กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โรงเรียนบ้านปริก ลดขยะ ลดโรค ใส่ใจสิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการ
รหัสโครงการ 66 – L7889 -2-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านปริก(กุก่องวิทยาคาร)
วันที่อนุมัติ 15 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 พฤษภาคม 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 41,357.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุรเดช แสงจันทร์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านปริก(กุก่องวิทยาคาร)
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงเรียนบ้านปริก(กุก่องวิทยาคาร)
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 110 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 46 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)

ปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดจากการอุปโภคบริโภค และกิจกรรมทั้งหลายของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน ชุมชน โรงเรียน ตลาด ร้านค้า และโรงงาน ในประเทศไทยถือเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ การจัดการขยะที่ไม่ถูกวิธีนอกจากจะส่งผลต่อสภาพแวดล้อมแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นมลพิษจากการเผาขยะ ควันที่เกิดจากการเผา จะส่งผลต่อสุขภาพโดยตรงการทิ้งขยะเกลื่อนกลาด เช่น ถุงพลาสติก ซองขนม ขวดน้ำ กระป๋อง เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายอย่างดี ทำให้เกิดปัญหาโรคไข้เลือดออก โรคปวดข้อยุงลาย(ชิกุนคุนย่า) โรคไวรัสซิกาการทิ้งขยะอันตรายไม่ถูกที่ ทำให้สารเคมีปนเปื้อนสู่ผิวดิน บ่อน้ำผิวดิน แม่น้ำลำคลอง เกิดสารพิษปนเปื้อนในพืชผัก สัตว์น้ำที่บริโภค และอีกปัญหาหนึ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญมากในขณะนี้ คือ ปัญหาขยะเปียก ซึ่งรัฐบาลรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนช่วยกันจัดการขยะเปียกอย่างถูกวิธี เนื่องจากขยะเปียกที่เทกองหมักหมม จะทำให้เกิดก๊าซมีเทน ซัลเฟอร์กับคาร์บอน ไดออกไซต์ออกมา เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก เกิดภาวะโลกร้อน และยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวัน แมลงหวี่ แมลงสาบ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอุจจาระร่วง และเป็นแหล่งอาหารหนู ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคฉี่หนู เพราะฉะนั้นการบริหารจัดการขยะที่ถูกหลักสุขาภิบาล สามารถทำให้อัตราป่วยด้วยโรคดังกล่าวลดลง ปัจจุบันขยะมูลฝอยในโรงเรียน เพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคของเด็กนักเรียนเปลี่ยนแปลงไปประกอบกับพ่อค้าแม่ขายมีการจำหน่ายอาหารรอบโรงเรียนให้กับนักเรียน ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ และนักเรียน ครู และบุคลากรกรมีทักษะในการจัดการขยะน้อยทำให้ขยะมีจำนวนเพิ่มขึ้น โรงเรียนบ้านปริก จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางให้กับนักเรียนในโรงเรียน เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในปัญหาที่สุขภาพที่เกิดจากขยะ และการจัดการขยะอย่างถูกวิธีซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดปัญหาด้านสุขภาพและลดปริมาณขยะในโรงเรียนโดยใช้กระบวนให้ความรู้ ปลูกฝัง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในนักเรียน และการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะของผู้ปกครอง ครู และบุคลากรด้านการศึกษา เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาว โรงเรียนบ้านปริก(กุก่องวิยาคาร) เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการโรงเรียนบ้านปริก ลดขยะ ลดโรค ใส่ใจสิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการ” เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยที่เกิดจากการจัดการขยะไม่ถูกวิธี และเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการจัดการขยะ แบบ 3Rs เป็นแบบอย่างให้กับครัวเรือนในชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรในโรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องขยะกับปัญหาด้านสุขภาพ

1.นักเรียน ครู ผู้ปกครอง บุคลากรทางการศึกษา พ่อค้าแม่ค้าเข้าร่วมอบรมร้อยละ ๑๐๐

2.นักเรียน ครู ผู้ปกครอง บุคลากรทางการศึกษา พ่อค้าแม่ค้า มีความรู้ในการคัดแยกขยะและการจัดการ ร้อยละ ๑๐๐

0.00
2 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคที่เกิดจากการจัดการขยะไม่ถูกวิธี

1.อัตราการป่วยด้วยโรคที่เกิดจากการจัดการขยะไม่ถูกวิธีลดลง

0.00
3 เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรในโรงเรียน มีความรู้และมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะและการจัดการขยะที่ถูกวิธี

1.นักเรียน ครู ผู้ปกครอง บุคลากรทางการศึกษานำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปปรับใช้ในการจัดการขยะในชีวิตประจำวัน

2.ปริมาณขยะลดลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
??/??/???? อบรม เรื่อง “ขยะกับปัญหาด้านสุขภาพ” และอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การคัดแยกขยะและจัดการขยะแบบ 3 Rs” 0 25,060.00 -
??/??/???? คัดแยกขยะ 0 7,577.00 -
??/??/???? สรุปผลประเมินผล และรายงานผลการดำเนินการ 0 500.00 -
??/??/???? ขยะแลกอุปกรณ์การเรียน 0 8,220.00 -
??/??/???? วัดปริมาณขยะ ก่อนและหลังดำเนินโครงการ จำนวน 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 เก็บข้อมูลปริมาณขยะก่อนเริ่มโครงการ ในเดือนพฤษภาคม 2566 ครั้งที่ 2 เดือนมิถุนายน 2566 และครั้งที่ 3 สิงหาคม 2566 0 0.00 -
รวม 0 41,357.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรในโรงเรียนเกิดการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ

2.นักเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรในโรงเรียนเกิดจิตสำนึกในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ

3.โรงเรียน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และชุมชน เกิดการบูรณาการในการจัดการขยะลดโรค ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2566 16:20 น.