กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริม ป้องกัน รู้ทันปัญหาสุขภาพจิต

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไทร

เขตพื้นที่บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไทร (หมู่ที่ 5 บ้านทุ่งโพธิ์ หมู่ที่ 6 บ้านควนเจดีย์หมู่ที่ 7 บ้านท่าไทรหมู่ที่ 8 บ้านปริก)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนอายุทั่วไป 15 - 59 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมากรายใหม่

 

10.00
2 ประชาชนอายุ 60 ปีขึ่นไป ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

 

10.00
3 พบผู้ป่วยจิตเวชรายใหม่

 

8.00
4 ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังได้รับบริการสุขภาพต่อเนื่อง

 

60.00

ปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัญหาสำคัญสาธารณสุข ทำให้เกิดความพิการและสูญเสียเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เพราะปัญหาสุขภาพจิตไม่ใช่ส่งผลกระทบต่อเฉพาะผู้ป่วยเท่านั้น ยังส่งผลกระทบไปถึงญาติ ผู้ดูแลและบุคคลในสังคม ผู้ป่วยจิตเวชมักขาดโอกาสและการสนับสนุนในสังคม ทำให้ตกเป็นเหยื่อในรูปแบบต่างๆ หรือเสี่ยงต่อการก่อคดีอุกฉกรรจ์ และยังพบว่าญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยก็ได้รับผลกระทบด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม เป็นโรคที่ก่อให้เกิดภาระสูงในการดูแล และที่สำคัญยังส่งผลให้ผู้ป่วยทางจิตซึ่งมีปัญหาการปรับตัวอยู่แล้วขาดปัจจัยการดูแลช่วยเหลือให้สามารถรักษาภาวะสุขภาพ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีคุณภาพ แม้ในกระบวนการบำบัดรักษาผู้ป่วยทางจิตในโรงพยาบาลมีเป้าหมายให้ผู้ป่วยสามารถ ดำรงชีวิตร่วมกับครอบครัวและชุมชนได้มากขึ้น โดยได้เพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดรักษาทั้งด้านการให้ยาและการบำบัดด้านจิตสังคม แต่ผลสำเร็จจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยทางจิต หากได้รับการดูแลต่อเนื่องและได้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเช่นคนทั่วไปจากสมาชิกในชุมชน ภายหลังการบำบัดรักษาหรือผู้ป่วยกลับสู่ชุมชนแล้วยังมีอุปสรรคเนื่องจากภายหลังการจำหน่ายจากโรงพยาบาล ผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ยังขาดโอกาสจากชุมชนในการพัฒนาศักยภาพของตนเองให้สามารถมีชีวิตในสังคมเช่นคนทั่วไป ซึ่งอุปสรรคส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากตัวผู้ป่วยเอง เช่น การขาดความมั่นใจในการดำเนินชีวิตร่วมกับครอบครัวและผู้อื่น นอกจากนี้สังคมแวดล้อมยังขาดความรู้ ความเข้าใจหรือไม่เห็นความสำคัญของผู้ที่เจ็บป่วยทางจิตที่นับวันจะมีจำนวนและมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น บุคคลในชุมชนรู้สึกกลัว รังเกียจ ไม่เชื่อมั่นในความสามารถของผู้ป่วย มีทัศนคติในทางลบต่อบุคคลที่เจ็บป่วย สภาพเหล่านี้ยิ่งทำให้ผู้ป่วยทางจิตไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมและขาดโอกาสในการพัฒนาตนเองในการอยู่ร่วมในสังคมมากยิ่งขึ้นส่งผลให้ผู้ป่วยทางจิตเหล่านี้กลายเป็น ภาระหรือเป็นปัญหาของครอบครัวและสังคมในที่สุด ในพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.ท่าไทร มีผู้ป่วยทางจิตเวชจํานวน 18 ราย จากการสํารวจข้อมูลเบื้องต้น และศึกษาแฟ้มประวัติครอบครัว พบว่า สาเหตุเกิดจากปัญหายาเสพติด 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 61.1 จากปัญหาครอบครัวจํานวน 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 16.6 และเกิดจากพันธุกรรม จํานวน4 ราย คิดเป็นร้อยละ 22.2 และ จากการติดตามเยี่ยมบ้านของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขพบปัญหาดังนี้ 1. ผู้ป่วยขาดยาเนื่องจากรับประทานต่อเนื่องแล้วดีขึ้นแล้วหยุดยาเอง 2. ผู้ดูแลขาดความรู้ในการดูผู้ป่วยจิตเวช 3. เพื่อนบ้านหวาดระแวงกลัวผู้ป่วยจิตเวชจะทำร้าย 4.พบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ประชาชนอายุทั่วไป 15 - 59 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมากรายใหม่ลดลง

ประชาชนอายุทั่วไป 15 - 59 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมากรายใหม่ลดลง

10.00 5.00
2 ประชาชนอายุ 60 ปีขึ่นไป ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมากลดลง

ประชาชนอายุ 60 ปีขึ่นไป ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมากลดลง

10.00 5.00
3 พบผู้ป่วยจิตเวชรายใหม่ลดลง

พบผู้ป่วยจิตเวชรายใหม่ลดลง

8.00 4.00
4 ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังได้รับบริการสุขภาพต่อเนื่อง

ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังได้รับบริการสุขภาพต่อเนื่อง

60.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 300
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ 200
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 200
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องสุขภาพจิต เรื่องใกล้ตัวที่เราต้องรู้

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องสุขภาพจิต เรื่องใกล้ตัวที่เราต้องรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องสุขภาพจิตเรื่องใกล้ตัวที่เราต้องรู้ให้แก่กลุมเป้าหมาย 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 78 คน2.กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้สูงอายุ จำนวน 100 คน 3.นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 350 คน
ค่าใช้จ่าย - ค่าป้ายไวนิล ขนาด 2x4 เมตรราคาตารางเมตรละ 150 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 78 คน คนละ 25 บาทเป็นเงิน 1,950 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 100 คน คนละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาจำนวน 350 คนคนละ 25 บาท เป็นเงิน 8,750บาท - ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 3 ขั่วโมง ชั่วโมงละ ุ600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 3 ขั่วโมง ชั่วโมงละ ุ600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่มนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน ุ6 ขั่วโมง ชั่วโมงละ ุ600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท (แบ่งเป็น 2 รุ่นคือมัธยมต้นและมัธยมปลาย) - ค่าอุปกรณ์และเอกสารประกอบตลอดโครงการ 3,000 บาท
รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 24,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 1 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. อาสาสมัครมีความรู้ความเข้าใจเรื่องสุขภาพจิตมากขึ้น และเข้าร่วมโครงการ 100 %
  2. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเรื่องสุขภาพจิตมากขึ้น และเข้าร่วมโครงการ 100 %
  3. นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความเข้าใจเรื่องสุขภาพจิตมากขึ้นและเข้าร่วมโครงการ 100 %
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24600.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมคัดกรองสุขภาพจิตเบื้องต้น

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดกรองสุขภาพจิตเบื้องต้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุขลงพื้นที่คัดกรองสุขภาพคัดกรองภาวะสุขภาพจิตในประชาชนกลุ่มวัยต่างๆ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนกลุ่มวัยต่างๆได้รับการคัดกรองสุขภาพจิต และส่งต่อกรณีที่มีผลผิดปกติ 2. ค้นพบผู้ป่วยรายใหม่ได้เร็วขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 สร้างสื่อสุขภาพเรื่อง"การดูแลสุขภาพจิต"

ชื่อกิจกรรม
สร้างสื่อสุขภาพเรื่อง"การดูแลสุขภาพจิต"
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดทำป้่ายโฟมบอร์ดให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพจิต

- ค่าใช้จ่ายค่าทำป้ายโฟมบอร์ดให้ความรู้ ขนาด 0.7เมตรx 0.8เมตร แบบมีด้ามจับ ราคาป้ายละ 500 บาท จำนวน 6 ป้าย เป็นเงิน 3,000 บาท
2. ป้ายไวนิวสำหรับเดินรณรงค์เวลามีกิจกรรมในชุมชน ขนาดสูง 1.5 เมตร ยาว 2.5 เมตร จำนวน 6 ป้าย ราคาป้ายละ 675 บาท เป็นเงิน 4,050 บาท รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิน 7,050 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีป้ายโฟมบอร์ดให้ความรู้เรื่องสุขภาพจิต
  2. มีป้ายไวนิลให้ความรู้เรื่องสุขภาพจิต
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7050.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามผู้ป่วยจิตเวชรายเก่าให้รักษาตามแผนการรักษาของแพทย์อย่างต่อเนื่อง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผู้ป่วยจิตเวชรายเก่าให้รักษาตามแผนการรักษาของแพทย์อย่างต่อเนื่อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารรสุขลงพื้นที่ติดตามผู้ป่วยจิตเวชรายเก่าให้รักษาตามแผนการรักษาของแพทย์อย่างต่อเนื่อง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยไม่ขาดยา ไปพบแพทย์ตามนัด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,650.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
2. พบผู้ที่มีความเสี่ยง และผู้ป่วยรายใหม่ลดลง


>