กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูคละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ สตรี สตรอง อารมณ์ดี ชีวีมีสุข ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูคละ

กลุ่มสตรีตำบลกายูคละ

1.นางสาวใสนะห์ หะยีสาและ
2.นางสาวตอรีฮะ ยาลี
3.นางสาวสาวิตรี ว่องไว
4.นางสาวมารียา ยูโซ๊ะ
5.นางสูรีนา เจ๊ะอาแซ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปัจจุบันผู้หญิงมีบทบาทที่หลากหลายในสังคม สตรีมักต้องเผชิญกับความเครียดจากงานและครอบครัว ซึ่งบางครั้งความเปลี่ยนแปลงในร่างกายอาจทำให้เกิดความผิดปกติและนำมาซึ่ง โรคต่าง ๆ

 

150.00

สุขภาพที่ดีคือภาวะที่สมดุลระหว่างสุขภาพร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ซึ่งเกิดขึ้นได้จากวิถีชีวิตที่เหมาะสม ชีวิตที่มีสุขภาพดีประกอบขึ้นจากจิตใจและร่างกายที่แข็งแรง ดังนั้นสุขภาพร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคมจึงสำคัญเทียบเท่ากัน ปัจจุบันผู้หญิงมีบทบาทที่หลากหลายในสังคม สตรีมักต้องเผชิญกับความเครียดจากงานและครอบครัว การทำหน้าที่ในแต่ละบทบาทให้สมบูรณ์แบบโดยใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดีไปพร้อมกันนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย สตรีควรใส่ใจดูแลสุขภาพจิตและสุขภาพกายของตนเอง เพื่อจะได้ใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดีและมีความสุข
โดยเฉพาะกลุ่มสตรีจะเห็นได้ว่าปัญหาสุขภาพของผู้หญิงมีลักษณะเฉพาะและต้องการการเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดเพราะร่างกายของผู้หญิงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตั้งแต่วัยเด็กเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์วัยผู้ใหญ่ และวัยหมดประจำเดือนซึ่งบางครั้งความเปลี่ยนแปลงในร่างกายอาจทำให้เกิดความผิดปกติและนำมาซึ่ง โรคต่าง ๆ และมักไม่มีสัญญาณเตือนจะแสดงอาการเมื่อถึงขั้นรุนแรงดังนั้นผู้หญิงควรหมั่นใส่ใจสุขภาพและการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตรวจสุขภาพเป็นประจำเพื่อป้องกันโรคต่าง ๆโดยเฉพาะโรคทางนรีเวชที่อาจเกิดขึ้นได้
ดังนั้นกลุ่มสตรีตำบลกายูคละได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้มีการจัดโครงการ สตรี สตรอง อารมณ์ดี ชีวีมีสุข ประจำปี 2566 เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้กลุ่มสตรีมีความรู้ความเข้าใจในการในการดูแลสุขภาพ และเรื่องการจัดการอารมณ์และความเครียดของตนเองและคนในครอบครัว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้สตรีในตำบลกายูคละ มีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว

สตรีในตำบลกายูคละ มีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวร้อยละ 100

150.00 1.00
2 เพื่อส่งเสริมให้สตรีมีความรู้ความเข้าใจ เรื่องการจัดการอารมณ์และความเครียดของตนเองและ คนในครอบครัว

สตรีมีความรู้ความเข้าใจ เรื่องการจัดการอารมณ์และความเครียดของตนเองและ คนในครอบครัว ร้อยละ 100

150.00 1.00
3 เพื่อสร้างเครือข่ายแกนนำรักษ์สุขภาพตำบลกายูคละ

เกิดเครือข่ายแกนนำรักษ์สุขภาพตำบลกายูคละร้อยละ 80

150.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
สตรีในตำบลกายูคละ 150

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ การตรวจร่างกายด้วยตัวเองเพื่อหาความผิดปกติเบื้องต้น และประเมินสุขภาพจิต พิชิตสุขภาพใจ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ การตรวจร่างกายด้วยตัวเองเพื่อหาความผิดปกติเบื้องต้น และประเมินสุขภาพจิต พิชิตสุขภาพใจ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เรื่อง
-การดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว
-การจัดการอารมณ์และความเครียดของตนเองและคนในครอบครัว
มีรายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้
-ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 12 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 7,200 บาท
-ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม จำนวน 150 คนๆละ 70 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 21,000 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 150 คนๆละ 4 มื้อๆละ 30 บาท เป็นเงิน 18,000 บาท
-ค่าป้ายไวนิลจำนวน1 ผืน (ขนาด 3 x 1.25) เป็นเงิน 1,500 บาท
-ค่าวัสดุ เครื่องเขียน อุปกรณ์ จำนวน 150 ชุดๆละ 100 บาท (กระเป๋าผ้า+สมุด+ปากกา) เป็นเงิน 15,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สตรีในตำบลกายูคละ มีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
62700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 62,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สตรีในตำบลกายูคละ มีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว
2. สตรีมีความรู้ความเข้าใจ เรื่องการจัดการอารมณ์และความเครียดของตนเองและคนในครอบครัว
3. เกิดเครือข่ายแกนนำรักษ์สุขภาพตำบลกายูคละ


>