กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสตรีรู้เร็ว รู้จักป้องกันมะเร็ง ประจำปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L2971-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิ องค์รวมและยุทธศาสตร์โรงพยาบาลกะพ้อ อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี
วันที่อนุมัติ 1 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 10,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรอปีอ๊ะ มาหะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอิมรอน กะสูเมาะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2566 30 ก.ย. 2566 10,700.00
รวมงบประมาณ 10,700.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการตายจากโรคมะเร็งของสตรีในประเทศ ไทย ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยเฉพาะโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งในสตรี พบได้ถึง ๓ คน ในประชากรหนึ่งแสนคน ในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกเสียชีวิต ประมาณ ๔,๕๐๐ ราย ส่วนใหญ่มีอายุประมาณ ๓๐ - ๕๐ ปี ซึ่งที่ผ่านมาใช้วิธีการตรวจมะเร็ง ปากมดลูกด้วยการตรวจ Pap Smear และถ้าหากตรวจทุก ๒ ปี สามารถลดการเป็นมะเร็งระยะลุกลามได้ ๙๒ % ถึงแม้กระบวนการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก จะง่าย สะดวก ราคาถูก แต่ยังพบว่าสตรีจำนวนมากไม่เห็นความสำคัญ มีทัศนคติ ที่ไม่ดีต่อการตรวจ Pap Smear จังหวัดปัตตานีในปี 2564 เริ่มมีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี HPV DNA TEST ส่วนโรคมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ ผิดปกติในระยะเริ่มต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นและสำคัญที่ต้องทำการตรวจค้นหามะเร็งเต้านมใน ระยะเริ่มต้น การรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก การค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นสามารถรักษา ให้หายขาดได้และการรักษาอาจทำได้โดยการตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออกไม่จำเป็นต้องผ่าตัดทั้งเต้านม ในทางตรงกันข้ามหากไม่มีการตรวจค้นหามะเร็งเต้านม รอจนกระทั่งมีอาการผิดปกติ มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยัง อวัยวะอื่น ๆ แล้ว และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
สถานการณ์ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐ - ๖๐ ในเขตพื้นที่ รับผิดชอบของกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิ องค์รวมและยุทธศาสตร์ โรงพยาบาลกะพ้อ พบว่ากลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในปี ๒๕62-๒๕65 ร้อยละ 47.39,54.67 ,13.93 และ 14.5. ตามลำดับ ปีงบประมาณ 2565 พบผู้ที่มีเซลล์ผิดปกติทั้งสิ้น3 รายได้รับการส่งต่อไปยังรพร.ยุพราชสายบุรี เพื่อตรวจชิ้นเนื้อ พบว่าผลปกติทั้ง 3 ราย และกลุ่มเป้าหมายอายุ๓0-70ปีได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านมในปี ๒๕62-๒๕65 ร้อยละ 83.81,55.86 แล71.05 และ 75.80 ตามลำดับ และพบผู้ป่วยเสียชีวิตจาดโรคมะเร็งเต้านม1 ราย ซึ่งผู้ป่วยที่เสียชีวิต
จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่า กลุ่มคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ยังไม่เข้ารับการตรวจจะเป็นกลุ่มที่ยากต่อการติดตามเข้ารับบริการ และการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองที่ไม่พบความผิดปกติ อาจเกิด จากการตรวจที่ไม่ถูกต้อง เทคนิคหรือแบบการตรวจคัดกรองที่มีความซับซ้อนไม่เข้าใจพร้อมทั้งกลุ่มเป้าหมาย และ
แกนนำอสม. ยังขาดความรู้ความเข้าใจและความตระหนักในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ดังนั้นทางศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลกะพ้อ จึงได้จัดทำโครงการสตรี รู้เร็วรู้จักป้องกันมะเร็งประจำปีงบประมาณ ๒๕66 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,700.00 1 10,500.00
1 ก.พ. 66 - 30 ก.ย. 66 เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในกลุ่มสตรีที่มีอายุ30-70 ปี 0 10,700.00 10,500.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สตรีที่มีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
2.สตรีที่มีอายุ 30-70 ปี ได้รับความรู้ และมีทักษะในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ80 3.สตรีที่พบความผิดปกติได้รับการส่งต่อ เพื่อการวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็ว ร้อยละ 100

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2566 00:00 น.