กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ สตรี สตรอง อารมณ์ดี ชีวีมีสุข ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L2518-2-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มสตรีตำบลกายูคละ
วันที่อนุมัติ 27 กันยายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 62,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวใสนะห์ หะยีสาและ
พี่เลี้ยงโครงการ นายสวรรค์ สาและ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกายูคละ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุขภาพจิต
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปัจจุบันผู้หญิงมีบทบาทที่หลากหลายในสังคม สตรีมักต้องเผชิญกับความเครียดจากงานและครอบครัว ซึ่งบางครั้งความเปลี่ยนแปลงในร่างกายอาจทำให้เกิดความผิดปกติและนำมาซึ่ง โรคต่าง ๆ
150.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพที่ดีคือภาวะที่สมดุลระหว่างสุขภาพร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ซึ่งเกิดขึ้นได้จากวิถีชีวิตที่เหมาะสม ชีวิตที่มีสุขภาพดีประกอบขึ้นจากจิตใจและร่างกายที่แข็งแรง ดังนั้นสุขภาพร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคมจึงสำคัญเทียบเท่ากัน ปัจจุบันผู้หญิงมีบทบาทที่หลากหลายในสังคม สตรีมักต้องเผชิญกับความเครียดจากงานและครอบครัว การทำหน้าที่ในแต่ละบทบาทให้สมบูรณ์แบบโดยใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดีไปพร้อมกันนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย สตรีควรใส่ใจดูแลสุขภาพจิตและสุขภาพกายของตนเอง เพื่อจะได้ใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดีและมีความสุข โดยเฉพาะกลุ่มสตรีจะเห็นได้ว่าปัญหาสุขภาพของผู้หญิงมีลักษณะเฉพาะและต้องการการเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดเพราะร่างกายของผู้หญิงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตั้งแต่วัยเด็กเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์วัยผู้ใหญ่ และวัยหมดประจำเดือนซึ่งบางครั้งความเปลี่ยนแปลงในร่างกายอาจทำให้เกิดความผิดปกติและนำมาซึ่ง โรคต่าง ๆ และมักไม่มีสัญญาณเตือนจะแสดงอาการเมื่อถึงขั้นรุนแรงดังนั้นผู้หญิงควรหมั่นใส่ใจสุขภาพและการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตรวจสุขภาพเป็นประจำเพื่อป้องกันโรคต่าง ๆโดยเฉพาะโรคทางนรีเวชที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้นกลุ่มสตรีตำบลกายูคละได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้มีการจัดโครงการ สตรี สตรอง อารมณ์ดี ชีวีมีสุข ประจำปี 2566 เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้กลุ่มสตรีมีความรู้ความเข้าใจในการในการดูแลสุขภาพ และเรื่องการจัดการอารมณ์และความเครียดของตนเองและคนในครอบครัว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้สตรีในตำบลกายูคละ มีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว

สตรีในตำบลกายูคละ มีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวร้อยละ 100

150.00 150.00
2 เพื่อส่งเสริมให้สตรีมีความรู้ความเข้าใจ เรื่องการจัดการอารมณ์และความเครียดของตนเองและ คนในครอบครัว

สตรีมีความรู้ความเข้าใจ เรื่องการจัดการอารมณ์และความเครียดของตนเองและ คนในครอบครัว ร้อยละ 100

150.00 150.00
3 เพื่อสร้างเครือข่ายแกนนำรักษ์สุขภาพตำบลกายูคละ

เกิดเครือข่ายแกนนำรักษ์สุขภาพตำบลกายูคละร้อยละ 80

150.00 150.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 150 62,700.00 0 0.00
11 ก.ค. 66 อบรมให้ความรู้ การตรวจร่างกายด้วยตัวเองเพื่อหาความผิดปกติเบื้องต้น และประเมินสุขภาพจิต พิชิตสุขภาพใจ 150 62,700.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีในตำบลกายูคละ มีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว
  2. สตรีมีความรู้ความเข้าใจ เรื่องการจัดการอารมณ์และความเครียดของตนเองและคนในครอบครัว
  3. เกิดเครือข่ายแกนนำรักษ์สุขภาพตำบลกายูคละ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2566 11:33 น.