กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองเปียะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการกินผักปลอดภัยจากสารพิษ เพื่อชีวิตที่ยืนยาวบ้านควนหัวช้าง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองเปียะ

ชมรม อสม. หมู่ที่ 6 ต.คลองเปียะ

1. นาง ศศิธร หมันเหล็ม 083-9099-761
2. นาง วรัญญา เดหมาน
3. นางไหมมูเน๊าะ หีมใบ
4. นาง จรวย บุญเรือง
5. นาง หนับเส๊าะ หัตนุ้ย

หมู่ที่ 6 บ้านควนหัวช้าง ต.คลองเปียะ อ.จะนะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนผู้บริโภคและเกษตรกรที่ได้รับการตรวจเลือดไม่พบสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐานความปลอดภัย

 

85.41

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์และสัตว์ คือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆ ขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ตำบลคลองเปียะ เป็นตำบลหนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่สวนยางพารา สวนผลไม้ และปลูกผักสวนครัว ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่รุนแรงและสูงขึ้นได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรและผู้บริโภคในพื้นที่รับผิดชอบ จัดทำโครงการนี้ ขึ้น เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงและประชาชนผู้บริโภคในพื้นที่ที่รับผิดชอบ ได้รับการเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใด เพื่อทำการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 66 ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรม มาตรา 67 (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ 6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการเพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกันและลดอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ขึ้น เพื่อให้เกษตรกรและผู้บริโภคเกิดความตระหนักในการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมี เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของตนเอง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มร้อยละของประชาชนที่ได้รับการตรวจเลือดไม่พบสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐานความปลอดภัย

ร้อยละของประชาชนที่ตรวจเลือดไม่พบสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐานความปลอดภัยเพิ่มขึ้น

85.41 95.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานและผู้เกี่ยวของเพื่อชี้แจงโครงการและวางแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานและผู้เกี่ยวของเพื่อชี้แจงโครงการและวางแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10 คน ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 250 บาท
  • ป้ายไวนิลเผยแพร่โครงการ ขนาด กว้าง 1.20 เมตร ยาว 2.00 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 360 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พฤษภาคม 2566 ถึง 2 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แผนการดำเนินงานโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
610.00

กิจกรรมที่ 2 สำรวจข้อมูลและรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สำรวจข้อมูลและรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าเอกสารแบบสำรวจและใบสมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 100 ชุด ๆละ 1 บาท เป็นเงิน 100 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
4 พฤษภาคม 2566 ถึง 7 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ฐานข้อมูลประชาชนที่มีความเสี่ยงและผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
100.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมเชิงปฏิบัติการลดปัจจัยเสี่ยงเพิ่มความปลอดภัยในการบริโภค

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการลดปัจจัยเสี่ยงเพิ่มความปลอดภัยในการบริโภค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้เข้าอบรม 40 คน คณะทำงาน 4 คน วิทยากร 2 คน

  • ค่าวิทยากรจำนวน 4 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 46 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,150 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
10 พฤษภาคม 2566 ถึง 10 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ ในการบริโภค
  • ผู้เข้าอบรมลดปัจจัยเสี่ยงจากสารเคมีในการบริโภคผัก
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3550.00

กิจกรรมที่ 4 ภาคสนามเก็บและบันทึกข้อมูลบุคคลและเจาะเลือดหารสารเคมีตกค้างในเลือด ครั้งที่ 1

ชื่อกิจกรรม
ภาคสนามเก็บและบันทึกข้อมูลบุคคลและเจาะเลือดหารสารเคมีตกค้างในเลือด ครั้งที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าน้ำยาชุดตรวจสารเคมีในเลือด พร้อมอุปกรณ์ เป็นเงิน 2,900 บาท (อุปกรณ์ในการตรวจ ประกอบด้วย เข็มเจาะปลายนิ้วcapillary tube ถุงมือ สำลีแอลกอฮอล์ และดินน้ำมัน กระดาษขมิ้น)
  • ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ในการเจาะเลือด 2 คน ๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
11 พฤษภาคม 2566 ถึง 11 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผลการเจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างในเลือด
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3900.00

กิจกรรมที่ 5 ประชุมเชิงปฏิบัติการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้พฤติกรรมการบริโภคผักและการประกอบอาชีพของเกษตรกรที่ปลูกผัก

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้พฤติกรรมการบริโภคผักและการประกอบอาชีพของเกษตรกรที่ปลูกผัก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้เข้าอบรม 40 คน ผู้ดำเนินการ 4 คน วิทยากร 1 คน

  • ค่าวิทยากรจำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 45 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,125 บาท
  • อาหารกลางวัน จำนวน 45 คนๆละ 50 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท
  • ค่ากระดาษบรู๊ฟ 5 แผ่น ๆละ 5 บาท เป็นเงิน 25 บาท
  • ปากกาเคมี 5 ด้าม ๆละ 15 บาท เป็นเงิน 75 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
6 กรกฎาคม 2566 ถึง 6 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • การมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วมกิจกรรมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6475.00

กิจกรรมที่ 6 ภาคสนามเก็บและบันทึกข้อมูลบุคคลและเจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างในเลือด ครั้งที่ 2

ชื่อกิจกรรม
ภาคสนามเก็บและบันทึกข้อมูลบุคคลและเจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างในเลือด ครั้งที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ในการเจาะเลือด 1 คน ๆละ 500 บาท เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 มิถุนายน 2566 ถึง 7 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผลการเจาะเลือดหารสารเคมีตกค้างในเลือดเปรียบเทียบกับครั้งที่ 1
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 7 สรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 15 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 375 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
28 กันยายน 2566 ถึง 28 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปผลการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
375.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,510.00 บาท

หมายเหตุ :
*** ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้ ***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนมีความปลอดภัยจากสารเคมีในการบริโภคผัก ส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพดี


>