กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองตะลุบัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการร่วมใจ สูงวัย ฟันดี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองตะลุบัน

โรงพยาบลสมเด็จพระยุพราชสายบุรี

นางสาวชฎีมาศ ชัยวิริยะวงศ์

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสายบุรี ตำบล ตะลุบัน อำเภอ สายบุรี จังหวัด ปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ จากผลการสำรวจสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2560 ปัญหาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุไทยอายุ 60-74 ปี พบว่า ผู้มีฟันถาวรใช้งานได้อย่างน้อย 20 ซี่ ร้อยละ 56.1 ผู้มีฟันถาวรใช้งาน 20 ซี่ และมีฟันหลัง 4 คู่สบ ร้อยละ 39.4 มีปัญหาการสูญเสียฟันทั้งปากร้อยละ 8.7 มีความจำเป็นในการใส่ฟันเทียมบางส่วน ร้อยละ 42.6 ความจำเป็นในการใส่ฟันเทียมทั้งปากร้อยละ 2.7 ผู้ที่มีฟันผุที่ยังไม่ได้รับการรักษา ร้อยละ 52.6 และมีรากฟันผุ ร้อยละ 16.5 ส่วนโรคปริทันต์ พบว่า มีการทำลายของอวัยวะปริทันต์ที่อยู่รอบรากฟันหรือมีร่องลึกปริทันต์ร้อยละ 36.3 โดยมีสภาวะปริทันต์อักเสบรุนแรง ร้อยละ 12.2 ส่วนในผู้สูงอายุตอนปลายอายุ 80 - 85 ปีมีการสูญเสียฟันถาวรเพิ่มขึ้น ผู้ที่มีฟันถาวรใช้งานได้อย่างน้อย 20 ซี่ ร้อยละ 22.4 และมีฟันหลังสบกัน 4 คู่สบ ร้อยละ 12.1 ผู้สูญเสียฟันทั้งปากร้อยละ 31.0 มีรากฟันผุร้อยละ 12.5 และมีความจำเป็นต้องใส่ฟันเทียมทั้งปาก ร้อยละ 13.1
จึงเป็นที่มาของแผนงานทันตสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ ประเทศไทย พ.ศ. 2558 - 2565 เล็งเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ ซึ่งกำหนดประเด็นปัญหาสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุไว้ 7 ประเด็นสำคัญ โดยมี 6 ประเด็น ระบุไว้ในรายงานขององค์การอนามัยโลกและมีประเด็นที่เพิ่มเติม ดังนี้
1. การสูญเสียฟันและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใส่ฟัน
2. ฟันผุและรากฟันผุ
3. โรคปริทันต์
4. แผลและมะเร็งช่องปาก
5. สภาวะน้ำลายแห้ง
6. ฟันสึก
7. สภาวะช่องปากที่สัมพันธ์กับโรคทางระบบของผู้สูงอายุ
นอกจากนี้ จากผลสำรวจการรับรู้และการรับบริการด้านทันตสุขภาพ ด้านการสื่อสารความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก พบว่า การสื่อสารผ่านบุคลากรสาธารณสุขเป็นช่องทางหลักที่ผู้สูงอายุได้รับความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากมากที่สุด ร้อยละ 54.7 รองลงมาคือโทรทัศน์และอาสาสมัครสาธารณสุขภาคประชาชนร้อยละ 36.2 และ 17.2 ตามลำดับ ส่วนช่องทางออนไลน์ต่างๆและโปสเตอร์/แผ่นพับ/สิ่งพิมพ์ ยังเข้าถึงผู้สูงอายุได้น้อย ร้อยละ 2.4 และ 4.0 ตามลำดับ
จึงเป็นที่มาของโครงการ ร่วมใจ สูงวัย ฟันดี อันเป็นโครงการซึ่งเกิดจากการร่วมแรงร่วมใจกันของบุคลากรสาธารณสุข ภาคประชาชน และการสนับสนุนจากรัฐ เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มผู้สูงวัยมีสุขภาพช่องปากที่ดีในอนาคต โดยจัดอบรมให้ความรู้กลุ่มอาสาสมัครแกนนำสาธารณสุขภาคประชาชน เกี่ยวกับโรคในช่องปากเบื้องต้น โรคทางระบบที่สอดคล้องกับปัญหาสภาวะช่องปากในผู้สูงอายุ รวมถึงวิธีการดูแลทำความสะอาดช่องปาก ทำให้สามารถเป็นตัวกลางสำคัญในการสื่อสารและเข้าถึงกลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่ได้โดยตรง ทำให้ผู้สูงอายุมีโอกาสได้รับความรู้ที่ถูกต้องจากบุคลากรสาธารณสุข ลดข้อจำกัดของผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพร่างกายและเดินทางลำบาก อันเป็นประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพช่องปากและสุขภาพร่างกายต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขภาคประชาชน ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคในช่องปากเบื้องต้น โรคทางระบบที่สอดคล้องกับปัญหาสภาวะช่องปากในผู้สูงอายุ รวมถึงวิธีการดูแลทำความสะอาดช่องปากถูกต้อง 2 กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขภาคประชาชน ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี สามารถแปรงฟันและทำความสะอาดอย่างถูกวิธี
  • ร้อยละ 80 ของกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขภาคประชาชน มีคะแนนทดสอบความรู้เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการอบรม
  • ร้อยละ 80 ของกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขภาคประชาชน มีคะแนนทดสอบหลังการอบรมมากกว่าร้อยละ 70
  • ร้อยละ 100 ของกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขภาคประชาชน ได้รับคำแนะนำ จนสามารถแปรงเพื่อขจัดคราบสีย้อมได้อย่างถูกต้อง
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มอาสาสมัครประจำตำบล 80

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 30/06/2023

กำหนดเสร็จ 30/03/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 บรรยายเรื่อง “ปัญหาสุขภาพช่องปากและวิธีการดูแลรักษา”

ชื่อกิจกรรม
บรรยายเรื่อง “ปัญหาสุขภาพช่องปากและวิธีการดูแลรักษา”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. บรรยายเรื่อง  “ปัญหาสุขภาพช่องปากและวิธีการดูแลรักษา”
  2. บรรยายเรื่อง “โรคทางระบบกับสภาวะช่องปากผู้สูงอายุ”
    งบประมาณ

- ค่าวิทยากรบรรยาย (ชั่วโมงละ ๖๐๐ จำนวน 1.5 ชั่วโมง) × 1 วัน x 2 ท่าน = 1,800 บาท
- ค่าป้ายไวนิล 1 เมตร x 3 เมตร = 600 บาท
- ค่าวัสดุเครื่องเขียน และอุปกรณ์ทำสื่อ ได้แก่ - แฟ้มใส่เอกสาร 80 เล่ม x 12 บาท = 960 บาท - ปากกา 80 ด้าม x 10 บาท = 800 บาท - กระดาษ A4 180 บาท x 2 รีม = 360 บาท - หมุดยึดไวนิล 1 กล่อง = 75 บาท - ที่เย็บกระดาษ 1 กล่อง = 15 บาท - ที่หนีบกระดาษ no.108 1 กล่อง = 84 บาท - ปากกาหมึกถาวร ด้ามละ 45 บาท x 2 ด้าม
  = 90 บาท - เทปกาวใสหน้ากว้าง 1 ม้วน = 40 บาท - เทปเยื่อกาว 1 ม้วน = 55 บาท - กระดาษสีแบบแข็ง แผ่นละ 15 บาท x 2 = 30 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 มิถุนายน 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4909.00

กิจกรรมที่ 2 3.ย้อมสีฟันและแปรงฟันอย่างถูกวิธี

ชื่อกิจกรรม
3.ย้อมสีฟันและแปรงฟันอย่างถูกวิธี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ย้อมสีฟันและแปรงฟันอย่างถูกวิธี - ค่าเม็ดสีย้อมฟัน 1,750 บาท - ค่าชุดแปรงสีฟัน (ซองใส่, แปรงสีฟัน, ยาสีฟัน) ชุดละ 60 บาท x 80 คน = 4,800 บาท - แก้วน้ำพลาสติกแถว 80 ใบ x 0.4 บาท = 32 บาท - ค่าวิทยากรกลุ่ม (ชั่วโมงละ 300 จำนวน 4 ชั่วโมง) × 5 คน = 6,000 บาท                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                          - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ชุดละ 25 บาท
80 ชุด x 2 มื้อ  x 1 วัน = 4,0๐๐ บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ชุดละ 25 บาท
(สำหรับวิทยากรและเจ้าหน้าที่ 7 คน) 7 ชุด x 2 มื้อ  x 1 วัน = 350 บาท - ค่าอาหารกลางวัน ชุดละ 50  บาท
80 ชุด x 1 มื้อ x 1 วัน = 4,000 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน ชุดละ 50  บาท
(สำหรับวิทยากรและเจ้าหน้าที่ 7 คน) 7 ชุด x 1 มื้อ x 1 วัน = 350 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 มิถุนายน 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21282.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,191.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขภาคประชาชน ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคในช่องปากเบื้องต้น โรคทางระบบที่สอดคล้องกับปัญหาสภาวะช่องปากในผู้สูงอายุ รวมถึงวิธีการดูแลทำความสะอาดช่องปากถูกต้อง
2. กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขภาคประชาชน ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี สามารถแปรงฟันและทำความสะอาดอย่างถูกวิธี
3. ผู้สูงอายุในตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี มีโอกาสได้รับความรู้และคำแนะนำที่ถูกต้องจากกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขภาคประชาชน


>