กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชัน โดย นางเสาวภาค กั๋งเซ่ง

นางเสาวภาค กั๋งเซ่ง ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

พื้นที่เขตความรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลังจากกระทรวงสาธารณสุข ปรับลดมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิดจากโรคติดต่ออันตรายเป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง เนื่องจากสถานการณ์การระบาดในประเทศดีขึ้น กล่าวคือแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง และอัตราการเสียชีวิตลดลง และความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิดอยู่ในระดับสูง และกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ได้ปรับเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ลำดับที่ 57 ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นมาแต่การเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคก็ยังคงต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรคทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนมีการดำเนินชีวิตที่เป็นปกติมากที่สุดและสามารถอยู่ร่วมกับโควิด 19 ได้อย่างปลอดภัย
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชัน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อให้ประชาชนที่มารับบริการ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังและกลุ่มผู้สูงอายุ รวมถึงเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ให้บริการที่อาจมีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อจากผู้รับบริการ และบุคลากรสาธารณสุขก็มีโอกาสเป็นฝ่ายแพร่เชื้อให้กับผู้รับบริการเช่นกันการเฝ้าระวังป้องกันในด้านสุขอนามัยส่วนบุคคลจึงยังคงเป็นสิ่งสำคัญต่อการไม่ให้เกิดโรคโควิด-19 และสถานบริการสาธารณสุขก็ต้องเป็นสถานที่ ที่มีความสะอาด ปลอดภัย ไม่เป็นแหล่งกระจายเชื้อให้แก่ผู้มารับบริการ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนที่มารับบริการและบุคลากรสาธารณสุขมีความปลอดภัยจากโรคโควิด-19

ร้อยละ 100 ของประชาชนที่มารับบริการสวมหน้ากากอนามัยทุกคน

100.00 100.00
2 เพื่อให้ประชาชนและบุคลากรสาธารณสุขมีวัสดุ/อุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้ในการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19

ร้อยละ 60 ประชาชนและบุคลากรสาธารณสุขมีวัสดุ/อุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้ในการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19

60.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3,000
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19 ในกลุ่ม ประชาชนทั่วไปและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มา รับยาตามนัดทุกเดือน

ชื่อกิจกรรม
เฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19 ในกลุ่ม ประชาชนทั่วไปและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มา รับยาตามนัดทุกเดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าสเปรย์แอลกอฮอล์ขนาด 60 มล. จำนวน 250 ขวดๆละ 49 บาท เป็นเงิน 12,250 บาท -ค่าสบู่เหลวล้างมือ ขนาด 225 มล.จำนวน 10 ขวดๆละ 145 บาท เป็นเงิน 1,450 บาท -ค่าน้ำยาฆ่าเชื้อไฮเตอร์ ขนาด 500 มล.จำนวน 30 ขวดๆละ 45 บาท เป็นเงิน 1,350 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนที่มารับบริการสวมหน้ากากอนามัยทุกคน 2. รพ.สต. มีการจัดบริการที่ดี มีวัสดุ/อุปกรณ์ทางการแพทย์เพียงพอต่อการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 มีสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการแพร่กระจายเชื้อโรค
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15050.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,050.00 บาท

หมายเหตุ :
***ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้ตามความเหมาะสม***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนผู้มารับบริการและบุคลากรมีความปลอดภัยจากโรคโควิด-19
2.ประชาชนสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุขและอยู่ร่วมกับโควิด-19 ได้อย่างปลอดภัย


>