กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะรุบี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสตรีรู้เร็ว รู้จักป้องกันมะเร็ง ประจำปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะรุบี

กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิ องค์รวมและยุทธศาสตร์โรงพยาบาลกะพ้อ อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี

หมู่ 1,2,3,4,7

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการตายจากโรคมะเร็งของสตรีในประเทศ ไทย ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยเฉพาะโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งในสตรี พบได้ถึง ๓ คน ในประชากรหนึ่งแสนคน ในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกเสียชีวิต ประมาณ ๔,๕๐๐ ราย ส่วนใหญ่มีอายุประมาณ ๓๐ - ๕๐ ปี ซึ่งที่ผ่านมาใช้วิธีการตรวจมะเร็ง ปากมดลูกด้วยการตรวจ Pap Smear และถ้าหากตรวจทุก ๒ ปี สามารถลดการเป็นมะเร็งระยะลุกลามได้ ๙๒ % ถึงแม้กระบวนการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก จะง่าย สะดวก ราคาถูก แต่ยังพบว่าสตรีจำนวนมากไม่เห็นความสำคัญ มีทัศนคติ ที่ไม่ดีต่อการตรวจ
Pap Smear จังหวัดปัตตานีในปี 2564 เริ่มมีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี HPV DNA TEST ส่วนโรคมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ ผิดปกติในระยะเริ่มต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นและสำคัญที่ต้องทำการตรวจค้นหามะเร็งเต้านมใน ระยะเริ่มต้น การรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก การค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นสามารถรักษา ให้หายขาดได้และการรักษาอาจทำได้โดยการตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออกไม่จำเป็นต้องผ่าตัดทั้งเต้านม ในทางตรงกันข้ามหากไม่มีการตรวจค้นหามะเร็งเต้านม รอจนกระทั่งมีอาการผิดปกติ มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยัง อวัยวะอื่น ๆ แล้ว และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
สถานการณ์ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐ - ๖๐ ในเขตพื้นที่ รับผิดชอบของกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิ องค์รวมและยุทธศาสตร์ โรงพยาบาลกะพ้อ พบว่ากลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในปี ๒๕62-๒๕65 ร้อยละ 47.39,54.67 ,13.93 และ 14.5. ตามลำดับ ปีงบประมาณ 2565 พบผู้ที่มีเซลล์ผิดปกติทั้งสิ้น3 รายได้รับการส่งต่อไปยังรพร.ยุพราชสายบุรี เพื่อตรวจชิ้นเนื้อ พบว่าผลปกติทั้ง 3 ราย และกลุ่มเป้าหมายอายุ๓0-70ปีได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านมในปี ๒๕62-๒๕65 ร้อยละ 83.81,55.86 แล71.05 และ 75.80 ตามลำดับ และพบผู้ป่วยเสียชีวิตจาดโรคมะเร็งเต้านม1 ราย ซึ่งผู้ป่วยที่เสียชีวิต
จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่า กลุ่มคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ยังไม่เข้ารับการตรวจจะเป็นกลุ่มที่ยากต่อการติดตามเข้ารับบริการ และการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองที่ไม่พบความผิดปกติ อาจเกิด จากการตรวจที่ไม่ถูกต้อง เทคนิคหรือแบบการตรวจคัดกรองที่มีความซับซ้อนไม่เข้าใจพร้อมทั้งกลุ่มเป้าหมาย และ
แกนนำอสม. ยังขาดความรู้ความเข้าใจและความตระหนักในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ดังนั้นทางศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลกะพ้อ จึงได้จัดทำโครงการสตรี รู้เร็วรู้จักป้องกันมะเร็งประจำปีงบประมาณ ๒๕66 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อให้สตรีที่มีอายุ 30-60 ปี มีความรู้ และเกิดความตระหนักในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
2.เพื่อให้สตรีที่มีอายุ 30-70 ปี มีความรู้ และมีทักษะในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง
3.เพื่อให้สตรีที่พบความผิดปกติได้รับการส่งต่อ เพื่อการวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็ว

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในกลุ่มสตรีที่มีอายุ30-70 ปี

ชื่อกิจกรรม
เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในกลุ่มสตรีที่มีอายุ30-70 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าไวนิล ขนาด 1ม * 2ม  (1 ป้าย)  จำนวน  700  บาท -ค่าอาหารกลางวัน  100 คนๆ ละ 50 บาท x 1 มื้อ จำนวน  5000 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 100 คนๆละ 25 บาท x 2 มื้อ จำนวน  5,000  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.สตรีที่มีอายุ 30-60 ปี ได้รับความรู้ และเกิดความตระหนักในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 80 2.สตรีที่มีอายุ 30-70 ปี ได้รับความรู้ และมีทักษะในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ80 3.สตรีที่พบความผิดปกติได้รับการส่งต่อ เพื่อการวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็ว ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สตรีที่มีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
2.สตรีที่มีอายุ 30-70 ปี ได้รับความรู้ และมีทักษะในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ80
3.สตรีที่พบความผิดปกติได้รับการส่งต่อ เพื่อการวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็ว ร้อยละ 100


>