กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแอโรบิคเพื่อสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

โรงเรียนบ้านควนขี้แรด

1. นายสัญญาศรีคงทองโทร.08-3870-6820
2. นางยุสณีระหัดโทร.09-0209-7231
3. นางสาววิไลหว่าหลำโทร.08-0710-6331
4. นางวนิดาดินอะโทร.08-7298-9090
5. นางสาวกนกกาญจน์คชคีรีเดชไกรโทร.08-9742-9337
6. นางสาวพัชราภรณ์แนมน้อยโทร.09-3767-0898
7. นางสาวกัสมีย์การีอูมาโทร.09-3417-2825
8. นางสาวศศิมานวลหอโทร.08-5535-0087
9. นายเสกสรรคงกลอมโทร.09-0040-4792

โรงเรียนบ้านควนขี้แรด ต.นาหว้า อ.จะนะ จ.สงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของนักเรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของการมีกิจกรรมทางกายกับการลดโรคภัยไข้เจ็บ

 

70.00
2 ร้อยละของการสร้างพฤติกรรมของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนให้เห็นความสำคัญการเต้นแอโรบิค การมีกิจกรรมทางกาย และการเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์

 

50.00
3 ร้อยละของการมีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน

 

70.00

เนื่องจากสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกาภิวัฒน์ จากสภาพสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางสังคมและสภาพแวดล้อม ทำให้หลายคนมองข้ามการออกกำลังกาย หลายคนอ้างไม่มีเวลา บางคนเข้าสใจว่าการเปลี่ยนแปลงอิริยาบถในชีวิตประจำวันเป็นการออกกำลังกาย จึงเป็นสาเหตุให้สุขภาพอ่อนแอลงและอาจจะประสบปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ตามมา เช่นโรคความดันโลหิดสูง เบาหวาน โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคเครียด และโรคที่มาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องอื่นๆ การสร้างสุขภาพระบบสุขภาพของคนในยุคปัจจุบัน ต้องเน้นการ "สร้าง" สุขภาพ มากกว่าการ "ซ่อม" สุขภาพ ซึ่งเป็นการเน้นการสร้างระบบสุขภาพเชิงรุก และเป็นการสร้างเสริมสุขภาพเนื่องจากประชาชนป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ โรคพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมเป็นส่วนใหญ่ ทำให้รัฐต้องสิ้นเปลืองงบประมาณและค่าใช้จ่ายในการเยียวยารักษา จึงได้มีการรณรงค์ให้ประชาชนได้มาใส่ใจในการออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บตามที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบาย 5 อ. เป็นหลักในการสร้างสุขภาพแก่ประชาชน ประกอบด้วย ออกกำลังกาย อาหารปลอดภัย อารมณ์และสุขภาพจิต อนามัยชุมชน และอโรคยา ซึ่งให้เริ่มจากการจัดกิจกรรมออกกำลังกายเป็นเรื่องแรกและบูรณาการกับกิจกรรมอื่นๆ ที่จำเป็นในการสร้างสุขภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน ให้ภาครัฐสนับสนุนองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นในการสร้างและพัฒนาความเข้มแข็งของประชาชนที่จะร่วมมือร่วมใจในการแก้ปัญหาสุขภาพของตนเองและชุมชน โดยมีเป้าหมายส่งเสริมให้คนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไปออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการออกกำลังกายแบบต่างๆ เช่น การเดิน วิ่ง การปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิค เป็นต้น ซึ่งการเต้นแอโรบิคเป็นกิจกรรมที่สามารถทำร่วมกัน ทำให้เกิดการพบปะแลกเปลี่ยนกันได้ เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต อีกทั้งยังเป็นการสร้างกระแสให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิค โรงเรียนบ้านควนขี้แรด ได้เห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย สร้างความรักและสนุกในการออกกำลังกาย จึงได้จัดทำโครงการแอโรบิคเพื่อสุขภาพ โดยขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของการมีกิจกรรมทางกายกับการลดโรคภัยไข้เจ็บ

เพิ่มร้อยละของนักเรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของการมีกิจกรรมทางกายกับการลดโรคภัยไข้เจ็บเพิ่มขึ้น

70.00 80.00
2 เพื่อให้เกิดการสร้างพฤติกรรมของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนให้เห็นความสำคัญการเต้นแอโรบิค การมีกิจกรรมทางกาย และการเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์

เพิ่มร้อยละของการสร้างพฤติกรรมของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนให้เห็นความสำคัญการเต้นแอโรบิค การมีกิจกรรมทางกาย และการเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์

50.00 70.00
3 เพื่อให้นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนมีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์

เพิ่มร้อยละของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนมีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์

70.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน 10
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/08/2023

กำหนดเสร็จ 30/01/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมและเพื่อวางแผนดำเนินงานค่าใช้จ่าย

ค่าใช้จ่าย

  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10 คนๆ ละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 250 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 สิงหาคม 2566 ถึง 3 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แผนการดำเนินการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
250.00

กิจกรรมที่ 2 การประเมินสุขภาวะโดยการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
การประเมินสุขภาวะโดยการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การประเมินภาวะสุขภาพโดยการเก็บข้อมูลน้ำหนักและส่วนสูง ดังนี้

  1. ก่อนเริ่มโครงการ
  2. ทุกๆ เดือนในระหว่างดำเนินโครงการ
  3. สิ้นสุดโครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
4 สิงหาคม 2566 ถึง 4 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลการประเมินภาวะสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องความสำคัญของการมีกิจกรรมทางกายกับการลดโรคภัยไข้เจ็บให้แก่นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องความสำคัญของการมีกิจกรรมทางกายกับการลดโรคภัยไข้เจ็บให้แก่นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เรื่องความสำคัญของการมีกิจกรรมทางกายกับการลดโรคภัยไข้เจ็บให้แก่นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน
ค่าใช้จ่าย

  1. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร ตารางเมตร ละ 150 บาท จำนวน 1 ผืน รวมเป็นเงิน 432 บาท
  2. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คนๆ ่ละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 400 บาท รวมเป็นเงิน 1,200 บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
9 สิงหาคม 2566 ถึง 9 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้รับความรู้เรื่องความสำคัญของการมีกิจกรรมทางกายกับการลดโรคภัยไข้เจ็บ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3132.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมทางกายด้วยการเต้นแอโรบิค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมทางกายด้วยการเต้นแอโรบิค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมการเต้นแอโรบิคทุกวันอังคาร และวันศุกร์ในคาบกิจกรรมสุดท้าย

ค่าใช้จ่าย

  1. ค่าวิทยากรนำเต้นแอโรบิค จำนวน 40 ครั้งๆ ละ 1 ชั่วโมงๆ ละ 150 บาท รวมเป็นเงิน 6,000 บาท
  2. น้ำดื่มแจกให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการในการเต้นแอโรบิคเหมาจ่ายตลอดโครงการ รวมเป็นเงิน 5,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 สิงหาคม 2566 ถึง 25 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพกายที่ดี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11000.00

กิจกรรมที่ 5 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้น Active Play, Active Learning

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้น Active Play, Active Learning
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้น Active Play, Active Learning เช่น กิจกรรม BBL หลังเข้าแถวเคารพธงชาติ กิจกรรมร้องเพลงประกอบท่าทางในรายวิชาต่างๆ เป็นต้น

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 สิงหาคม 2566 ถึง 25 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

โรงเรียนมีกิจกรรมการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 จัดอาหารกลางวันให้มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน

ชื่อกิจกรรม
จัดอาหารกลางวันให้มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอาหารกลางวันให้มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนโดยอ้างอิงตามโปรแกรม Thai School

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 มกราคม 2567 ถึง 30 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 7 ติดตาม ตรวจสอบผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตาม ตรวจสอบผลการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลดำเนินงานเพื่อหาปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการจัดกิจกรรม ตลอดจนวิเคราะห์ผลสำเร็จในการจัดกิจกรรมโครงการครั้งนี้และจัดทำรูปเล่มเอกสารรายงานโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 ธันวาคม 2566 ถึง 15 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ผลการดำเนินงานโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,382.00 บาท

หมายเหตุ :
ทั้งนี้ขอถัวเฉลี่ยทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
2. นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนรู้จักวิธีการเสริมภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายก่อนที่จะไปบำบัดรักษาโรค


>