กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแอโรบิคเพื่อสุขภาพ
รหัสโครงการ 66-L5182-02-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านควนขี้แรด
วันที่อนุมัติ 5 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 สิงหาคม 2566 - 30 มกราคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 14,382.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของนักเรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของการมีกิจกรรมทางกายกับการลดโรคภัยไข้เจ็บ
70.00
2 ร้อยละของการสร้างพฤติกรรมของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนให้เห็นความสำคัญการเต้นแอโรบิค การมีกิจกรรมทางกาย และการเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์
50.00
3 ร้อยละของการมีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน
70.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องจากสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกาภิวัฒน์ จากสภาพสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางสังคมและสภาพแวดล้อม ทำให้หลายคนมองข้ามการออกกำลังกาย หลายคนอ้างไม่มีเวลา บางคนเข้าสใจว่าการเปลี่ยนแปลงอิริยาบถในชีวิตประจำวันเป็นการออกกำลังกาย จึงเป็นสาเหตุให้สุขภาพอ่อนแอลงและอาจจะประสบปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ตามมา เช่นโรคความดันโลหิดสูง เบาหวาน โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคเครียด และโรคที่มาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องอื่นๆ การสร้างสุขภาพระบบสุขภาพของคนในยุคปัจจุบัน ต้องเน้นการ "สร้าง" สุขภาพ มากกว่าการ "ซ่อม" สุขภาพ ซึ่งเป็นการเน้นการสร้างระบบสุขภาพเชิงรุก และเป็นการสร้างเสริมสุขภาพเนื่องจากประชาชนป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ โรคพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมเป็นส่วนใหญ่ ทำให้รัฐต้องสิ้นเปลืองงบประมาณและค่าใช้จ่ายในการเยียวยารักษา จึงได้มีการรณรงค์ให้ประชาชนได้มาใส่ใจในการออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บตามที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบาย 5 อ. เป็นหลักในการสร้างสุขภาพแก่ประชาชน ประกอบด้วย ออกกำลังกาย อาหารปลอดภัย อารมณ์และสุขภาพจิต อนามัยชุมชน และอโรคยา ซึ่งให้เริ่มจากการจัดกิจกรรมออกกำลังกายเป็นเรื่องแรกและบูรณาการกับกิจกรรมอื่นๆ ที่จำเป็นในการสร้างสุขภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน ให้ภาครัฐสนับสนุนองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นในการสร้างและพัฒนาความเข้มแข็งของประชาชนที่จะร่วมมือร่วมใจในการแก้ปัญหาสุขภาพของตนเองและชุมชน โดยมีเป้าหมายส่งเสริมให้คนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไปออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการออกกำลังกายแบบต่างๆ เช่น การเดิน วิ่ง การปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิค เป็นต้น ซึ่งการเต้นแอโรบิคเป็นกิจกรรมที่สามารถทำร่วมกัน ทำให้เกิดการพบปะแลกเปลี่ยนกันได้ เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต อีกทั้งยังเป็นการสร้างกระแสให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิค โรงเรียนบ้านควนขี้แรด ได้เห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย สร้างความรักและสนุกในการออกกำลังกาย จึงได้จัดทำโครงการแอโรบิคเพื่อสุขภาพ โดยขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของการมีกิจกรรมทางกายกับการลดโรคภัยไข้เจ็บ

เพิ่มร้อยละของนักเรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของการมีกิจกรรมทางกายกับการลดโรคภัยไข้เจ็บเพิ่มขึ้น

70.00 80.00
2 เพื่อให้เกิดการสร้างพฤติกรรมของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนให้เห็นความสำคัญการเต้นแอโรบิค การมีกิจกรรมทางกาย และการเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์

เพิ่มร้อยละของการสร้างพฤติกรรมของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนให้เห็นความสำคัญการเต้นแอโรบิค การมีกิจกรรมทางกาย และการเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์

50.00 70.00
3 เพื่อให้นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนมีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์

เพิ่มร้อยละของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนมีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์

70.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 14,382.00 7 14,382.00
3 ส.ค. 66 ประชุมคณะทำงาน 0 250.00 250.00
4 ส.ค. 66 การประเมินสุขภาวะโดยการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ 0 0.00 0.00
9 ส.ค. 66 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องความสำคัญของการมีกิจกรรมทางกายกับการลดโรคภัยไข้เจ็บให้แก่นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน 0 3,132.00 3,132.00
15 ส.ค. 66 - 25 ม.ค. 67 กิจกรรมทางกายด้วยการเต้นแอโรบิค 0 11,000.00 11,000.00
15 ส.ค. 66 - 25 ม.ค. 67 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้น Active Play, Active Learning 0 0.00 0.00
15 ธ.ค. 66 ติดตาม ตรวจสอบผลการดำเนินโครงการ 0 0.00 0.00
30 ม.ค. 67 จัดอาหารกลางวันให้มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
  2. นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนรู้จักวิธีการเสริมภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายก่อนที่จะไปบำบัดรักษาโรค
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2566 12:17 น.