กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคปลอดภัยในพื้นที่ (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านลาไม)

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บองอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคปลอดภัยในพื้นที่ (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านลาไม)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บองอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านลาไม

พื้นที่เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลาไม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บโดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงชีวิต หลักสำคัญในการเลือกรับประทานอาหารนอกเหนือจากรสชาติอาหารแล้วสิ่งที่ต้องคำนึงและพิจาร

 

70.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. สร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายและเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ

60.00 100.00
2 2. เสริมสร้างความรู้ให้ประชาชน เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง

ประชาชน มีความรู้ เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง

0.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มผู้ประกอบการ 15
กลุ่มอย.น้อย 30
กลุ่มอสม. 47

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. จัดให้มีเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ /กิจกรรมพัฒนาศักยภาพ ผู้ประกอบการ กลุ่มอย.น้อย กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มประชาชนทั่วไปการทบทวนเกณฑ์มาตรฐานร่วมกัน

ชื่อกิจกรรม
1. จัดให้มีเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ /กิจกรรมพัฒนาศักยภาพ ผู้ประกอบการ กลุ่มอย.น้อย กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มประชาชนทั่วไปการทบทวนเกณฑ์มาตรฐานร่วมกัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มผู้ประกอบการ จำนวน 15 คน กลุ่ม อย.น้อย จำนวน 30 คน
ประชาชนทั่วไป จำนวน 60 คน
- ค่าอาหารกลางวันจำนวน 75 คน X 50 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3,750 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 105 คน X 50 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 5,250 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร 6 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1x3 เมตร จำนวน 1 แผ่น เป็นเงิน 750 บาท - ค่าวัสดุ เป็นเงิน 2,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ประกอบการ กลุ่มอย.น้อย กลุ่มแม่บ้าน กลุ่ม อสม.คุ้มครองผู้บริโภคและประชาชนทั่วไป มีความรู้ การทบทวนเกณฑ์มาตรฐานร่วมกัน ร้อยละ 70

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15850.00

กิจกรรมที่ 2 1.การตรวจแนะนำร้านชำและแผงลอย โรงครัวโรงเรียน ร่วมกับตัวแทนกลุ่มร้านชำ อย.น้อยแลกเปลี่ยนความรู้และมีการทดสอบสารปนเปื้อนด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น /การเฝ้าระวังโฆษณาโอ้อวดเกินจริงในชุมชน/การสุ่มตรวจเกลือไอโอดีนในครัวเรือน/โรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
1.การตรวจแนะนำร้านชำและแผงลอย โรงครัวโรงเรียน ร่วมกับตัวแทนกลุ่มร้านชำ อย.น้อยแลกเปลี่ยนความรู้และมีการทดสอบสารปนเปื้อนด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น /การเฝ้าระวังโฆษณาโอ้อวดเกินจริงในชุมชน/การสุ่มตรวจเกลือไอโอดีนในครัวเรือน/โรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ร้านชำ จำนวน12 แห่ง แผงลอย จำนวน 10 แห่ง ครัวโรงเรียน3โรง จำนวนกลุ่มตัวอย่างสุ้มตรวจ 50 ตัวอย่าง - ค่าวัสดุในการเฝ้าระวังเพื่่อตรวจกลุ่มตัวอย่าง เป็นเงิน 5000 บาท 1.ชุดทดสอบโคลิฟอร์มในน้ำและน้ำแข็ง อ.11 (กรมอนามัย) จำนวน 1 กล่องๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน 800 บาท 2.ชุดทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรียพร้อมอุปกรณ์ SI-2 (อ.13) จำนวน 1 กล่องๆ ละ 1,300 บาท เป็นเงิน 1,300 บาท 3.ชุดทดสอบสารอาหารเบื้องต้น ๕ ตัวอย่าง จำนวน 1 กล่องๆ ละ 1,600 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท 4.ชุดทดสอบยาฆ่าแมลง ( OC KIT) จำนวน 1 กล่องๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท 5.ชุดทดสอบไอโอดีน (IODINE TEST KIT) จำนวน 2 กล่องๆ ละ 150 บาทเป็นเงิน 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้านชำ และแผงลอย โรงครัวโรงเรียน  ได้รับการแนะนำ และเฝ้าระวังโฆษณาโอ้อวดเกินจริงในชุมชน/การสุ่มตรวจเกลือไอโอดีนในครัวเรือน/โรงเรียน ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 3 3. ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ เช่น ป้ายประชาสัมพันธ์เอกสาร แผ่นพับ เสียงตามสาย

ชื่อกิจกรรม
3. ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ เช่น ป้ายประชาสัมพันธ์เอกสาร แผ่นพับ เสียงตามสาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ จำนวน 4 แผ่น ขนาด 1x2 เมตร x 500 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าป้ายสัญลักษณ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (CFGT) จำนวน 10 ป้ายๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
19 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

รับการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ เช่น ป้ายประชาสัมพันธ์  เอกสาร แผ่นพับ เสียงตามสาย ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,850.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้บริโภคได้รับความรู้เท่าทันเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถปกป้องตนเองให้ได้รับความปลอดภัยในการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ และมีสุขภาพที่ดี เกิดบุคคลต้นแบบ ครัวเรือนต้นแบบรักษ์สุขภาพ
2. สถานประกอบการให้ความสำคัญในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพทีมีความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค เกิดร้านชำต้นแบบ แผงลอยตัวอย่าง
3. นักเรียน อย.น้อย มีความรู้และพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ดี อันเป็นประโยชน์ต่อตนเอง, ชุมชน โดยสามารถดูแลตนเอง ดูแลเพื่อนนักเรียน อย.น้อย และถ่ายทอดความรู้สู่เพื่อนนักเรียนด้วยกันได้
4. อาสาสมัครสาธารณสุขเป็นต้นแบบการปลูกผักสวนครัว รั้วกินได้ สามารถถ่ายทอดความรู้แก่ประชาชนได้
5. เกิดเครือข่ายชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค


>