กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อสม.ร่วมใจลดเสี่ยงลดโรคต้านภัยโรคเบาหวานโรคความดัน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

โครงการ อสม.ร่วมใจลดเสี่ยงลดโรคต้านภัยโรคเบาหวานโรคความดัน ปี 2566

1 นางเจะอันหมันเส็น………………………………
2 นายวาหาบสกุลา.…………………………
3 นางชารีฟ๊ะสารดี....…………………………
4 นางมีน๊ะหมันเส็น…………………………..
5 นางดวงใจเตะเหมทอง………………………..

ตำบลควนสตอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ปัจจุบันพบว่า คนไทยป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มากขึ้น โดยส่วนใหญ่ร้อยละ ๙๐ เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพ อาทิ ขาดการออกกำลังกาย น้ำหนักตัวเกิน สูบบุหรี่ ดื่มเหล้ากินอาหารไม่เหมาะสม เช่นกินอาหารหวาน มัน เค็มเกิน และกินผักน้อยลง คนที่เป็นโรคเบาหวานหาก ปล่อยตัวภายใน ๑๐ปี จะเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น หลอดเลือดเสื่อม ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆได้ เส้นเลือดสมองเสื่อม ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจเสื่อมทำให้เป็นเส้นเลือดหัวใจตีบได้ และเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงตาเสื่อม ทำให้จอประสาทตาเสื่อมนำไปสู่การตาบอดได้ ส่วนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีภาวะแทรกซ้อนเกิดได้ ๒ กรณีคือ จากความดันโลหิตสูงโดยตรง ได้แก่ ภาวะหัวใจวายและหลอดเลือด ในสมองแตกและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจาก หลอดเลือดแดงตีบและตันทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆไม่พอทำให้เกิดผลกระทบ ได้แก่ ภาวะแทรกซ้อน ทางหัวใจ หัวใจโต กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือหัวใจล้มเหลว กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ทางไต คือไตเสื่อมนำไปสู่ไตวายเรื้อรัง ทางสมอง ทำ ให้สมองตาย เส้นเลือดตีบนำไปสู่ อัมพฤกษ์ อัมพาต ในที่สุด
หมู่ที่2 บ้านกุบังปะโหลด มีจำนวนประชากรอายุ35 ปีขึ้นไป 455คน จำนวน 461 หลังคาเรือน จากข้อมูลของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุบังปะโหลด ปีงบประมาณ 2565 พบว่า หมู่ที่2 มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสะสม 222คน มีผู้ป่วยโรคเบาหวานสะสม 15 คนมีผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงสะสม 87 คน เนื่องจากมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นและผลของการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงประจำปี 2565 ผลของผู้ป่วยการคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงพบกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง 124คน เป็นประชาชน หมู่ที่ 2 44 คน พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน 203 คน เป็นประชาชนหมู่ที่ 2 จำนวน 97 คน จึงเป็นที่มาของการต้องการนำร่องร่วมแก้ไขปัญหาโรคเรื้อรัง อสม.หมู่ที่2 บ้านกุบังะโหลด จึงได้จัดทำโครงการอสม.ร่วมใจลดเสี่ยงลดโรคต้านภัยโรคเบาหวานโรคความดัน ปี 2566 โดยมีกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการจำนวน 40 คน โดยเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุบังปะโหลด เพื่อให้อสม.หมู่ที่ 2 ได้ร่วมติดตามวัดความดันโลหิต และเจาะน้ำตาลในเลือดซ้ำทุก 1 เดือน 3 เดือนและ6 เดือน นอกจากนี้มีกิจกรรม ให้ความรู้การปลูกผักโดยเกษตรอำเภอควนโดนให้กับกลุ่มเสี่ยงทุกคน จำนวน 35คน ซึ่งอสม.ได้เน้นกิจกรรม อาหารในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้กับกลุ่มเสี่ยง เพื่อเพิ่มผักและผลไม้ให้ได้อย่างน้อยวันละ ครึ่งกิโลกรัมต่อคนต่อวัน รวมกับ
อสม.ทุกคนลงเยี่ยมครัวเพื่อให้ความรู้โดยเน้นการเลือกผลิตภัณฑ์โซเดียมต่ำ การเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นเครื่องปรุงในครัวเรือน การเรียนรู้ฉลากโภชนาการ เพื่อการนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ลดผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ลดเกิดการแทรกซ้อนจากโรคของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายสาธารณสุขที่เน้นระบบสุขภาพเชิงรุก และการสร้างเสริมสุขภาพ ประชาชนป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ เพื่อลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการรักษาพยาบาล

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่1 กลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามความดันโลหิตและเจาะน้ำตาล ข้อที่ 2 กลุ่มเสี่ยงสูงได้รับการส่งต่อ ข้อที่3 มีกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ

ข้อที่ 1 กลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามครอบคลุมร้อยละ 80 ข้อที่ 2  กลุ่มเสี่ยงสูงได้รับการส่งต่อ ร้อยละ 100 ข้อที่ 3 มีกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ จำนวน 1กลุ่ม

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการ อสม.ร่วมใจลดเสี่ยงลดโรคต้านภัยโรคเบาหวานโรคความดัน ปี 2566

ชื่อกิจกรรม
โครงการ อสม.ร่วมใจลดเสี่ยงลดโรคต้านภัยโรคเบาหวานโรคความดัน ปี 2566
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมกลุ่มเสี่ยง เพื่อทำข้อตกลง การติดตาม วัดความดันโลหิตและตรวจน้ำตาลซ้ำ ทุก 1 เดือน 3เดือน 6เดือน พร้อมสอนการวัดความดันโลหิตที่บ้าน 7วัน

2.  ให้ความรู้โดยเกษตร อำเภอควนโดน การเตรียมดิน การปลูกผัก        


    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  40 คน x 1 มื้อ x 25 บาท
เป็นเงิน 1,000  บาท





  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  40 คน x 2 มื้อ x 25 บาทเป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันและน้ำดื่ม 40 คน x 1 มื้อ x 55 บาทเป็นเงิน 2,200บาท

    • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์  ผืนละ 300 บาท x 1 ผืน        เป็นเงิน  300 บาท
    • ค่าวัสดุอบรม                                                  เป็นเงิน  4,500  บาท รวม  10,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชุมกลุ่มเสี่ยง เพื่อทำข้อตกลง การติดตาม วัดความดันโลหิตและตรวจน้ำตาลซ้ำ ทุก 1 เดือน 3เดือน 6เดือน พร้อมสอนการวัดความดันโลหิตที่บ้าน 7วัน

2.  ให้ความรู้โดยเกษตร อำเภอควนโดน การเตรียมดิน การปลูกผัก        


    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  40 คน x 1 มื้อ x 25 บาท
เป็นเงิน 1,000  บาท





  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  40 คน x 2 มื้อ x 25 บาทเป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันและน้ำดื่ม 40 คน x 1 มื้อ x 55 บาทเป็นเงิน 2,200บาท

    • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์  ผืนละ 300 บาท x 1 ผืน        เป็นเงิน  300 บาท
    • ค่าวัสดุอบรม                                                  เป็นเงิน  4,500  บาท รวม  10,000 บาท
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.กลุ่มเสี่ยงมีระดับน้ำตาลในเลือดปกติ หรือลดระดับจากกลุ่มป่วยเป็นกลุ่มเสี่ยง
2.กลุ่มเสี่ยงมีระดับความดันโลหิตลดจากกลุ่มเสี่ยงเป็นกลุ่มปกติ หรือลดระดับความดันโลหิตจากกลุ่มป่วยเป็นกลุ่มเสี่ยง
3.กลุ่มเสี่ยงสูงได้รับการส่งต่อ เป็นกลุ่มป่วยเพื่อการได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง
4.มีกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ จำนวน 1กลุ่ม


>