กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่ากำชำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหนูน้อยรักษ์ฟัน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่ากำชำ

โรงเรียนส่งเสริมอิสลามศึกษา

โรงเรียนส่งเสริมอิสลามศึกษา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ทันต์สุขภาพ เป็นส่วนหนึ่งของสุขภาพอนามัย การมีทันต์สุขภาพอนามัยที่ดีปราศจากโรคในช่องปาก ฟันก็จะทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งถ้าหากมีสุขภาพปากและฟันที่ดีแล้วจะส่งผลให้สุขภาพกายดีไปด้วยเด็กปฐมวัย (๓-๖ ปี) เป็นวัยที่เด็กมีฟันน้ำนมขึ้นมาครบทุกซี่แล้ว โรคในช่องปากที่เป็นปัญหาของเด็กวัยนี้คือ โรคฟันผุ การสูญเสียฟันน้ำนมก่อนกำหนดมีผลเสียต่อบุคลิกภาพ การบดเคี้ยว ตลอดจนการเรียงตัวของฟันถาวรที่จะเกิดขึ้นมาแทนที่และมีผลต่อสุขภาพอนามัยของเด็กการดูแลสุขภาพปากและฟันเป็นสิ่งที่ควรส่งเสริมให้นักเรียนได้กระทำเป็นกิจวัตรประจำวันให้ติดเป็นนิสัย
ดังนั้นทางโรงเรียนจึงจัดโครงการหนูน้อยรักษ์ฟันขึ้น เพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปากที่ดีในเด็กปฐมวัยโดยมีกิจกรรมการตรวจสุขภาพฟันเด็กสาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธีให้แก่ผู้ปกครอง และจัดให้เด็กมีการแปรงฟันทุกวันในช่วงพักกลางวัน หลังจากรับประทานอาหารกลางวันเรียบร้อยแล้ว และจะมีการประเมินผลโดยมีการจดบันทึกการแปรงฟันประจำวันทุกวัน เพื่อให้เด็กนักเรียนรู้จักการแปรงฟันด้วยตนเองและมีสุขภาพช่องปากดีขึ้นและลดการฟันผุในเด็กปฐมวัยวัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักการแปรงฟันด้วยตนเอง

 

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขนิสัยที่ดีและปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามวัย

 

0.00
3 เพื่อลดโรคฟันผุและเหงือกอักเสบในเด็กปฐมวัย

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 07/11/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 หนูน้อยรักษ์ฟัน

ชื่อกิจกรรม
หนูน้อยรักษ์ฟัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลท่ากำชำ จำนวน ๑๐,๐๐๐.-บาท
๑. ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการขนาด ๑x ๒.๕๐เมตร จำนวน ๑ ป้ายๆละ ๗๕๐.-บาท เป็นเงิน ๗๕๐.-บาท
๒. ค่าวิทยากร( วิทยากร๑คน ) ๓ชั่วโมงๆละ ๖๐๐ บาท เป็นเงิน ๑,๘๐๐บาท
๓.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน๑ มื้อๆ ละ๒๕.-บาทจำนวน๑๐๐ คน เป็นเงิน๒,๕๐๐.-บาท
๔.แปรงสีฟันจำนวน๑๓โหลๆละ๑๓๐ บาทเป็นเงิน๑,๖๙๐.-บาท
๕.ยาสีฟัน ๑๐๐ หลอดๆละ ๓๐ บาท เป็นเงิน๓,๐๐๐.-บาท ๖. ซื้อภาพโปสเตอร์การแปรงฟันที่ถูกวิธี ๕ แผ่นๆละ ๕๒ บาท เป็นเงิน๒๖๐.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 พฤศจิกายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนรู้จักการแปรงฟันด้วยตนเอง นักเรียนมีสุขนิสัยที่ดีและปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามวัย ลดโรคฟันผุและเหงือกอักเสบในเด็กปฐมวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กนักเรียนร้อยละ๘๐.๐๐ สามารถแปรงฟันได้ด้วยตนเอง
2.เด็กนักเรียนร้อยละ๘๐.๐๐ ยอมรับการรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์
3.เด็กร้อยละ ๘๐ ไม่มีฟันผุเพิ่มขึ้น


>