กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโตนดด้วน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสุขใจ ไร้พุง(คลินิก DPAC)ตำบลโตนดด้วน ปีงบประมาณ ๒๕๖๖

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโตนดด้วน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโตนดด้วน

พื้นที่ตำบลโตนดด้วน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 1.ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุง

 

20.00

ภาวะโภชนาการเกินและโรคอ้วนเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญซึ่งต้องเร่งแก้ไขเนื่องจากเป็นปัญหาหนึ่งซึ่งนำไปสู่ผลกระทบต่อสุขภาพเศรษฐกิจและปัญหาทางจิตสังคมอย่างชัดเจนโรคที่เป็นผลกระทบ จากภาวะโภชนาการเกินและโรคอ้วนต่อสุขภาพที่พบในผู้ใหญ่ได้แก่ข้อเข่าเสื่อมภาวะอัมพฤกษ์อัมพาตความดันโลหิตสูงโรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวานไขมันในเลือดสูง มะเร็งลำไส้โรคซึมเศร้าเป็นต้นและยังพบว่าการตายในผู้ที่อายุระหว่าง๒๐ – ๗๔ปีกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งมีผลมาจากความอ้วนโรคหัวใจและหลอดเลือดยังเป็นสาเหตุการตายของคนทั่วโลกปีละ ๑๗ ล้านคนและมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น โดยคาดว่าในปีพ.ศ.๒๕๖6ทั่วโลกจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวประมาณ๒๕ล้านคนปัญหาสุขภาพเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโรค เป็นภาระของครอบครัวและประเทศนอกจากนี้ยังปรากฏว่าร้อยละ ๒-๘ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประชาชนในปัจจุบันเป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นผลกระทบจากโรคอ้วน ถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไปในอีก๑๐ปีข้างหน้าค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมากจากการสำรวจสุขภาพประชากรไทยปีล่าสุด พ.ศ.๒565 พบว่า ประชากรในประเทศไทยที่อายุมากกว่า ๓๕ ปี มีเส้นรอบพุงเกินกำหนดประมาณ ๙.๓ ล้านคนโดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย คือ เพศหญิงอ้วนลงพุง ๕๒%ผู้ชาย ๒๒% คน ที่มีรอบเอวเพิ่มขึ้นทุก ๕ เซนติเมตรจะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานเพิ่ม ๓-๕ เท่าจะเห็นได้ว่าเอวใหญ่ขึ้นเท่าไรก็ยิ่งเจ็บป่วยและตายเร็วขึ้นเท่านั้น จากการสำรวจสภาวะอ้วนลงพุงในประชาชนของกรมอนามัยปี ๒๕65 พบว่าคนไทยอายุมากกว่า ๑๕ ปีขึ้นไป เพศชายมีภาวะอ้วนลงพุง ร้อยละร้อยละ ๒6และเพศหญิงร้อยละ ๖2 โดยพบในผู้หญิงมากกว่าชายถึง ๒.๕ เท่าตัว ภาวะอ้วนลงพุงส่วนใหญ่จะเกิดจากพฤติกรรมการบริโภค กรรมพันธุ์ และไม่ออกกำลังกาย ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเรื้อรัง ตามมา เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หลอดเลือดสมองและมะเร็งจากการคัดกรองภาวะสุขภาพประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่รับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโตนดด้วน ปีงบประมาณ 2565 พบว่ามีค่าดัชนีมวลกายเกินมาตรฐานร้อยละ36.15มีภาวะโรคอ้วนร้อยละ24.31 มีรอบเอวเกินมาตรฐานสูงถึงร้อยละ 43.12 (จากระบบJHCIS วันที่ 1 ตุลาคม 2565) ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโตนดด้วนจึงจัดทำโครงการสุขใจไร้พุง( DPAC ) เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการกับการออกกำลังกาย และอารมณ์ ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุงส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญ การส่งเสริมสุขภาพสนับสนุนให้มี การออกกำลังกายเต้นแอโรบิคเพื่อลดรอบเอว และในการลดน้ำหนัก และทำกิจกรรมร่วมกันส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโตนดด้วนมีสุขภาพดี ลดอัตราการป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หลอดเลือดสมองและมะเร็ง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.ใคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุง

คัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุงร้อยละ 20 ของกลุ่มเป้าหมาย

15.00 20.00
2 2.เพื่อให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน ลงพุง

กลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้โรคอ้วนลงพุง

15.00 20.00
3 ๓.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงร่วมกิจกรรมออกกำลังกายเต้นแอโรบิค

กลุ่มเสี่ยงได้ออกกำลังกาย 3 ครั้ง/สัปดาห์

15.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 182
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน ลงพุง จำนวน 5๐ คน

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน ลงพุง จำนวน 5๐ คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุงร้อยละ 20 ของกลุ่มเป้าหมาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน ลงพุง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน ลงพุง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน ลงพุง จำนวน 20 คน งบประมาณ ดังนี้ ชุดเอกสารให้ความรู้จำนวน 20 ชุดๆละ 10 บาทเป็นเงิน 200 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการและผู้จัดจำนวน 22 คน1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน550 บาท รวมเป็นเงิน ๗๕๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 เมษายน 2566 ถึง 25 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้โรคอ้วนลงพุง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรม ออกกำลังกายเต้นแอโรบิค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม ออกกำลังกายเต้นแอโรบิค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม ออกกำลังกายเต้นแอโรบิค จำนวน 24 วัน ผู้เข้าร่วมเต้นแอโรบิค20 คน ค่าสมนาคุณวิทยากร 1 คน 150 บาทจำนวน 1 ชั่วโมงต่อวันสัปดาห์ละ 3 วันเป็นจำนวน 24 วัน เป็นเงิน 3,600บาท - ค่าน้ำดื่มในกิจกรรมออกกำลังกาย จำนวน 50 แพ็คๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท รวมเป็นเงิน 5,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงได้ออกกำลังกาย 3 ครั้ง/สัปดาห์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 6,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ด้านโภชนาการกับการออกกำลังกายและมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม
2.กลุ่มเสี่ยงที่เป็นผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจภาวะเสี่ยงของตนเอง เข้าใจวิธีการที่จะจัดการตนเองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ยั่งยืน
3.ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถดูแลสุขภาพตนเอง ขยายผลสู่ครอบครัว ชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง


>