กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างวัคซีนกายใจแก่เด็ก เยาวชน และครอบครัว

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

วัดโดนคลาน

1. พระครูวุฒิสาครธรรม เจ้าอาวาสวัดโดนคลาน
2. พระสมุห์ธนภัทร ธนภทฺโท ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโดนคลาน
3. นางอ้อยฤทัย สุรีย์เหลืองขจร ผอ.รพ.สต.บ้านบ่อทราย
4. ดร.ลำเฑียร ชนะสุวรรณ์ ศึกษานิเทศก์จังหวัดพัทลุง
5. ดร.ณัฏฐชาญ์ ธรรมธนไพศาล นักวิชาการอิสระ

วัดโดนคลาน หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิดระยะเวลา 3 ปี ที่ผ่านมา ทำให้ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตและการป้องกันดูแลสุขภาพทางกายและจิตใจมากขึ้น นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ทำให้ผู้คนต้องปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตให้รู้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกยุควิถีชีวิตใหม่ การตื่นตัวการใช้ดิจิทัลที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต การเฝ้าระวังการสื่อสารสาธารณะยังมีความสำคัญต่อคนทุกกลุ่มวัย การสร้างฐานข้อมูล การเข้าถึงข้อมูล และการรับมือกับโรคซึ่งต้องใช้สติและปัญญาด้วยตัวเองให้มาก ด้วยการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันทางกายและใจให้ถูกสมมติฐานโรคและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้ ทางรัฐบาลจึงได้กำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ในกลยุทธ์ที่ 2 คือ การผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพระดับโลก ซึ่งกลยุทธ์ย่อยที่ 2.3 ได้กำหนดไว้ว่า พัฒนาบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพรูปแบบใหม่ที่นำไปสู่การสร้างสังคมที่มีสุขภาวะ ได้แก่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างเหมาะสมโดยการใช้อาหารบำบัดและการบำบัดทางจิตด้วยการทำสมาธิ สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ 1) การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรมโดยการสร้างความเข้มแข็งในสถาบันทางศาสนา พร้อมทั้งปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน 2) การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ด้วยการปลูกฝังความเป็นคนดี มีวินัย พัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่สอดรับกับศตวรรษที่ 21 และ 3) การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี ครอบคลุมทั้งด้านกาย ใจ สติปัญญา และสังคม โดยการส่งเสริมให้ชุมชน วัด และส่วนราชการเป็นฐานในการสร้างสุขภาวะที่ดีในทุกพื้นที่ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
ฉะนั้น การพัฒนาอะไรต้องพัฒนาที่จิตใจก่อนในทุกกลุ่มวัยให้มีความสมดุลทั้ง 4 ด้าน คือ กาย จิต สังคม และปัญญา เพราะทุกปัญหาเริ่มต้นที่ครอบครัว กระทบต่อชุมชน เช่น เด็กที่ขาดการอบรม จะอ่อนแอทางศีลธรรม แม้เรียนเก่ง เรียนดี แต่เติบโตเป็นผู้ใหญ่ไม่สง่างาม บางคนมีพฤติกรรมเกเร ไม่เชื่อฟังครู มาสาย ก้าวร้าว เสพยาเสพติด ลักขโมย ชุมชนเดือดร้อน เป็นต้น การสร้างชุมชนสุขภาวะให้ยั่งยืนได้นั้น ชุมชนต้องสามัคคีช่วยกันสร้าง ช่วยกันดูแล ประเด็นปัญหาคือ ทุกวันนี้ครอบครัวขาดการสื่อสารทางบวกร่วมกันทุกครอบครัวเร่งหาเงิน ทำงาน จนไม่มีเวลาพูดคุยกัน เกิดช่องว่างความเข้าใจ ขาดกิจกรรมเสริมแรงใจสามวัยเรียนรู้ สร้างความเข้าใจด้วยกัน ปรับแนวคิด (Mind Set) ผ่านกระบวนการ Mindfulness based Active Learning ซึ่งพระสงฆ์ (บวร) มีบทบาทในการมีส่วนร่วมป้องกันและดูแลสุขภาวะรอบด้านแก่องค์กรสงฆ์และทุกกลุ่มวัย จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะร่วมกันโดยพลัง (บวร) ได้แก่ ชุมชน รพสต.เทศบาล และสถานศึกษา ทำให้พระสงฆ์และคนในชุมชนมีสุขภาวะที่ดีรอบด้าน พัฒนาตนเองสู่ความเป็นพลเมืองวิถีพุทธ สร้างพลังการพัฒนาชุมชน สังคม ประเทศชาติ และพระพุทธศาสนาให้ดียิ่งขึ้นสืบไป โดยมีวัดโดนคลานซึ่งเป็นศูนย์กลางของชุมชน เป็นศูนย์รวมกิจกรรมของตำบลและอำเภอทุกมิติ ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม (ศีล ๕) ถือเป็นการรวมชุมชนให้เป็นหนึ่งเดียวและมีความเข้มแข็ง มีศักยภาพในการยกระดับเป็นศูนย์การเรียนรู้การเสริมสร้างสุขภาวะทางสังคมวิถีพุทธและเป็นศูนย์รวมศรัทธาของชาวตำบลบ้านพร้าวและพื้นที่ใกล้เคียง เชื่อมโยงเครือข่ายด้วยการประสานจัดทำฐานข้อมูลพระสงฆ์ รับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพกาย จิตใจ ร่วมกับมหาเถรสมาคม เครือข่ายสุขภาพสาธารณะสุขอำเภอ การสื่อสารสาธารณะ ขับเคลื่อนชุมชน และพัฒนานวัตกรรมระบบสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ (บวร) เพื่อชุมชนสุขภาวะในรูปแบบโดนคลานโมเดล (Donklan Green Wellness Community Model) เพื่อรองรับการท่องเที่ยวชุมชนสุขภาวะวิถีพุทธอย่างยั่งยืนในระดับสากลต่อไปในพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านพร้าว เป็นชุมชนวิถีพุทธที่มีศาสนสถาน จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ วัดโดนคลาน โดยมีพระครูวุฒิสาครธรรม เป็นเจ้าอาวาส และสำนักสงฆ์ในสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ได้แก่ สำนักสงฆ์สวนป่าบ้านตลิ่งชัน โดยมีพระปลัดธนารักษ์ จารุธมฺโม เป็นประธานสำนักสงฆ์ ซึ่งศาสนสถานทั้ง 2 แห่งนี้อยู่คู่กับชุมชนมาอย่างยาวนาน เป็นศูนย์รวมทางจิตใจของคนในชุมชนรอบบริเวณศาสนสถาน อีกทั้งยังเป็นสถานที่ในการทำกิจกรรมทางศาสนาที่สำคัญมาอย่างต่อเนื่อง โดยเชื่อมโยงกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ โรงเรียนบ้านบ่อทราย โรงเรียนบ้านตลิ่งชัน โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม วิทยาลัยเทคนิคป่าพะยอม มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตลิ่งชัน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบ่อทราย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ่อทราย และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชัน ดังนั้น กิจกรรมที่แสดงถึงความเป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ คือ กิจกรรมหิ้วปิ่นโตไปวัดพัฒนาคุณธรรม กิจกรรมปิ่นโตเพื่อสุขภาพ กิจกรรมการอบรมคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน โดยจะทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างเด็ก เยาวชน และผู้ปกครอง เป็นการเสริมสร้างสุขภาวะทางกายและจิตใจ แต่ยังขาดภูมิคุ้มกันทางสังคมและปัญญา อันเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากดัชนีชี้วัดของเด็กและเยาวชนที่อยู่ในระบบการศึกษา พบว่า มีกลุ่มพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ ปัญหายาเสพติด ซึ่งมีมากที่สุดไม่ต่ำกว่า ๓๐ คน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมัธยมศึกษา ยังไม่นับระดับประถมศึกษาและเด็กปฐมวัยที่มีสมาธิสั้นและพฤติกรรมก้าวร้าว สาเหตุมาจากขาดการปลูกฝังการปฏิบัติที่ถูกต้องจากผู้ปกครอง ขาดความรักความอบอุ่นในครอบครัว เนื่องจากส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับปู่ย่าตายายหรือญาติ ส่วนพ่อแม่นั้นไปทำงานต่างจังหวัด และการใช้สื่อสังคมออนไลน์โดยขาดการควบคุมจากผู้ปกครอง รวมทั้งการมีส่วนร่วมในระดับพระสงฆ์ ครู หมอ พ่อแม่ และครอบครัวในท้องถิ่นมีความเป็นเอกภาพแต่ขาดการนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างวัคซีนกายใจแก่เด็ก เยาวชน และครอบครัว เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองวิถีพุทธในการเสริมสร้างความคุ้มครองทางสังคมอย่างยั่งยืนร่วมกับเทศบาลตำบลบ้านพร้าวและทุกภาคส่วน เห็นว่าโครงการ ฯ นี้ มีประโยชน์ และมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการเร่งด่วน จึงได้จัดทำกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืนต่อไปในปีงบประมาณ ๒๕๖๖ นี้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะในการดูแลตนเองแก่กลุ่มเป้าหมาย ในการพัฒนาความเป็นพลเมืองวิถีพุทธ

ร้อยละ 70 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการเสริมสร้างความรู้และทักษะในการดูแลตนเองแก่กลุ่มเป้าหมาย ในการพัฒนาความเป็นพลเมืองวิถีพุทธ

70.00 70.00
2 เพื่อสร้างแบบแผนการปฏิบัติดูแลสุขภาวะทางกายและจิตใจใน ชีวิตประจ าวันแก่กลุ่มเป้าหมาย ในการพัฒนาความเป็นพลเมืองวิถีพุทธ

ร้อยละ 70 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการสร้างแบบแผนการปฏิบัติดูแลสุขภาวะทางกายและจิตใจในชีวิตประจ าวันแก่กลุ่มเป้าหมาย ในการพัฒนาความเป็นพลเมืองวิถีพุทธ

70.00 70.00
3 เพื่อสร้างแกนนำการทำงานการสร้างเสริมสุขภาวะทางกายและจิตใจ โดยการมีส่วนร่วมแก่กลุ่ม เป้าหมายในการพัฒนาความเป็นพลเมืองวิถีพุทธ

ร้อยละ 70 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการสร้างแกนนำการทำงานการสร้างเสริมสุขภาวะทางกายและจิตใจ โดยการมีส่วนร่วมแก่กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาความเป็นพลเมืองวิถีพุทธ

70.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 120
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการ Mindfulness based Active Learning สร้างความ เข้าใจกับกลุ่มเด็ก เยาวชน และ ครอบครัว

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ Mindfulness based Active Learning สร้างความ เข้าใจกับกลุ่มเด็ก เยาวชน และ ครอบครัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 120 คน ๆ ละ 1 มื้อ มื้อละ 50 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
  2. ค่าเครื่องดื่ม จำนวน 120 คน ๆ ละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 6,000 บาท
  3. ค่าวิทยากร 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  4. ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ป้ายขนาด 2.4X1.2 เมตร เป็นเงิน 482 บาท
  5. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม ได้แก่ กระดาษ หมึกพริ้น ปากกา ค่าพิมพ์เอกสารอบรม และทำเล่มสรุปรายงาน ถ่ายภาพนิ่ง และทำคลิปวีดีโอเป็นเงิน 4,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ร้อยละ 70 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการเสริมสร้างความรู้และทักษะในการดูแลตนเองแก่กลุ่มเป้าหมาย ในการพัฒนาความเป็นพลเมืองวิถีพุทธ
2. ร้อยละ 70 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการสร้างแบบแผนการปฏิบัติดูแลสุขภาวะทางกายและจิตใจในชีวิตประจำวันแก่กลุ่มเป้าหมาย ในการพัฒนาความเป็นพลเมืองวิถีพุทธ
3. ร้อยละ 70 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการสร้างแกนนำการทำงานการสร้างเสริมสุขภาวะทางกายและจิตใจ โดยการมีส่วนร่วมแก่กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาความเป็นพลเมืองวิถีพุทธ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20082.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,082.00 บาท

หมายเหตุ :
***ทุกรายการสามารุถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้ตามความเหมาะสม***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ได้เสริมสร้างความรู้และทักษะในการดูแลตนเองแก่กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาความเป็นพลเมืองวิถีพุทธ
2. ได้สร้างแบบแผนการปฏิบัติดูแลสุขภาวะทางกายและจิตใจในชีวิตประจำวันแก่กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาความเป็นพลเมืองวิถีพุทธ
3. ได้สร้างแกนนำการทำงานการสร้างเสริมสุขภาวะทางกายและจิตใจ โดยการมีส่วนร่วมแก่กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาความเป็นพลเมืองวิถีพุทธ


>