กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกโพธิ์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กดี (สมาร์ทคิด)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกโพธิ์

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกโพธิ์

เทศบาลตำบลโคกโพธิ์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กระทรวงสาธารณสุขใช้การสร้างภูมิคุ้มกันเป็นกลวิธีและหลักสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อได้โดยใช้วัคซีนและบรรจุไว้ใต้แผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มโรค โดยการให้วัคซีนแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายด้วยการผสมผสานเข้ากับการบริการสาธารณสุขตามระบบปกติ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเด็กอายุ 0-5 ปี ตำบลโคกโพธิ์ และรณรงค์ให้ผู้ปกครองมีความรู้ มีทัศนคติในการนำบุตรหลานมารับวัคซีนและติดตามภาวะโภชนาการ พัฒนาการและทันตฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัจจุบันยังคงเกิดสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่ง ต่อการดำเนินงานในเชิงรุกอันส่งผลให้การดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และภาวะโภชนาการ พัฒนาการและทันตฯ ตรวจต้องให้ความครอบคลุมตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้หากไม่มีการดำเนินการที่เหมาะสมอาจส่งผลให้เกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน และเด็กจะขาดสารอาหารมีพัฒนาการที่ล่าช้า ฟันผุ ทำให้มีแนวโน้มการเกิดโรคที่สามารถป้องได้มากยิ่งขึ้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกโพธิ์เห็นความสำคัญในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและส่งเสริมภาวะโภชนาการ พัฒนาการและทันตฯ ให้กับเด็กอายุ 0–5 ปี
ในช่วงปีงบประมาณ ๒๕๖5 ที่ผ่านมาจะพบว่าพื้นที่เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกโพธิ์ เขตเทศบาลตำบลโคกโพธิ์ มีเด็กฉีดวัคซีน จำนวน 223 คน (ม.4=163 คน/ม.7=60 คน) ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์อายุ ได้รับวัคซีน จำนวน 161 คน คิดเป็นร้อยละ 72.20 %ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์ และ ภาวะโภชนาการเด็ก0-๕ ปีจำนวน 185คน คิดเป็นร้อยละ 82.96 %ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์และมีพัฒนาการไม่สมตามวัยและมีฟันผุ ซึ่งพัฒนาการทางด้านร่างกายนี้อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญาอารมณ์จิตใจและสังคมเด็กตามมา จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิตการแก้ไขปัญหาโดยการมีมุมส่งเสริมโภชนาการ พัฒนาการเด็ก ในสถานพยาบาลและการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้หมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ดูแลเด็กและส่งเสริมให้ครอบครัวชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก จากสภาพปัญหาดังกล่าวจึงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกโพธิ์ ได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กดี(สมารท์คิด)เพื่อส่งเสริมให้เด็กไทยมีสุขภาพสมบูรณ์ปลอดภัยจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน สูงดีสมส่วน พัฒนาการดีและฟันไม่ผุ และไม่ซีด ซึ่งเป็นบันไดสู่ความสำเร็จของการมีสุขภาพดี เพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขต่อไป
ในบริบททางสังคมเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้การดำรงชีพของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปทำให้การเลี้ยงดูบุตรมีเวลาน้อยลงซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญของการสร้างรากฐานชีวิตจิตใจ ร่างกาย และสมองกำลังเจริญเติบโตสูงสุดของเด็กวัยนี้มาก ซึ่งการดูแลสุขภาพที่ดีเป็นสิ่งจำเป็น จากผลการดำเนินงานการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคปี 2565 พบว่าเด็กต้องได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์อายุน้อยกว่าร้อยละ 90และเด็กน้ำหนักเกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ 90 มีพัฒนาการไม่สมวัย มีฟันผุ และมีภาวะซีดซึ่งก็ยังเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อสุขภาพเด็ก ดังนั้นทาง รพสต.โคกโพธิ์ ยังคงดำเนินโครงการนี้อย่างต่อเนื่องต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมสุขภาพให้เด็ก 0-5 ปีได้รับวัคซีน ครบตามเกณฑ์และมีภาวะโภชนาการส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีพัฒนาการสมวัยและฟันไม่ผุ

ร้อยละของเด็ก 0-5 ปี สูงดีสมส่วนมากกว่าร้อยละ 66

0.00
2 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพพ่อแม่หรือผู้ดูแลเด็กให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องและตระหนักในการดูแลเด็ก

ร้อยละของเด็ก 0-5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

0.00
3 3. เพื่อให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพ ด้านโภชนาการ ที่ถูกต้อง

ร้อยละของเด็ก 0-5 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองพัฒนาการไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 และพบว่ามีพัฒนาการล่าช้าไม่น้อยกว่าร้อยละ 20

0.00
4 4. เพื่อติดตามเยี่ยมเด็กที่มีน้ำหนักน้อยและขาดสารอาหาร

ร้อยละของเด็ก 0-5 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะซีดไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ร้อยละของเด็ก 0-5 ปี ได้รับการตรวจฟันไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 09/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงโครงการ ฯ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงโครงการ ฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน คนละ 25 บาท เป็นเงิน 750 บาท
  2. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการฯ ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 3 เมตร จำนวน 1 ผืนๆละ 600  บาท เป็นเงิน 600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1350.00

กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้เชิงปฏิบัติการแก่ผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้เชิงปฏิบัติการแก่ผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆละ 25  บาท จำนวน 60 คน เป็นเงิน  3,000  บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 60 บาท จำนวน 60 คน เป็นเงิน  3,600  บาท
  3. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน   3,600 บาท
  4. ค่ากระเป๋าใส่เอกสารการอบรม จำนวน 60 ใบๆละ 80 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
  5. ค่าเอกสารการอบรมฯ จำนวน 60 ชุดๆละ 20 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
  6. เครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิตอล จำนวน 10เครื่องๆละ 1,000 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26200.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามเด็กขาดสารอาหารและชั่งน้ำหนัก เดือนละครั้ง เป็นเวลา 3 เดือน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเด็กขาดสารอาหารและชั่งน้ำหนัก เดือนละครั้ง เป็นเวลา 3 เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่ายานพาหนะในการเยี่ยม จำนวน50บาท จำนวน 20 คน(เดือนละ1ครั้ง)จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 3,000 บาท 2.ค่าอาหารเสริม (นมUHT) จำนวน 90 กล่องๆละ 10 บาท จำนวน 20 คน เป็นเงิน 18,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21000.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามให้มารับวัคซีน/ตรวจพัฒนาการ/เคลือบฟลูออไรด์

ชื่อกิจกรรม
ติดตามให้มารับวัคซีน/ตรวจพัฒนาการ/เคลือบฟลูออไรด์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่ายานพาหนะในการติดตาม จำนวน50บาท จำนวน 30 คน(เดือนละ1ครั้ง)จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 4,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 53,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>