กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขใจ ไร้พุง(คลินิก DPAC)ตำบลโตนดด้วน ปีงบประมาณ ๒๕๖๖
รหัสโครงการ 65-L3318-01-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโตนดด้วน
วันที่อนุมัติ 30 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 6,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชัชวาล เรืองเดช
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโตนดด้วน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 29 มี.ค. 2566 30 ก.ย. 2566 6,350.00
รวมงบประมาณ 6,350.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 182 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 1.ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุง
20.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโภชนาการเกินและโรคอ้วนเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญซึ่งต้องเร่งแก้ไขเนื่องจากเป็นปัญหาหนึ่งซึ่งนำไปสู่ผลกระทบต่อสุขภาพเศรษฐกิจและปัญหาทางจิตสังคมอย่างชัดเจนโรคที่เป็นผลกระทบ จากภาวะโภชนาการเกินและโรคอ้วนต่อสุขภาพที่พบในผู้ใหญ่ได้แก่ข้อเข่าเสื่อมภาวะอัมพฤกษ์อัมพาตความดันโลหิตสูงโรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวานไขมันในเลือดสูง มะเร็งลำไส้โรคซึมเศร้าเป็นต้นและยังพบว่าการตายในผู้ที่อายุระหว่าง๒๐ – ๗๔ปีกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งมีผลมาจากความอ้วนโรคหัวใจและหลอดเลือดยังเป็นสาเหตุการตายของคนทั่วโลกปีละ ๑๗ ล้านคนและมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น โดยคาดว่าในปีพ.ศ.๒๕๖6ทั่วโลกจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวประมาณ๒๕ล้านคนปัญหาสุขภาพเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโรค เป็นภาระของครอบครัวและประเทศนอกจากนี้ยังปรากฏว่าร้อยละ ๒-๘ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประชาชนในปัจจุบันเป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นผลกระทบจากโรคอ้วน ถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไปในอีก๑๐ปีข้างหน้าค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมากจากการสำรวจสุขภาพประชากรไทยปีล่าสุด พ.ศ.๒565 พบว่า ประชากรในประเทศไทยที่อายุมากกว่า ๓๕ ปี มีเส้นรอบพุงเกินกำหนดประมาณ ๙.๓ ล้านคนโดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย คือ เพศหญิงอ้วนลงพุง ๕๒%ผู้ชาย ๒๒% คน ที่มีรอบเอวเพิ่มขึ้นทุก ๕ เซนติเมตรจะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานเพิ่ม ๓-๕ เท่าจะเห็นได้ว่าเอวใหญ่ขึ้นเท่าไรก็ยิ่งเจ็บป่วยและตายเร็วขึ้นเท่านั้น จากการสำรวจสภาวะอ้วนลงพุงในประชาชนของกรมอนามัยปี ๒๕65 พบว่าคนไทยอายุมากกว่า ๑๕ ปีขึ้นไป เพศชายมีภาวะอ้วนลงพุง ร้อยละร้อยละ ๒6และเพศหญิงร้อยละ ๖2 โดยพบในผู้หญิงมากกว่าชายถึง ๒.๕ เท่าตัว ภาวะอ้วนลงพุงส่วนใหญ่จะเกิดจากพฤติกรรมการบริโภค กรรมพันธุ์ และไม่ออกกำลังกาย ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเรื้อรัง ตามมา เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หลอดเลือดสมองและมะเร็งจากการคัดกรองภาวะสุขภาพประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่รับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโตนดด้วน ปีงบประมาณ 2565 พบว่ามีค่าดัชนีมวลกายเกินมาตรฐานร้อยละ36.15มีภาวะโรคอ้วนร้อยละ24.31 มีรอบเอวเกินมาตรฐานสูงถึงร้อยละ 43.12 (จากระบบJHCIS วันที่ 1 ตุลาคม 2565) ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโตนดด้วนจึงจัดทำโครงการสุขใจไร้พุง( DPAC ) เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการกับการออกกำลังกาย และอารมณ์ ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุงส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญ การส่งเสริมสุขภาพสนับสนุนให้มี การออกกำลังกายเต้นแอโรบิคเพื่อลดรอบเอว และในการลดน้ำหนัก และทำกิจกรรมร่วมกันส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโตนดด้วนมีสุขภาพดี ลดอัตราการป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หลอดเลือดสมองและมะเร็ง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.ใคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุง

คัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุงร้อยละ 20 ของกลุ่มเป้าหมาย

15.00 20.00
2 2.เพื่อให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน ลงพุง

กลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้โรคอ้วนลงพุง

15.00 20.00
3 ๓.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงร่วมกิจกรรมออกกำลังกายเต้นแอโรบิค

กลุ่มเสี่ยงได้ออกกำลังกาย 3 ครั้ง/สัปดาห์

15.00 20.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 6,350.00 0 0.00
1 - 31 มี.ค. 66 คัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน ลงพุง จำนวน 5๐ คน 0 0.00 -
25 เม.ย. 66 อบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน ลงพุง 0 750.00 -
1 พ.ค. 66 - 30 มิ.ย. 66 กิจกรรม ออกกำลังกายเต้นแอโรบิค 0 5,600.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ด้านโภชนาการกับการออกกำลังกายและมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม 2.กลุ่มเสี่ยงที่เป็นผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจภาวะเสี่ยงของตนเอง เข้าใจวิธีการที่จะจัดการตนเองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ยั่งยืน 3.ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถดูแลสุขภาพตนเอง ขยายผลสู่ครอบครัว ชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2566 21:21 น.