กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กดี (สมาร์ทคิด)
รหัสโครงการ 66-L8282-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกโพธิ์
วันที่อนุมัติ 9 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 53,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนัยรัตน์ อาลีดีมัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ เทศบาลตำบลโคกโพธิ์
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กระทรวงสาธารณสุขใช้การสร้างภูมิคุ้มกันเป็นกลวิธีและหลักสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อได้โดยใช้วัคซีนและบรรจุไว้ใต้แผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มโรค โดยการให้วัคซีนแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายด้วยการผสมผสานเข้ากับการบริการสาธารณสุขตามระบบปกติ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเด็กอายุ 0-5 ปี ตำบลโคกโพธิ์ และรณรงค์ให้ผู้ปกครองมีความรู้ มีทัศนคติในการนำบุตรหลานมารับวัคซีนและติดตามภาวะโภชนาการ พัฒนาการและทันตฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัจจุบันยังคงเกิดสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่ง ต่อการดำเนินงานในเชิงรุกอันส่งผลให้การดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และภาวะโภชนาการ พัฒนาการและทันตฯ ตรวจต้องให้ความครอบคลุมตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้หากไม่มีการดำเนินการที่เหมาะสมอาจส่งผลให้เกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน และเด็กจะขาดสารอาหารมีพัฒนาการที่ล่าช้า ฟันผุ ทำให้มีแนวโน้มการเกิดโรคที่สามารถป้องได้มากยิ่งขึ้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกโพธิ์เห็นความสำคัญในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและส่งเสริมภาวะโภชนาการ พัฒนาการและทันตฯ ให้กับเด็กอายุ 0–5 ปี
ในช่วงปีงบประมาณ ๒๕๖5 ที่ผ่านมาจะพบว่าพื้นที่เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกโพธิ์ เขตเทศบาลตำบลโคกโพธิ์ มีเด็กฉีดวัคซีน จำนวน 223 คน (ม.4=163 คน/ม.7=60 คน) ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์อายุ ได้รับวัคซีน จำนวน 161 คน คิดเป็นร้อยละ 72.20 %ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์ และ ภาวะโภชนาการเด็ก0-๕ ปีจำนวน 185คน คิดเป็นร้อยละ 82.96 %ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์และมีพัฒนาการไม่สมตามวัยและมีฟันผุ ซึ่งพัฒนาการทางด้านร่างกายนี้อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญาอารมณ์จิตใจและสังคมเด็กตามมา จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิตการแก้ไขปัญหาโดยการมีมุมส่งเสริมโภชนาการ พัฒนาการเด็ก ในสถานพยาบาลและการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้หมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ดูแลเด็กและส่งเสริมให้ครอบครัวชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก จากสภาพปัญหาดังกล่าวจึงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกโพธิ์ ได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กดี(สมารท์คิด)เพื่อส่งเสริมให้เด็กไทยมีสุขภาพสมบูรณ์ปลอดภัยจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน สูงดีสมส่วน พัฒนาการดีและฟันไม่ผุ และไม่ซีด ซึ่งเป็นบันไดสู่ความสำเร็จของการมีสุขภาพดี เพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขต่อไป ในบริบททางสังคมเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้การดำรงชีพของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปทำให้การเลี้ยงดูบุตรมีเวลาน้อยลงซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญของการสร้างรากฐานชีวิตจิตใจ ร่างกาย และสมองกำลังเจริญเติบโตสูงสุดของเด็กวัยนี้มาก ซึ่งการดูแลสุขภาพที่ดีเป็นสิ่งจำเป็น จากผลการดำเนินงานการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคปี 2565 พบว่าเด็กต้องได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์อายุน้อยกว่าร้อยละ 90และเด็กน้ำหนักเกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ 90 มีพัฒนาการไม่สมวัย มีฟันผุ และมีภาวะซีดซึ่งก็ยังเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อสุขภาพเด็ก ดังนั้นทาง รพสต.โคกโพธิ์ ยังคงดำเนินโครงการนี้อย่างต่อเนื่องต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมสุขภาพให้เด็ก 0-5 ปีได้รับวัคซีน ครบตามเกณฑ์และมีภาวะโภชนาการส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีพัฒนาการสมวัยและฟันไม่ผุ

ร้อยละของเด็ก 0-5 ปี สูงดีสมส่วนมากกว่าร้อยละ 66

0.00
2 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพพ่อแม่หรือผู้ดูแลเด็กให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องและตระหนักในการดูแลเด็ก

ร้อยละของเด็ก 0-5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

0.00
3 3. เพื่อให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพ ด้านโภชนาการ ที่ถูกต้อง

ร้อยละของเด็ก 0-5 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองพัฒนาการไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 และพบว่ามีพัฒนาการล่าช้าไม่น้อยกว่าร้อยละ 20

0.00
4 4. เพื่อติดตามเยี่ยมเด็กที่มีน้ำหนักน้อยและขาดสารอาหาร

ร้อยละของเด็ก 0-5 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะซีดไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ร้อยละของเด็ก 0-5 ปี ได้รับการตรวจฟันไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 53,050.00 0 0.00
1 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 ประชุมชี้แจงโครงการ ฯ 0 1,350.00 -
1 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 ให้ความรู้เชิงปฏิบัติการแก่ผู้ปกครอง 0 26,200.00 -
1 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 ติดตามเด็กขาดสารอาหารและชั่งน้ำหนัก เดือนละครั้ง เป็นเวลา 3 เดือน 0 21,000.00 -
1 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 ติดตามให้มารับวัคซีน/ตรวจพัฒนาการ/เคลือบฟลูออไรด์ 0 4,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็ก 0-5 ปีได้รับวัคซีน ครบตามเกณฑ์ที่กำหนดและมีภาวะโภชนาการส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีพัฒนาการสมวัย/ฟันไม่ผุ/ไม่ซีด
  2. พ่อแม่หรือผู้ดูแลเด็กมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องและตระหนักในการดูแลเด็ก
  3. เด็กที่ได้รับการติดตามมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น
  4. ผู้ปกครองพาบุตรหลานมารับวัคซีนตามเกณฑ์เพิ่มขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2566 14:35 น.