กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.รือเสาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุเพื่อการป้องกันโรคหัวใจและภาวะสมองเสื่อม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.รือเสาะ

ชมรมผู้สูงอายุบ้านสโลว์บูกิ๊ตจือแร

1. นายวาเซ็งมะนามิง
2. นายดอเลาะสาและ
3.นายมะสือรอมะซง
4. นายยูโซะดือราแม
5.นางหาสือนะโตะฝ้าย

พื้นที่ หมู่ 7 และ ม.9 ตำบลรือเสาะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง เช่น ตาต้อ กระจก เป็นต้น (คน)

 

2.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

5.00
3 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

5.00
4 ร้อยละสถานที่หรือพื้นที่สาธารณะที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ

 

4.00
5 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีกลุ่มหรือสังกัดชมรม

 

5.00
6 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ปลอดภัย เพื่อสุขภาพอย่างเพียงพอ

 

5.00

ชมรมผู้สูงอายุบ้านสโลว์บูกิ๊ตจือแร ถือกำเหนิดเกิดขึ้นโดยเห็นความสำคัญในสภาพปัญหาของผู้สูงอายุ ทั้งเรื่องสุขภาพและสังคม โดยพบว่า หมู่ 7 บ้านสโลว์ มีผู้สูงอายุจำนวน 142 คน ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง จำนวน 55 คนหมู่ 9 มีผู้สูงอายุ จำนวน 94คน ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง32 คนรวมผู้สูงอายุทั้งสองหมู่บ้าน 236 คน ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง (ความดันโลหิตสูงเบาหวาน หัวใจ) จำนวน87 คน คิดเป็นร้อยละ 36.86 ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่สูงมาก
ดังนั้น ชมรมผู้สูงอายุบ้านสโลว์บูกิ๊ตจือแร จึงได้จัดทำ โครงการอบรมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุเพื่อการป้องกันโรคหัวใจและภาวะสมองเสื่อม เพื่อให้ผู้สูงอายุที่ยังไม่ป่วย (กลุ่มติดสังคม) รวมทั้งเพื่อการเตรียมความพร้อมสำหรับบุคคลทั่วไปที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไปได้เรียนรู้และมีความตระหนักในการส่งเสริมป้องกันโรคที่มาพร้อมกับในวัยผู้สูงอายุ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง
  1. ร้อยละ  50 ผู้สูงอายุสมัครเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ
  2. ร้อยละ 80 ผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังไม่เกิดโรคแทรกซ้อนจากอาการป่วย
5.00 1.00
2 2. เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นจากโรคเรื้อรัง
  1. ร้อยละ 80 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 55 ปี ขึ้นไป มีการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และรู้จักการป้องกันโรคเรื้อรัง
2.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 40
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 40
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 การอบรมพัฒนาทักษะและเตรียมความพร้อมการก้าวสู่ “ผู้สูงอายุคุณภาพ” แก่คณะกรรมการชมรม ผู้สูงอายุบ้านสโลว์บูกิ๊ตจือแร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 การอบรมพัฒนาทักษะและเตรียมความพร้อมการก้าวสู่ “ผู้สูงอายุคุณภาพ” แก่คณะกรรมการชมรม ผู้สูงอายุบ้านสโลว์บูกิ๊ตจือแร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน มื้อละ 60 บาท x 20 คนเป็นเงิน1200 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 30 บาท x 2 มื้อ x 20 คน เป็นเงิน 1200 บาท
  • ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท x 2 ชั่วโมง เป็นเงิน 1200 บาท
  • ค่าวัสดุในการจัดอบรม ค่าปากกาเคมี จำนวน 10 ด้ามๆละ 20 บาท เป็นเงิน 200 บาท
  • ค่าสมุดบันทึกสำหรับผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 20 เล่มๆละ 20 บาท เป็นเงิน 400 บาท
  • ค่าปากกา ด้ามละ 8 บาท จำนวน 20 ด้าม เป็นเงิน 160 บาท
  • ค่าไวนิล 800 บาท รวม 5160 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุมีศักยภาพเพิ่มขึ้นในการพัฒนาส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5160.00

กิจกรรมที่ 2 2. อบรมเชิงปฏิบัติการ การเสริมสร้างสุขภาพจิตและการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
2. อบรมเชิงปฏิบัติการ การเสริมสร้างสุขภาพจิตและการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน มื้อละ 60 บาท x 50 คนเป็นเงิน3000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 30 บาท x 2 มื้อ x 50 คน เป็นเงิน 3000 บาท
  • ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท x 5 ชั่วโมง เป็นเงิน 3000 บาท
  • ค่ากระเป๊าใส่เอกสาร ใบละ50 บาท x 50 คน เป็นเงิน2500 บาท
  • ค่าปากกาเคมี จำนวน 10 ด้ามๆละ 20 บาท เป็นเงิน 200 บาท
  • ค่าสมุดบันทึกสำหรับผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 50 เล่มๆละ 20 บาท เป็นเงิน 1000 บาท
  • ค่าปากกา จำนวน 50 ด้าม ๆละ 8 บาท เป็นเงิน 400 บาท รวมเป็นเงิน 13100 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้สูงอายุ มีกำลังใจ มีความหวัง และมีความสุขในการเข้าร่วมกิจกรรม 2. ลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นจากโรคเรื้อรัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13100.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 อบรมเชิงสัมมนา การก้าวย่างสู่สังคมผู้สูงอายุคุณภาพห่างไกลโรคหลอดเลือดสมองและโรคหัวใจ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 อบรมเชิงสัมมนา การก้าวย่างสู่สังคมผู้สูงอายุคุณภาพห่างไกลโรคหลอดเลือดสมองและโรคหัวใจ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน มื้อละ 60 บาท x 100 คนเป็นเงิน6000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 30 บาท x 2 มื้อ x 100 คน เป็นเงิน 6000 บาท
  • ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท x 5 ชั่วโมง เป็นเงิน 3000 บาท
  • ค่ากระเป๊าใส่เอกสาร ใบละ50 บาท x 100 คน เป็นเงิน5000 บาท รวม 20000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. วัยทำงานอายุ 55 ปี ขึ้นไป มีการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
  2. เกิดการตระหนักรู้ เรื่องการดูแลสุขภาพก่อนป่วย
  3. การการวางแผนของชุมชนในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 38,260.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุเห็นความความสำคัญของการมีชมรมผู้สูงอายุ
2.ผู้สูงอายุได้มีการรวมกลุ่มการทำกิจกรรมทำให้ช่วยลดความเครียด
3. ลดจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
4. ผู้สูงอายุรับทราบถึงสวัสดิการต่างๆที่พึงได้รับ


>