แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง รหัส กปท. L3065
อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. นายยมนา สุวรรณ์(ประธานชมรม)
2. นายนบพร บุญหลง
3. นายกมณร์ มิ่งละเอียด
4. นายสวัส เซี่ยงหลิว
5. นางสิริภัทร ไชยกิจ
6. นางสาวเยาวดี มณี 098-5896261 (แอ้)
จากนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขที่ได้มีการรณรงค์สร้างสุขภาพอยู่ทุกๆปี โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนองค์กรหน่วยงานภาครัฐและเอกชนภาคประชาชนตระหนักในเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเองครอบครัวและชุมชน เพื่อการมีสุขภาพที่ดี ตามแผนพัฒนายุทธศาสตร์แห่งชาติโดยมีวิสัยทัศน์ที่จะทำให้ประชาชนไทยอยู่เย็นเป็นสุข ทั้งกาย ใจปัญญาและจิตวิญญาณ มีสัมมาอาชีพทำงานด้วยความสุข ดำรงชีวิตอยู่บนพื้นฐานความพอดี พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มภัยในตัวที่ดี ภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่งผลให้ครอบครัวอบอุ่น มั่นคง อยุ่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีสุขภาพแข็งแรง อายุยืนยาว และหนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญของมิติทางกายคือให้คนไทยออกกำลังกายสม่ำเสมอจากนโยบาย นำซ่อมของกระทรวงสาธารณสุขที่มุ่งเน้นให้ประชาชนรวมกลุ่มกันดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชน เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพฤติกรรมสุขภาพ 6 อ. ได้แก่ ออกกำลังกาย อาหารปลอดภัย อารมณ์ อโรคยา อนามัยสิ่งแวดล้อมและอบายมุข โดยมีเป้าหมายให้ประชาชน ได้มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน กิจกรรมการขยับกาย การเคลื่อนไหวทางกาย เป็นการสร้างเสริมสุขภาพได้รับการนิยมอย่างแพร่หลายดังจะเห็นได้จากการมีชมรม กลุ่มออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆ เช่น รำไม้พลอง โยคะ ฟุตบอล กลองยาว เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากการออกกำลังกายเป็นเครื่องมือในการสร้างเสริมสุขภาพที่มีค่าใช้จ่ายในการการนำไปสู่สุขภาพแข็งแรง สุขภาพจิตดี ส่งผลให้คุณภาพชีวิตที่ดีปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งการออกกำลังกาย การตีกลองยาวหรือที่ทุกคนมักคุ้นกับการเรียก เป็นรูปแบบการออกกำลังกายที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ตั้งแต่ระดับชุมชนชนบท ชุมชนเมือง ซึ่งเป็นการขยับกายที่สร้างความสนุกสนาน เพลิดเพลิน แต่ให้ผลที่คุ้มค่าต่อสุขภาพอย่างยิ่ง ทางชมรมคณะกลองยาว หมู่ที่ 3 บ้านโคกดีปลี จึงได้จัดทำโครงการกลองยาวสร้างสุข บ้านโคกดีปลี ปี 66เพื่อเป็นการจัดกิจกรรมบูรณาการร่วมระหว่างการเคลื่อนไหว การขยับกาย กับ การอนุรักษ์กิจกรรมประเพณีอันดีงาม ที่มีอยู่ยาวนานในพื้นที่ ส่งเสริมให้ประชาชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ สร้างความสุขให้แก่สมาชิกชมรมและผู้เข้าร่วมกิจกรรม จึงขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์กรบริหาารส่วนตำบลตุยง เพื่อมาใช้ในการจัดทำกิจกรรม และสนับสนุนเพื่อให้การจัดกิจกรรมต่างๆเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมให้ประชาชนและเยาวชนในหมู่บ้าน และพื้นที่ใกล้เคียง เห็นความสำคัญของกิจกรรมการกคลื่อนไหวทางกายในรูปแบบเชิงบูรณาการร่วมกับประเพณี วัฒนธรรมในพื้นที่ เพื่อให้มีสุขภาพร่างกาย จิตใจที่ดี สร้างความสามัคคีในชุมชน เกิดเป็นภาคีเครือข่ายสร้างสุขภาพในพื้นที่ และเป็นการอนุรักษ์กิจกรรมที่ดีให้เยาวชนรุ่นหลังได้มีการสืบทอดต่อไป จึงได้จัดทำโครงการกลองยาวสร้างสุข บ้านโคกดีปลี ปี 66 ขึ้น
-
1. เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกชมรม ประชาชน มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกาย การขยับกาย มีสุขภาพจิต กายดีตัวชี้วัด : ร้อยละ 60 ของสมาชิกชมรม ประชาชน มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกาย การขยับกายอย่างต่อเนื่องขนาดปัญหา 143.00 เป้าหมาย 85.80
-
2. เพื่อพัฒนาศักยภาพชมรมในการส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่องตัวชี้วัด : ชมรมมีการพัฒนาและมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่องทุกปีขนาดปัญหา 1.00 เป้าหมาย 1.00
- 1. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมรายละเอียด
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมโดยการจัดประชุมสมาชิกชมรม เครือข่ายสร้างสุขภาพในพื้นที่
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 100 คน เป็นเงิน 2,500 บาทงบประมาณ 2,500.00 บาท - 2. ส่งเสริมกิจกรรมการเฝ้าระวัง การควบคุมโรค เรื้อรังรายละเอียด
ตรวจคัดกรองโรคความดัน/เบาหวานเบื้องต้นร่วมกับเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ - ไม่ใช้งบประมาณ
งบประมาณ 0.00 บาท - 3. พัฒนาศักยภาพองค์ความรู้รายละเอียด
ส่งเสริมองค์ความรู้ในการเฝ้าระวังป้องกันโรคความดัน/เบาหวาน โดยการจัดอบรมแกนนำสมาชิกชมรม ประชาชน เรื่อง โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน - ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 40 คน เป็นเงิน 2,400 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 35 บาท x 2 มื้อ x 40 คน เป็นเงิน 2,800 บาท
- ค่าสัมนาคุณวิทยากร 600 บาท x 4 ชม. เป็นเงิน 2,400 บาทงบประมาณ 7,600.00 บาท - 4. ส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหว การขยับกายรายละเอียด
ส่งเสริมกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวทางกาย ด้วยการใช้กลองยาวเป็นนวัตกรรม เพื่อสร้างสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจและสืบสานประเพณีที่ดีงาม (สัปดาห์ละ 3 ครั้งๆละ ไม่น้อยกว่า 30 นาที)
- ค่าวัสดุ อุปกรณ์ 9,160 บาท
(หนังกลองยาว, ค่าขึ้นหนังกลอง, ผ้ากลองยาว และ วัสดุอื่นๆ)งบประมาณ 9,160.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
หมู่ที่ 3 บ้านโคกดีปลี ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก
รวมงบประมาณโครงการ 19,260.00 บาท
หมายเหตุ : วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. จัดทำโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ 2. สร้างการมีส่วนร่วมโดยการจัดประชุมร่วมระหว่างสมาชิกชมรมและเครือข่ายสร้างสุขภาพในพื้นที่ 3. ส่งเสริมกิจกรรมการเฝ้าระวัง ป้องกันโรค เช่น ตรวจคัดกรองสุขภาพร่างกายเบื้องต้นโดยเครือข่ายสร้างสุขภาพ การพัฒนาองค์ความรู้ในการเฝ้าระวังป้องกันโรคความดัน/เบาหวาน เป็นต้น 4. ส่งเสริมกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวทางกาย ด้วยการใช้กลองยาวเป็นนวัตกรรม เพื่อสร้างสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจและสืบสานประเพณีที่ดีงาม 5. สรุปผลการดำเนินงาน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ประชาชนมีสุขภาพจิต กายดี 2. มีกิจกรรมการออกกำลังกายแบบบูรณาการกับประเพณีต่างๆอย่างต่อเนื่อง 3. เป็นการรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีที่ดีของท้องถิ่น 4. ประชาชนในพื้นที่ได้มีการจัดกิจกรรมร่วมกัน สร้างความสามัคคี 5. ประชาชนมีองค์ความรู้ในการสร้างสรรค์ สืบทอดศิลปะการแสดงกลองยาวได้ 6. อัตราความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานลดลง
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง รหัส กปท. L3065
อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง รหัส กปท. L3065
อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................