กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะรุบี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการดูแลใส่ใจ ต้านภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะรุบี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงยือแบ็ง

พื้นที่ตำบลกะรุบี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญ พบมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม
ในผู้หญิงไทยปัจจุบันมีการศึกษายืนยันชัดเจนแล้วว่ามะเร็งปากมดลูก เกิดจากเชื้อ Human Papilloma virus หรือเรียกสั้นๆ ว่า ‘HPV’ชนิดที่ก่อให้เกิดมะเร็งมีด้วยกันหลายสายพันธุ์ ซึ่งปัจจุบันพบว่า สายพันธุ์ที่ 16 และ 18HPV เป็นเชื้อที่ติดง่าย ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และ ทางการสัมผัสจากพาหะที่นำพาเชื้อไปสู่ช่องคลอด
ดังนั้น ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ทุกคนมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HPV ซึ่งก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้ยังมีการ
สึกษา พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้น, มีเพศสัมพันธ์หลายคน, สูบบุหรี่, มีลูกจำนวนมาก และผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่องโดยมีอาการที่แสดงของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการในช่วงแรก แต่เมื่อเข้าสู่ระยะรุนแรงมากขึ้น อาจมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดหลังมีเพศสัมพันธ์ หรือจากการตรวจภายใน อาจจะมีภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดที่ไม่ใช่รอบเดือน มีเลือดออกหลังจากเข้าสู่วัยทองแล้ว และอาจจะมีภาวะตกขาวมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ หรือมีอาการปวดท้องน้อยร่วมด้วยจากสถิติ
พบว่าผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์ เมื่อเข้าสู่ระยะลุกลามแล้ว ทำให้การรักษาเป็นไปได้ยากและมีค่าใช้จ่ายสูง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถิติผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทยประมาณ 4,500 รายต่อปี และพบผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 8,000 คน ต่อปีนั่นคือจะมีสตรีไทยที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง ปากมดลูก วันละ 8-10 ราย
จากการดำเนินงานที่ผ่านมา นั้น การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยการตรวจแป๊บสเมียร์ (Conventional Pap Smear) เป็นการเก็บเซลล์ปากมดลูกมาป้ายบนสไลด์ความแม่นยำในการตรวจขึ้นอยู่กับความชำนาญของผู้อ่านสไลด์แต่ในปัจจุบัน มีวิธีการตรวจแบบเจาะลึกระดับยีนสืโครโมโซม(DNA)ด้วยเทคนิค ‘HPV DNA Testing’ ที่สามารถค้นหาเชื้อ HPV อย่างแม่นยำตั้งแต่ระยะแรก ทำให้สามารถรักษาได้ทันท่วงที ก่อนที่เชื้อจะพัฒนาเป็นมะเร็งปากมดลูก หากตรวจพบเร็วจะมีโอกาสรักษาหายขาดถึง 80-90%
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงยือแบ็ง เห็นความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยชุดHPV DNA Test

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

ข้อที่ 1 เพื่อสร้างเจตคติที่ดีให้กับกลุ่มเป้าหมายต่อการเข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
ข้อที่ 2 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งระยะลุกลามในสตรี และเพิ่มอัตรารอดชีวิตจากโรคมะเร็ง ส่งเสริมสุขภาพสตรีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ข้อที่ 3 เพื่อให้สตรีที่คัดกรองที่พบความผิดปกติ ได้รับการส่งต่อพบแพทย์ทันที

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
1.ให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40คนๆ ละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ            เป็นเงิน   2,000  บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆ  ละ 25 บาท 1 มื้อ         เป็นเงิน  2,000  บาท -ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท                    เป็นเงิน   3,000  บาท -ค่าวัสดุและอุปกรณ์                                                               เป็นเงิน  3,500     บาท -ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1x2 เมตร                           เป็นเงิน  700  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 ของสตรีอายุ 30 - 70 ปี ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจ เรื่องโรคมะเร็งเต้านมมากขึ้นสามารถตรวจหาก้อนมะเร็งได้ด้วยตนเอง โดยผ่านการประเมินทักษะ การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ได้อย่างถูกต้องจากเจ้าหน้าที่ ร้อยละ 20 (สะสม 5 ปี เท่ากับร้อยละ 80 ) ของสตรีอายุ 30 – 70 ปี มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกมากขึ้นและได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก สตรีที่คัดกรองที่พบความผิดปกติ ได้รับการส่งต่อพบแพทย์ทันที คิดเป็นร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11200.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์เชิงรุกในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์เชิงรุกในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อสม จำนวน 21 คนๆ ละ 25 บาท 2 มื้อ 2 วัน
    เป็นเงิน  1,050  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 ของสตรีอายุ 30 - 70 ปี ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจ เรื่องโรคมะเร็งเต้านมมากขึ้นสามารถตรวจหาก้อนมะเร็งได้ด้วยตนเอง โดยผ่านการประเมินทักษะ การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ได้อย่างถูกต้องจากเจ้าหน้าที่ ร้อยละ 20 (สะสม 5 ปี เท่ากับร้อยละ 80 ) ของสตรีอายุ 30 – 70 ปี มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกมากขึ้นและได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก สตรีที่คัดกรองที่พบความผิดปกติ ได้รับการส่งต่อพบแพทย์ทันที คิดเป็นร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1050.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายมีเจตคติที่ดีต่อการเข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
2. ลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งระยะลุกลามในสตรี และเพิ่มอัตรารอดชีวิตจากโรคมะเร็ง ส่งเสริมสุขภาพสตรีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
3. สตรีที่คัดกรองที่พบความผิดปกติ ได้รับการส่งต่อพบแพทย์ทันที


>