กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

กลองยาวสร้างสุข บ้านโคกดีปลี ปี 66

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

ชมรมคณะกลองยาว หมู่ 3 บ้านโคกดีปลี

1. นายยมนา สุวรรณ์(ประธานชมรม)
2. นายนบพร บุญหลง
3. นายกมณร์ มิ่งละเอียด
4. นายสวัส เซี่ยงหลิว
5. นางสิริภัทร ไชยกิจ
6. นางสาวเยาวดี มณี 098-5896261 (แอ้)

หมู่ที่ 3 บ้านโคกดีปลี ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

98.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

98.00
3 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

183.00

จากนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขที่ได้มีการรณรงค์สร้างสุขภาพอยู่ทุกๆปี โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนองค์กรหน่วยงานภาครัฐและเอกชนภาคประชาชนตระหนักในเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเองครอบครัวและชุมชน เพื่อการมีสุขภาพที่ดี ตามแผนพัฒนายุทธศาสตร์แห่งชาติโดยมีวิสัยทัศน์ที่จะทำให้ประชาชนไทยอยู่เย็นเป็นสุข ทั้งกาย ใจปัญญาและจิตวิญญาณ มีสัมมาอาชีพทำงานด้วยความสุข ดำรงชีวิตอยู่บนพื้นฐานความพอดี พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มภัยในตัวที่ดี ภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่งผลให้ครอบครัวอบอุ่น มั่นคง อยุ่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีสุขภาพแข็งแรง อายุยืนยาว และหนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญของมิติทางกายคือให้คนไทยออกกำลังกายสม่ำเสมอจากนโยบาย นำซ่อมของกระทรวงสาธารณสุขที่มุ่งเน้นให้ประชาชนรวมกลุ่มกันดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชน เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพฤติกรรมสุขภาพ 6 อ. ได้แก่ ออกกำลังกาย อาหารปลอดภัย อารมณ์ อโรคยา อนามัยสิ่งแวดล้อมและอบายมุข โดยมีเป้าหมายให้ประชาชน ได้มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
กิจกรรมการขยับกาย การเคลื่อนไหวทางกาย เป็นการสร้างเสริมสุขภาพได้รับการนิยมอย่างแพร่หลายดังจะเห็นได้จากการมีชมรม กลุ่มออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆ เช่น รำไม้พลอง โยคะ ฟุตบอล กลองยาว เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากการออกกำลังกายเป็นเครื่องมือในการสร้างเสริมสุขภาพที่มีค่าใช้จ่ายในการการนำไปสู่สุขภาพแข็งแรง สุขภาพจิตดี ส่งผลให้คุณภาพชีวิตที่ดีปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งการออกกำลังกาย การตีกลองยาวหรือที่ทุกคนมักคุ้นกับการเรียก เป็นรูปแบบการออกกำลังกายที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ตั้งแต่ระดับชุมชนชนบท ชุมชนเมือง ซึ่งเป็นการขยับกายที่สร้างความสนุกสนาน เพลิดเพลิน แต่ให้ผลที่คุ้มค่าต่อสุขภาพอย่างยิ่ง
ทางชมรมคณะกลองยาว หมู่ที่ 3 บ้านโคกดีปลี จึงได้จัดทำโครงการกลองยาวสร้างสุข บ้านโคกดีปลี ปี 66เพื่อเป็นการจัดกิจกรรมบูรณาการร่วมระหว่างการเคลื่อนไหว การขยับกาย กับ การอนุรักษ์กิจกรรมประเพณีอันดีงาม ที่มีอยู่ยาวนานในพื้นที่ ส่งเสริมให้ประชาชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ สร้างความสุขให้แก่สมาชิกชมรมและผู้เข้าร่วมกิจกรรม จึงขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์กรบริหาารส่วนตำบลตุยง เพื่อมาใช้ในการจัดทำกิจกรรม และสนับสนุนเพื่อให้การจัดกิจกรรมต่างๆเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมให้ประชาชนและเยาวชนในหมู่บ้าน และพื้นที่ใกล้เคียง เห็นความสำคัญของกิจกรรมการกคลื่อนไหวทางกายในรูปแบบเชิงบูรณาการร่วมกับประเพณี วัฒนธรรมในพื้นที่ เพื่อให้มีสุขภาพร่างกาย จิตใจที่ดี สร้างความสามัคคีในชุมชน เกิดเป็นภาคีเครือข่ายสร้างสุขภาพในพื้นที่ และเป็นการอนุรักษ์กิจกรรมที่ดีให้เยาวชนรุ่นหลังได้มีการสืบทอดต่อไป จึงได้จัดทำโครงการกลองยาวสร้างสุข บ้านโคกดีปลี ปี 66 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกชมรม ประชาชน มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกาย การขยับกาย มีสุขภาพจิต กายดี

ร้อยละ 60 ของสมาชิกชมรม ประชาชน มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกาย การขยับกายอย่างต่อเนื่อง

143.00 85.80
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพชมรมในการส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

ชมรมมีการพัฒนาและมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่องทุกปี

1.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 143
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมการมีส่วนร่วม

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการมีส่วนร่วม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งเสริมการมีส่วนร่วมโดยการจัดประชุมสมาชิกชมรม เครือข่ายสร้างสุขภาพในพื้นที่
  - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  25 บาท x 100 คน   เป็นเงิน  2,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีการจัดประชุมอย่างต่อเนื่อง
  2. ผู้เข้าร่วมประชุมเข้าใจและดำเงินตามแผน มติที่ประชุมอย่างต่อเนื่อง
  3. เกิดการมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมกิจกรรมการเฝ้าระวัง การควบคุมโรค เรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมกิจกรรมการเฝ้าระวัง การควบคุมโรค เรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจคัดกรองโรคความดัน/เบาหวานเบื้องต้นร่วมกับเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่     - ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีการคัดกรองโรคความดัน/เบาหวาน
  2. มีข้อมูลการคัดกรองโรค และนำข้อมูลไปแก้ไขปัญหาตามกระบวนการต่อไป
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 พัฒนาศักยภาพองค์ความรู้

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพองค์ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งเสริมองค์ความรู้ในการเฝ้าระวังป้องกันโรคความดัน/เบาหวาน โดยการจัดอบรมแกนนำสมาชิกชมรม ประชาชน  เรื่อง โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน     - ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 40 คน  เป็นเงิน 2,400  บาท     - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  35 บาท x 2 มื้อ x 40 คน  เป็นเงิน  2,800 บาท
    - ค่าสัมนาคุณวิทยากร  600 บาท x 4 ชม.   เป็นเงิน 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรค และนำไปเผยแพร่ หรือปฏิบัติตัวต่อไป
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7600.00

กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหว การขยับกาย

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหว การขยับกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งเสริมกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวทางกาย ด้วยการใช้กลองยาวเป็นนวัตกรรม เพื่อสร้างสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจและสืบสานประเพณีที่ดีงาม (สัปดาห์ละ 3 ครั้งๆละ ไม่น้อยกว่า 30 นาที)
- ค่าวัสดุ อุปกรณ์  9,160 บาท
  (หนังกลองยาว, ค่าขึ้นหนังกลอง, ผ้ากลองยาว และ วัสดุอื่นๆ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีกิจกรรมการเคลื่อนไหว ขยับกาย อย่างต่อเนื่อง
  2. มีวัสดุอุปกรณ์เพื่อใช้ในกิจกรรม
  3. สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ ชุมชนน่าอยู่
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9160.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,260.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
1. จัดทำโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ
2. สร้างการมีส่วนร่วมโดยการจัดประชุมร่วมระหว่างสมาชิกชมรมและเครือข่ายสร้างสุขภาพในพื้นที่
3. ส่งเสริมกิจกรรมการเฝ้าระวัง ป้องกันโรค เช่น ตรวจคัดกรองสุขภาพร่างกายเบื้องต้นโดยเครือข่ายสร้างสุขภาพ การพัฒนาองค์ความรู้ในการเฝ้าระวังป้องกันโรคความดัน/เบาหวาน เป็นต้น
4. ส่งเสริมกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวทางกาย ด้วยการใช้กลองยาวเป็นนวัตกรรม เพื่อสร้างสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจและสืบสานประเพณีที่ดีงาม
5. สรุปผลการดำเนินงาน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ประชาชนมีสุขภาพจิต กายดี
2. มีกิจกรรมการออกกำลังกายแบบบูรณาการกับประเพณีต่างๆอย่างต่อเนื่อง
3. เป็นการรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีที่ดีของท้องถิ่น
4. ประชาชนในพื้นที่ได้มีการจัดกิจกรรมร่วมกัน สร้างความสามัคคี
5. ประชาชนมีองค์ความรู้ในการสร้างสรรค์ สืบทอดศิลปะการแสดงกลองยาวได้
6. อัตราความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานลดลง


>