กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปริก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โรงเรียนบ้านปริก ลดขยะ ลดโรค ใส่ใจสิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปริก

โรงเรียนบ้านปริก(กุก่องวิทยาคาร)

โรงเรียนบ้านปริก(กุก่องวิทยาคาร)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)

ปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดจากการอุปโภคบริโภค และกิจกรรมทั้งหลายของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน ชุมชน โรงเรียน ตลาด ร้านค้า และโรงงาน ในประเทศไทยถือเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ การจัดการขยะที่ไม่ถูกวิธีนอกจากจะส่งผลต่อสภาพแวดล้อมแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นมลพิษจากการเผาขยะ ควันที่เกิดจากการเผา จะส่งผลต่อสุขภาพโดยตรงการทิ้งขยะเกลื่อนกลาด เช่น ถุงพลาสติก ซองขนม ขวดน้ำ กระป๋อง เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายอย่างดี ทำให้เกิดปัญหาโรคไข้เลือดออก โรคปวดข้อยุงลาย(ชิกุนคุนย่า) โรคไวรัสซิกาการทิ้งขยะอันตรายไม่ถูกที่ ทำให้สารเคมีปนเปื้อนสู่ผิวดิน บ่อน้ำผิวดิน แม่น้ำลำคลอง เกิดสารพิษปนเปื้อนในพืชผัก สัตว์น้ำที่บริโภค และอีกปัญหาหนึ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญมากในขณะนี้ คือ ปัญหาขยะเปียก ซึ่งรัฐบาลรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนช่วยกันจัดการขยะเปียกอย่างถูกวิธี เนื่องจากขยะเปียกที่เทกองหมักหมม จะทำให้เกิดก๊าซมีเทน ซัลเฟอร์กับคาร์บอน ไดออกไซต์ออกมา เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก เกิดภาวะโลกร้อน และยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวัน แมลงหวี่ แมลงสาบ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอุจจาระร่วง และเป็นแหล่งอาหารหนู ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคฉี่หนู เพราะฉะนั้นการบริหารจัดการขยะที่ถูกหลักสุขาภิบาล สามารถทำให้อัตราป่วยด้วยโรคดังกล่าวลดลง
ปัจจุบันขยะมูลฝอยในโรงเรียน เพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคของเด็กนักเรียนเปลี่ยนแปลงไปประกอบกับพ่อค้าแม่ขายมีการจำหน่ายอาหารรอบโรงเรียนให้กับนักเรียน ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ และนักเรียน ครู และบุคลากรกรมีทักษะในการจัดการขยะน้อยทำให้ขยะมีจำนวนเพิ่มขึ้น โรงเรียนบ้านปริก จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางให้กับนักเรียนในโรงเรียน เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในปัญหาที่สุขภาพที่เกิดจากขยะ และการจัดการขยะอย่างถูกวิธีซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดปัญหาด้านสุขภาพและลดปริมาณขยะในโรงเรียนโดยใช้กระบวนให้ความรู้ ปลูกฝัง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในนักเรียน และการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะของผู้ปกครอง ครู และบุคลากรด้านการศึกษา เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาว
โรงเรียนบ้านปริก(กุก่องวิยาคาร) เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการโรงเรียนบ้านปริก ลดขยะ ลดโรค ใส่ใจสิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการ” เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยที่เกิดจากการจัดการขยะไม่ถูกวิธี และเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการจัดการขยะ แบบ 3Rs เป็นแบบอย่างให้กับครัวเรือนในชุมชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรในโรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องขยะกับปัญหาด้านสุขภาพ

1.นักเรียน ครู ผู้ปกครอง บุคลากรทางการศึกษา พ่อค้าแม่ค้าเข้าร่วมอบรมร้อยละ ๑๐๐

2.นักเรียน ครู ผู้ปกครอง บุคลากรทางการศึกษา พ่อค้าแม่ค้า มีความรู้ในการคัดแยกขยะและการจัดการ ร้อยละ ๑๐๐

0.00
2 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคที่เกิดจากการจัดการขยะไม่ถูกวิธี

1.อัตราการป่วยด้วยโรคที่เกิดจากการจัดการขยะไม่ถูกวิธีลดลง

0.00
3 เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรในโรงเรียน มีความรู้และมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะและการจัดการขยะที่ถูกวิธี

1.นักเรียน ครู ผู้ปกครอง บุคลากรทางการศึกษานำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปปรับใช้ในการจัดการขยะในชีวิตประจำวัน

2.ปริมาณขยะลดลง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 110
กลุ่มวัยทำงาน 46
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/05/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรม เรื่อง “ขยะกับปัญหาด้านสุขภาพ” และอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การคัดแยกขยะและจัดการขยะแบบ 3 Rs”

ชื่อกิจกรรม
อบรม เรื่อง “ขยะกับปัญหาด้านสุขภาพ” และอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การคัดแยกขยะและจัดการขยะแบบ 3 Rs”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรม เรื่อง “ขยะกับปัญหาด้านสุขภาพ”และอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การคัดแยกขยะและจัดการขยะแบบ 3 Rs” แก่ นักเรียน ผู้ปกครอง ครู บุคลากรทางการศึกษา - สาธิตการคัดแยกขยะ - สาธิตการจัดการขยะอินทรีย์ - การทำอีโคบริค (พลาสติกอัดขวด)จากถุงนม ซองขนม ถุงพลาสติก

  • อาหารว่างและเครื่องดื่ม 156คนๆละ25บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 7,800บาท

  • อาหารกลางวัน 156คนๆละ60 บาทเป็นเงิน9,360 บาท

  • ค่าวัสดุในการอบรมและการสาธิตการคัดแยก เช่นเอกสารการอบรม กระดาษฟลิฟต์ชารต์ กรรไกร ปากกาเคมี และอื่นๆเป็นต้นเป็นเงิน 4,500 บาท

  • ค่าจัดทำป้ายไวนิลการการอบรมเชิงปฏิบัติการ เป็นเงิน 1,000บาท

  • ค่าตอบแทนวิทยากร4 ชม.ๆละ 600เป็นเงิน 2,400 บาท

รวมเป็นเงิน 25,060 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25060.00

กิจกรรมที่ 2 คัดแยกขยะ

ชื่อกิจกรรม
คัดแยกขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าจัดสื่อให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะ เป็นเงิน1,000 บาท

ค่าจัดซื้อวัสดุในการคัดแยก

  • โครงเหล็กวางถังพร้อมป้าย เป็นเงิน 3,000 บาท

  • ถังขยะขนาด 60 ลิตร (ขยะทั่วไป ขยะอันตราย ขยะรีไซเคิล) ใบละ 690 x 3 ใบเป็นเงิน2,070 บาท

  • ถังดำมีฝาปิดสำหรับทำถังขยะเปียก ขนาด เบอร์ 11 ใบละ 100 บาท x 10 ถังเป็นเงิน 1,000 บาท

  • ถุงดำ ขนาด36x45 แพ็คละ 65 x2 แพ็คเป็นเงิน 130 บาท

  • ถุงมือสีส้มสำหรับคัดแยกขยะ ขนาด 9 นิ้ว แพ็คละ59 x3 แพ็ค เป็นเงิน 177 บาท

  • กระสอบปุ๋ย20ใบๆละ x 10บาท เป็นเงิน 200 บาท

รวมเป็นเงิน 7,577 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7577.00

กิจกรรมที่ 3 ขยะแลกอุปกรณ์การเรียน

ชื่อกิจกรรม
ขยะแลกอุปกรณ์การเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าจัดซื้ออุปกรณ์การเรียนในการจัดกิจกรรม ขยะแลกอุปกรณ์การเรียน

  • ถุงผ้าใส่อุปกรณ์การเรียน ใบละ45บาทx60ใบเป็นเงิน 2,700 บาท

  • กล่องใส่ดินสอกล่องละ 30บาทx60กล่อง เป็นเงิน 1,800 บาท

  • สมุดวาดเขียน เล่มละ20 บาท x 60 เล่มเป็นเงิน 1,200 บาท

  • ไม้บรรทัด อันละ 5 บาท x 60 อัน เป็นเงิน 300 บาท

  • ปากกา ด้ามละ 7บาทx60 ด้าม เป็นเงิน 420 บาท

  • แฟ้มเก็บชิ้นงาน อันละ 30 บาทx60 อันเป็นเงิน 1,800บาท

    รวมเป็นเงิน จำนวน 8,220 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8220.00

กิจกรรมที่ 4 วัดปริมาณขยะ ก่อนและหลังดำเนินโครงการ จำนวน 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 เก็บข้อมูลปริมาณขยะก่อนเริ่มโครงการ ในเดือนพฤษภาคม 2566 ครั้งที่ 2 เดือนมิถุนายน 2566 และครั้งที่ 3 สิงหาคม 2566

ชื่อกิจกรรม
วัดปริมาณขยะ ก่อนและหลังดำเนินโครงการ จำนวน 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 เก็บข้อมูลปริมาณขยะก่อนเริ่มโครงการ ในเดือนพฤษภาคม 2566 ครั้งที่ 2 เดือนมิถุนายน 2566 และครั้งที่ 3 สิงหาคม 2566
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 สรุปผลประเมินผล และรายงานผลการดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลประเมินผล และรายงานผลการดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าจัดทำรายงานและรูปเล่ม        เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 41,357.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรในโรงเรียนเกิดการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ
2.นักเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรในโรงเรียนเกิดจิตสำนึกในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3.โรงเรียน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และชุมชน เกิดการบูรณาการในการจัดการขยะลดโรค ใส่ใจสิ่งแวดล้อม


>