามหลัก 3 อ. 2 ส. ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน (ค่า DTX=100mg/dl)และกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง (ค่าความดันโลหิต SBP > 130-179 sinv DBP > 85-109)

2.1กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ.2 ส. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด 2.2 กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงได้ ร้อยละ 40

0.00
3 เพื่อติดตามกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มสงสัยเบาหวาน (ค่า DTX=100mg/dl) มารับการเจาะ FBS หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยเบาหวาน (ค่า DTX=100mg/dl) มารับการเจาะ FBS หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 50

0.00
4 เพื่อติดตามกลุ่มสงสัยความดันโลหิตสูงติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

กลุ่มสงสัยความดันโลหิตสูงติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน ร้อยละ 90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 38,150.00 0 0.00
8 ก.พ. 66 - 2 ต.ค. 66 กิจกรรมคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป 0 38,150.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 90 2.กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ 2 ส. 3.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน(ค่า DTX=100mg/dl) ได้รับการเจาะ FBS ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 4.กลุ่มสงสัยความดันโลหิตสูงติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน ร้อยละ 90 5.กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบ่าหวานแฃะโรคความดันโลหิตสูงได้ร้อยละ 40

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2566 21:14 น.